ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๐๘. สัปดาห์แห่งการรับใช้มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ(๔) วันที่สองของ PMAC 2014


 

          หลังเดินออกกำลังตอนเช้า ผมรีบรับประทานอาหาร อาบน้ำ แล้วไปร่วมประชุม debrief (AAR) ตามคำสั่งของ ดร. ตวง (วลัยพร)    ที่นัดทีม rapporteur ไทย มาเล่าประเด็นในแต่ละ session ที่ตน capture ได้       เห็นได้ชัดเจนว่าการประชุมนี้ให้การเรียนรู้ดีมาก    อ. หมอภิเศกและผมจึงเสนอให้เชิญทีมคณะทำงานปฏิรูป HPER ที่เพิ่งจัดทีมเมื่อ ๒ สัปดาห์ก่อน มาร่วม ลปรร. ด้วย    ตอนเย็นวง debriefing จึงใหญ่ขึ้นมาก

          PL 3 Achieving Universal Health Coverage : Addressing Health Workforce Inequity   ความไม่เท่าเทียมมีทั้งภายในประเทศ ระหว่างเมืองกับชนบท    และมีความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศด้วย    วิธีการที่จะให้มีบุคลากรสุขภาพในพื้นที่ชนบทห่างไกล    คือเอาการศึกษาไปไว้ที่นั่น   จัดหลักสูตรการเรียนรู้ ให้ได้ฝึกงานในพื้นที่   ให้คนที่จบเป็นบัณฑิต และทำงานในพื้นที่ ได้มีลู่ทางเจริญก้าวหน้าจากการทำงาน ในพื้นที่นั้น    ทั้งความก้าวหน้าในการเรียนรู้ ฝึกอบรมวิชาชีพต่อเนื่อง    และความก้าวหน้าในอาชีพการงาน

          ฝ่ายการศึกษาต้องมีบทบาทในบริการสุขภาพของพื้นที่    รวมทั้งต้องใช้ระบบข้อมูล เพื่อการจัดการ และพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่   เรื่องระบบข้อมูลนี้ ผู้นำเสนอเรื่อง iHRIS จากโครงการ CapacityPlus เล่าว่า ระบบข้อมูลนี้ ทำให้ตรวจพบบุคลากรผี ๑ หมื่นคนในสาธารณรัฐโดมินิกัน

          เขาไม่ได้พูดเรื่องความไม่เท่าเทียมระหว่างประเทศ    เพราะเอาไปไว้ตอนบ่าย ใน PL 4

          PS 3.4 A New Era for Health Professional Education Through Innovative Technologies   ผมไปเข้าฟังเพราะอยากรู้พัฒนาการใหม่ๆ ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนโฉมการศึกษา    การประชุมเริ่มด้วย ปาฐกถานำสั้นๆ โดย Julio Frank ซึ่งกล่าวว่า IT ช่วย ๓ อย่าง  (๑) ช่วยให้เข้าถึงเนื้อความรู้ได้ง่ายขึ้น  (๒)​ทำให้เรียนรู้จริง ผ่าน SPOCS & Flipped Classroom   (๓) เชื่อมโยงได้ทั้งโลก    

          ศ. ฮูลิโอ เฟร๊งค์ บอกว่า ท่านไม่ชอบคำว่า Massive ใน MOOC (Massive Open Online Course)    เพราะมันส่งสัญญาณผิดว่าเน้นใช้ ไอซีที เพื่อเข้าถึงคนจำนวนมาก    แต่คุณค่าที่แท้จริงอยู่ที่เป็นการใช้ ไอซีที เพื่อการเรียนแบบที่เป็นความผูกพัน (Engaged Learning) ของ นศ.   ซึ่งหมายความว่า ประกอบด้วย ๓ องค์ประกอบ  (1) active,  (2) interactive และ (3) self-paced    และทำให้เกิด Blended Learning คือมีทั้ง onsite และ online ทำให้เกิด community of learners เชื่อมโยงกับโลก  ​

          คือหากใช้เป็น ไอซีที จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบ personalized และแบบ massive ที่เป็นขั้วตรงกันข้าม 

          Dr. Najeeb Al-Shorbaji, WHO, Director Department of Knowledge, Ethics and Research เล่าเรื่อง eLearning ยืดยาว และในเอกสารประกอบการประชุมก็มีรายละเอียดมาก    ผมลองค้นในเว็บไซต์ของ WHO พบ ที่นี่  

          ความก้าวหน้าของ ICT ทำให้ eHealth และ eLearning ก้าวหน้าไปมาก    การที่ นศ. ไปเรียนโดย การทำงานในพื้นที่ห่างไกลก็ไม่ห่างจากการติดตามให้คำแนะนำของอาจารย์ 

          ผมได้เรียนรู้ว่า เวลานี้มี Khan Academy Healthcare & Medicine แล้ว    ช่วยเอื้อต่อการเรียนแบบ personalized และ flip classroom

          ที่น่าสนใจมากคือ Lee Kong Chain School of Medicine ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนานยาง สิงคโปร์ ที่ร่วมมือกับ Imperial College, London   ที่ออกแบบหลักสูตรทั้งหลักสูตรให้มี ICT platform เป็น eLearning   แบบที่มี Schedule, Resource Bank และ Exam Bank อยู่บน iPad ของ นศ. แต่ละคน    และจะเก็บข้อมูลไว้ ตั้งแต่เข้าเรียน จนจบหลักสูตรได้ปริญญา    ฟังแล้ว จะเป็นโรงเรียนแพทย์ที่โมเดิร์นสุดๆ    แต่เขาก็เพิ่งเริ่มปีนี้เอง     ผมนึกอยู่ในใจว่า การที่หลักสูตรและการเรียนการสอนมีกรอบขนาดนี้ ขัดหลักการ open architecture อย่างยิ่ง  

          ฟัง session นี้แล้ว ผมคิดว่า มหาวิทยาลัยไทยควรร่วมกันสร้างระบบ ไอซีที เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ แบบ transformative, community-based, authentic learning   ที่มีการ โค้ช ใกล้ชิดผ่าน eCoaching, eEmbedded Formative Assessment

          PL 4 Impact of Globalization of Health Market on Health Workers and Health Professional Education   เป็น session ที่ธนาคารโลกเป็นโต้โผ  

          เขาบอกว่า เรื่องตลาดแรงงานบุคลากรสุขภาพเป็นตัวอย่างร้ายที่สุดของความล้มเหลวของตลาด (market failure) คือปล่อยให้ตลาดทำงานอย่างอิสระไม่ได้   ประเทศรวยจะแย่งคนไปจากประเทศยากจน    อย่างที่เป็นอยู่ ในเวลานี้    เขาเรียกว่า ปัญหา international migration ของบุคลากรสุขภาพ  

          องค์การอนามัยโลก พยายามแก้ปัญหา โดยการออก  WHO Global Code of Practice on the International Recruitment of Health Personnel    ซึ่งก็ไม่มีประเทศไหนปฏิบัติตาม    ปัญหายังคงดำรงอยู่ ไม่ดีขึ้นเลย    ทางสหรัฐอเมริกาเองก็เข้าไปช่วยประเทศในอัฟริกา ผลิตบุคลากรสุขภาพเพิ่มขึ้น    แล้วส่วนหนึ่งของบุคลากร เหล่านั้นก็ไหลไปทำงานในสหรัฐอเมริกา    เท่ากับคล้ายๆ ไปลงทุนผลิตบุคลากรในต่างประเทศ เพื่อเอาไปใช้ในประเทศของตนเอง

          ต้นตอของปัญหาคือ โลกผลิตบุคลากรสุขภาพไม่พอใช้    ประเทศรวยเอง ซี่งมีเงินลงทุนผลิต ก็ผลิตไม่พอใช้สำหรับประเทศของตนเอง    แม้จะไม่พยายามดูดไปจากประเทศยากจน    บุคลากรเหล่านั้น ก็ย่อมอยากไปอยู่ในที่ที่คุณภาพชีวิตของตนดีกว่า     หากไม่มีการปลูกฝังเลือดรักชาติ หรือเห็นแก่ประโยชน์ของเพื่อนร่วมชาติให้เข้มข้น

          ผมว่า วิธีแก้ที่ชะงัดคือ ผลิตบุคลากรให้มีคุณสมบัติตามความต้องการของท้องถิ่น    อย่าไปเน้น มาตรฐานสากล    ซึ่งเขียน/คิดแบบนี้ คนที่เน้นวิชาชีพนิยมก็จะไม่พอใจ

          PS 4.1 Transforming Health Professional Schools Thorugh Faculty Development    ผมจ้องไปเข้า session นี้ เพราะสนใจเรื่องการพัฒนาอาจารย์ 

           องค์การอนามัยโลกได้เผยแพร่เอกสาร Transforming and Scaling up Health Professional Education and Training    ซึ่งคณะวิชาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกแห่งควรศึกษา และเอามาทำความเข้าใจร่วมกันในหมู่ผู้บริหาร และคณาจารย์    สำหรับนำข้อคิดเห็นในเอกสารนี้มาใช้ประโยชน์ 

          ผมสนใจ FAIMER Fellowship และ Master’s Program สำหรับฝึกอาจารย์ ที่เน้น online learning เป็นสำคัญ    ไปเรียนแบบ face to face เพียงปีละ ๑ - ๒ สัปดาห์เท่านั้น    จุดสำคัญคือ ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Community of Practice ของอาจารย์จากทั่วโลก    ผมอยากให้มีอาจารย์ไทยไปร่วมสักปีละ ๑ - ๒ คน    เพื่อสร้างนักวิชาการด้านการพัฒนาอาจารย์ 

          ประเด็นสำคัญของอาจารย์ในวิชาชีพสุขภาพคือ ต้องเป็น ๓ อย่างในเวลาเดียวกัน คือ (1) teacher เพื่อจัดการเรียนรู้  (2) scholar เพื่อสร้างความรู้  (3) leader เพื่อการเปลี่ยนแปลง    

          Debriefing ของทีม rapporteur ไทย ร่วมกับคณะทำงาน HPER    นำโดย ดร. ตวง ใช้เวลา ๑ ๑/๒ ชม. (๑๘.๐๐ - ๑๙.๓๐ น.)  ให้ความรู้มาก เพราะแต่ละคนเข้า PS (Parallel Session) ได้เพียงเรื่องเดียว    จึงได้ฟังการสรุปของห้องอื่นด้วย    รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) reflection ของผู้เข้าฟังห้องนั้นด้วยกัน   เห็นได้ชัดเจนว่าแต่ละคนจับประเด็น ได้ไม่ครบ หรือไม่ลึกพอในบางส่วน    เมื่อมีการ ลปรร. กัน ต่างก็ได้ประโยชน์ 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๓ ก.พ. ๕๗

 

 

หมายเลขบันทึก: 562853เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2014 06:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2014 06:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท