เส้นทางสู่ฝัน... ที่ฉันไม่ได้เลือก ภาค 3 @วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน


ฉันสังเกตเห็นท่าทีที่ดีขึ้นต่อวิชาการเกษตร และอาชีพเกษตร ด้วยประโยคที่เธอกล่าวกับฉันในวันหนึ่ง “น้าหนูอยากหาอาชีพใหม่เกี่ยวกับเกษตรให้ที่บ้าน เดี๋ยวหนูจะปรึกษาครูอ้อม” ฉันอึ้งระคนดีใจกับคำพูดนี้.. และหวังว่าเธอจะไม่ลืมมันไปเสียก่อน..

เคพกูสเบอรี่ ไม้ผลขนาดเล็ก รสชาติเปรี้ยวอมหวาน กลิ่นหอม มีถิ่นกำเนิดจากพื้นที่สูงเขตร้อนในประเทศโคลอมเบีย เอกวาดอร์ เปรู และชิลี รวมทั้งในบราซิล เป็นพืชตระกูลเดียวกับพริก มะเขือ มะเขือเทศ มันฝรั่ง ยาสูบ พิทูเนีย แต่เดิมเคพกูสเบอรี่มีชื่อภาษาไทยว่า “โทงเทงฝรั่ง”  เนื่องจากมีลักษณะเหมือนกับต้นโทงเทงที่เป็นวัชพืชในบ้านเรา ต่อมามีการเรียกชื่อใหม่ คือ “ระฆังทอง” หรือ “Golden Bell” เพื่อประโยชน์ทางด้านการค้า..

เคพกูสเบอรี่ อุดมด้วยวิตามินซี ช่วยป้องกันไข้หวัด วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา เหมาะสำหรับการรับประทานผลสด ชุบช็อคโกแลต จุ่มน้ำผึ้ง ใส่ในสลัด ทำน้ำผลไม้ หรือนำไปทำเป็นแยมก็ได้ สามารถปลูกได้ดีในพื้นที่ที่มีความสูง 700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เมื่อผลสุก กลีบเลี้ยงหุ้มผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองฟางข้าว ฤดูกาลเก็บเกี่ยวอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน”

คือข้อความที่โปรยไว้ในอัลบั้มภาพชุดที่ให้ชื่อว่า “เคพกูสเบอรี่ Cape gooseberry ผลไม้ดีเพื่อสุขภาพ” ของอาจารย์ “อ้อม” อาจารย์นิศานาถ  ยอดยัง หนึ่งในอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ ของนักศึกษาฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยลำพูน


ฉันรู้จัก “Cape gooseberryจากการบอกเล่าของหลานสาวคนโต  ที่ไปเรียนเกษตรฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน เธอเล่าให้ฉันฟังผ่านทางโทรศัพท์เมื่อช่วงปลายฤดูฝนที่ผ่านมาว่า “หนูจะต้องทำโครงงานเกี่ยวกับ เคพกูสเบอรี่” ฉันนิ่งงงอยู่นิดหนึ่ง พร้อมกับคำถามกลับไปว่ามันคืออะไร? เธอตอบพร้อมอธิบายให้ฉันฟังถึงผลไม้ชนิดนี้ “หนูว่าน้ารู้จัก มันคือไอ้ลูกกลมที่อยู่ตามท้องนาบ้านเราอะน้า  ตอนเด็กๆ หนูเคยเอาลูกมาต๊อกหัว (กระแทกศีรษะ) เล่นมันจะดังต๊อกๆ” ฉันฟังพร้อมนึกภาพตามและฟังเธอสาธยายต่อว่า “คนไทยเรียกโทงเทงอะ แต่หนูไม่รู้ว่าบ้านเราเรียกอะไร หนูเคยเห็นนะ” ปรากฏว่าฉันคุยกันอยู่เกือบๆ สิบนาทีแต่ฉันก็ไม่เข้าใจอยู่ดีว่าไอ้เจ้า “เคพกูส” หรือ “โทงเทง” ที่ว่ามันคืออะไรกันแน่..


ฉันไม่ละความพยายามเมื่อมีโอกาสจึงค้นหาใน Google ทันที  แล้วฉันก็ถึงบังอ้อ.. เมื่อได้เห็นภาพเจ้าผลไม้ชนิดนี้ และยิ่งได้อ่านและเรียนรู้สรรพคุณยิ่งทำให้ทึ่งไปกับเจ้าผลไม้ชนิดนี้  จึงเป็นที่มาของการสนับสนุนอย่างเต็มเท่าที่จะทำได้กับการทำโครงงานชิ้นนี้ไม่หาจะช่วยค้นหาพันธุ์พื้นเมืองแถวบ้าน การสนับสนุนไม้ไผ่มาทำราวยึดกิ่งให้แข็งแรง รวมไปถึงการขับรถรับ – ส่ง เพื่อรดน้ำในช่วงปิดภาคเรียน

จากการสนับสนุนอย่างเต็มที่ทำให้ฉันได้รู้จักกับอาจารย์ยิ่งศักดิ์  ยอดยัง "อาจารย์เหยี่ยว" อาจารย์อีกท่านหนึ่งที่เป็นกำลังสำคัญของของการผลัดดัน "เคพกูสเบอรี" ให้โกอินเตอร์ จากการบอกเล่าของหลานสาวภายหลังที่ฉันมีโอกาสได้พบหน้าอาจารย์อยู่บ่อยครั้ง "อาจารย์เหยี่ยว.. สอนให้พวกหนูปลูกและขยายพันธุ์เคพกูสฯ สอนให้ใส่ปุ๋ย และบอกพวกหนูว่าถ้าต้นเคพกูสไม่งอก ครูไม่ให้คะแนน" จนฉันอดขำไม่ได้กับคำพูดของเธอ แม่เด็กน้อย!! เอ๋ย..

การเปิดตัวครั้งแรกของเคพกูสเบอรี่ พร้อมทีมงานที่ร่วมทำโครงงานฯ เริ่มขึ้นในงานกิจกรรมประชุมวิชาการ (ต้องขออภัยหากเรียกไม่ถูก)/งานองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อกท.) ภาค ครั้งที่ 35 ซึ่งจัดขึ้นที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา เมื่อ 25 – 29 พ.ย.57  มันคือความภาคภูมิใจของทีมงาน และหลานสาวของฉันเป็นอย่างมาก  เมื่อผลการประกวดออกมาว่า เคพกูสเบอรี่ของเกษตรลำพูนได้ไปต่อ ในงาน อกท. ระดับชาติ ครั้งที่ 35 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ วิทยาลัยเกษตรและเทโนโลยีอุบลราชธานี ในวันที่ 15 – 19 ก.พ.57 และที่นั่นเธอจะได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานในพิธี

จากการพูดทีเล่นทีจริงของฉันในวันนั้นเพื่อให้หลานสาวเปลี่ยนมาเรียนเกษตรฐานวิทย์ กำลังใกล้จะเป็นจริงแล้ว ที่บ้านดีใจแทนหลานสาวเมื่อได้ทราบข่าว ทุกคนนึกภาคภูมิใจและเฝ้าตั้งตารอวันนั้นที่มาถึง วันที่หลานสาวคนโตของบ้านจะเข้าเฝ้าใกล้ชิดสมเด็จพระเทพฯ  พร้อมกับฉันสังเกตเห็นท่าทีที่ดีขึ้นต่อวิชาการเกษตร และอาชีพเกษตร ด้วยประโยคที่เธอกล่าวกับฉันในวันหนึ่ง “น้าหนูอยากหาอาชีพใหม่เกี่ยวกับเกษตรให้ที่บ้าน เดี๋ยวหนูจะปรึกษาครูอ้อม” ฉันอึ้งระคนดีใจกับคำพูดนี้.. และหวังว่าเธอจะไม่ลืมมันไปเสียก่อน..

 

*** ติดตามอ่าน : เส้นทางสู่ฝัน... ที่ฉันไม่ได้เลือก ภาค 4 @วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน ในเร็วๆ นี้

หมายเลขบันทึก: 563148เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2014 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มีนาคม 2014 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

แปลกดีครับ เคยเห็นบ้างเหมือนกัน

เพื่อนครูท่านหนึ่งเคยซื้อเตพกูสเบอรี จากเมืองเหนือมาฝากคุณมะเดื่อ รสชาติอร่อยดีจ้ะ

ขอบคุณ คุณมะเดื่อ ที่แวะมาทักทายครับ ผทลองชิมดูก็อร่อยดีครับ...

...อาหารที่ดีมีประโยชน์ คนไทยน่าจะได้บริโภค อย่างทั่วถึงและราคาไม่แพงนะคะ...น้ำผลไม้ก็เป็นน้ำใส่น้ำตาล ใส่กลิ่น ใส่สีนะคะ

ขอบคุณครับ.. ท่าน ดร. พจนา แย้มนัยนา

ผมก็รู้สึกเช่นนั้นครับ.. ขอดีมีคุณค่าในบ้านเรายังมีอีกเยอะ..เพียงแต่เราไม่ค่อยได้ใส่ใจกันเท่าที่ควรครับ...

เคยกินครับ

แต่ตอนเป็นเคปไม่เคยกิน

ขอบคุณมากๆครับ

-สวัสดีครับ

-ผลไม้น่าลอง..

-โทงเทง..เคยกิน..

-เปรี้ยว ๆ

-เป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าลิ้มลองครับ..

-ขอบคุณครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท