การใช้ Facebook ในการจัดการเรียนรู้


การใช้ Facebook ในการจัดการเรียนรู้

ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ( 2554 : 3 พฤศจิกายน 2554) ได้กล่าวถึง การใช้Facebookเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา มีรายละเอียดน่าสนใจดังนี้

Facebook มีผู้เข้าชมที่ไม่ซ้ำกัน (โดยไม่นับจำนวนการใช้ของผู้ที่เข้าชมซ้ำ) เฉลี่ยเดือนละ 700 ล้านคน และจากสถิติที่ประกาศโดยเว็บ “Facebook (www.Facebook.com)”เมื่อ กรกฎาคม 2554 มีผู้ใช้ Facebookเป็นประจำกว่า 750 ล้านคน โดยแต่ละวันมีผู้ใช้ Facebook กว่า 375 ล้านคน และผู้ใช้Facebookแต่ละคนมีเพื่อนใน Facebook ประมาณ 130 คน อาจกล่าวได้ว่า Facebookเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ที่ยังคงเฟื่องฟูและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจึงส่งผลให้สถานศึกษาต่างๆ นำ Facebook ไปประยุกต์ใช้เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแบ่งปันข้อมูลด้านวิชาการ ในการเรียนการสอนรวมถึงการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างครูผู้สอนกับครูผู้สอน ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียน

สถิติการใช้งาน Facebook จากเว็บไซต์ www.socialbakers.com/facebook-statistics/thailand เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 12 มีนาคม 2556 โดยเฉลี่ยในประเทศไทยมีผู้หญฺงใช้ Facebook มากกว่าผู้ชาย และอายุเฉลี่ยของผู้ใช้อยู่ที่ 18-24 ปี

จากการค้น “Facebookเพื่อการศึกษา (Facebook for Education)” ในกูเกิลจะพบแหล่งข้อมูล 922 ล้านรายการและจากการค้น “ศูนย์แห่งการเรียนรู้บน Facebook (Learning Center on Facebook)” ในกูเกิลจะพบแหล่งข้อมูล 173 ล้านรายการ จะเห็นได้ว่ามีการนำ Facebook ไปประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษาและเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆ มากมาย ยิ่งกว่าไปนั้น Facebookได้เป็นสื่อสังคมยอดนิยมสำหรับครูผู้สอน ซึ่งเมื่อเมษายน 2554 “เพียร์สัน (Pearson)”ได้รายงานผลสำรวจการใช้สื่อสังคมของครูผู้สอนในระดับอุดมศึกษาประมาณ 2,000 แห่ง จากบล็อก “เอ็ดดูเดมิก (edudemic.com)”สรุปได้ว่า ครูผู้สอนร้อยละ 57 นิยมใช้Facebookในด้านส่วนตัวและครูผู้สอนร้อยละ 30 ใช้Facebookในด้านวิชาชีพ

เว็บ “พีซีเทคแม็กกาซีน (www.pctechmagazine.com)” ได้อ้างถึงเหตุผล 4 ประการที่ครูผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้Facebookเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา

1.  การพัฒนาด้านภาษาซึ่ง ครูผู้สอนและผู้เรียนจำเป็นต้องใช้Facebookในการติดต่อสื่อสารและแสดงความเห็นต่างๆ เกี่ยวกับวิชาที่เรียนบนFacebook ทั้งนี้ การใช้Facebookเป็นประจำในการเขียนและอ่านข้อความต่างๆ จะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกการเขียน การสะกดค้า และการใช้ไวยากรณ์ที่ถูกต้อง       

2.  การสื่อสารระหว่างบุคคลซึ่งเป็นสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูผู้สอนกับครูผู้สอน ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียนในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน รวมถึงสนับสนุนให้ผู้เรียนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นต่างๆ มากยิ่งขึ้น

3.  คือการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งFacebookเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนผู้ใดผู้หนึ่งจะต้องรับผิดชอบงาน ที่ได้รับมอบหมายร่วมกับผู้เรียนผู้อื่นเป็นกลุ่ม ซึ่งเป็นการฝึกทักษะการเป็นผู้น้าและการเป็นผู้ตาม

4.  เพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งการใช้Facebookในการเรียนการสอน จะช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจและมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ

หมายเลขบันทึก: 563926เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2014 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2014 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท