ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๙๓. อุปนิสัยศึกษา


คนที่จิตใจอ่อนแอ ไม่ได้รับการฝึกจนเกิดอุปนิสัยที่เข้มแข็ง รู้เท่าทัน ต้านทานความเย้ายวนได้ ก็จะตกเป็นเหยื่อ และมีชีวิตที่ยากลำบาก ไร้ความสุข

 

          ในสะดวกสาร พพ. ๘๓๙ เล่ม ๒  หนังสือเพื่อความพอเพียงของชีวิต    ซึ่งออกเผยแพร่มา ๓ ปีแล้ว     มีเรื่องอุปนิสัยศึกษา เป็นเรื่องหลักเรื่องหนึ่ง    คำนี้ในภาษาอังกฤษคือ character development นั่นเอง   

 

          เมื่อค้น กูเกิ้ล ด้วยคำว่า อุปนิสัยศึกษา ก็ได้ผลการค้นจำนวนมาก โดยชิ้นแรกคือ ข่าวนี้   

 

          ที่จริง ตามหลักการศึกษาไม่ว่าในยุคสมัยใด    การพัฒนาอุปนิสัย เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการศึกษา     และโรงเรียน/ครู ต้องเอาใจใส่พัฒนาอุปนิสัยของนักเรียน    แต่มาระยะหลังนี้ ย่อหย่อนลงไปมาก    ผมโทษลัทธิ สอนเพื่อสอบ”    เน้นการสอบมาตรฐานส่วนกลาง    ซึ่งสอบได้เพียงวิชาความรู้เท่านั้น ไม่สามารถสอบอุปนิสัยได้  

 

          ทั้งๆ ที่ในยุคปัจจุบัน สถานศึกษา/ครู ยิ่งต้องเอาใจใส่ การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอุปนิสัย    เพราะจะเป็นทุนชีวิต ช่วยให้เด็กมีชีวิตที่ดีในอนาคต    เพราะโลกยุคทุนนิยมบริโภคนิยม และขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยตลาด    สังคมเต็มไปด้วยมายา กึ่งเท็จกึ่งจริง เพื่อกระตุ้นการบริโภค    ผู้อ่อนแอตกเป็นเหยื่อของมายาและกิเลสที่ถูกกระตุ้น ซึ่งในหลายๆ ครั้ง อย่างไร้จริยธรรมของการสื่อสาร

 

          คนที่จิตใจอ่อนแอ ไม่ได้รับการฝึกจนเกิดอุปนิสัยที่เข้มแข็ง รู้เท่าทัน ต้านทานความเย้ายวนได้    ก็จะตกเป็นเหยื่อ    และมีชีวิตที่ยากลำบาก ไร้ความสุข 

 

          ผมจึงไม่เห็นด้วย ที่วงการศึกษามอง อุปนิสัยศึกษาเป็นเรื่องที่มีการดำเนินการ หรือจัดการเรียนรู้ แยกออกมาต่างหาก จากการศึกษาในหลักสูตรปกติ    ผมคิดว่า นั่นเป็นมิจฉาทิฐิของลัทธิแยกส่วน

 

          ผมเชื่อว่า การศึกษาที่ดีต้องจัดการฝึกฝนเรียนรู้ด้านการสร้างอุปนิสัยที่ดี ที่เข้มแข็ง เป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิต    ที่เป็นส่วนหนึ่งของทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑   ที่จะต้องฝึกฝนบูรณาการอยู่ในทุกสาระวิชา ทุกกิจกรรม    ไม่ใช่แยกออกมาเป็นวิชาหรือกิจกรรมต่างหาก

 

          ผมเชื่อในการศึกษาแบบบูรณาการ

 

 

วิจารณ์ พานิช

.. ๕๗

 

หมายเลขบันทึก: 561174เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2014 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2014 08:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท