บรรยายเรื่อง "เทคนิคการจัดการความรู้ในระดับภาควิชา" ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ความรู้อยู่ในบุคลากรขององค์กร... ความรัก และความเข้าใจระหว่างกัน จะสร้างความไว้วางใจและเต็มใจในการถ่ายทอดประสบการณ์ที่เกิดจากการปฏิบัติงานที่สั่งสมมายาวนาน ที่ยากนักจะค้นพบในตำรา

ได้รับเกียรติให้บรรยายเรื่อง "เทคนิคการจัดการความรู้ในระดับภาควิชา" ณ ห้องประชุมเนตรเฉลียว ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวันที่ 23 มกราคม 2557 เวลา 11.00-12.00 น.

...

ในการบรรยาย ผู้เขียนประทับใจคณาจารย์ และบุคลากรภาควิชาปรสิตวิทยาเป็นอย่างมาก ที่ทุกท่านอยู่ร่วมเรียนรู้ และซักถาม Howto สู่การนำมาปฏิบัติ ที่น่าจะนำมาปฏิบัติได้จริง จนเลยเวลาอาหารกลางวัน

ประเด็นเรียนรู้ร่วมกันที่สำคัญอาทิ เช่น

- การที่ทำให้บุคลากรทุกระดับรู้สึกมีส่วนร่วมในการสร้างฝันร่วมกัน (วิสัยทัศน์) 

- การทำให้เนียนในเนื้องานประจำ เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นภาระงานใหม่

- การจัดทำแผนงานเพื่ออำนวยให้การพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้และข้อคิดเห็นในงานเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ

- การสร้างบรรยากาศแห่งความสุขในที่ทำงาน รักงานของตน เป็นต้น

และสิ่งสำคัญที่สุด คือ ความรู้มีอยู่ในบุคลากรทุกคนขององค์กร... ความรักและความเข้าใจ จะสร้างความไว้วางใจระหว่างกัน นำมาซึ่งความเต็มใจในการถ่ายทอดประสบการณ์ที่เกิดจากการปฏิบัติงานที่สั่งสมมายาวนาน ที่ยากนักจะค้นพบในตำรา

...

สไลด์การบรรยาย   วิทยากร KM Parasite_230157.pdf

...

ถ่ายภาพร่วมกับคณาจารย์และบุคลากรภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

...

...มีคำถามหนึ่ง ที่ผู้เขียนตอบได้ไม่ตรงคำถาม เพราะในขณะนั้น นึกไม่ออกจริงๆ...

...

รองศาสตราจารย์ธิดารัตน์ บุญมาศ อาจารย์กล่าวชมผู้เขียนว่าเป็นตัวอย่างบุคลากรที่ทำงานทุ่มเทและเสียสละให้องค์กร แล้วท่านก็ถามต่อว่า "อะไรที่ทำให้ผู้เขียนรู้สึกรักองค์กร"

ผู้เขียนอึ้งไปสักครู่...จำคำตอบตัวเองไม่ได้มากนัก แต่รู้สึกว่าตอบได้ไม่ตรงคำถาม เพราะไม่เคยถามคำถามนี้กับตนเองเลย

ที่ตอบไป กล่าวว่า

- เพราะมีฝัน ฝันจะเห็นวิชาชีพวิสัญญีพยาบาลเป็นที่รู้จักและยอมรับ 

ตอนทำงาน  (ที่เกินงานที่ได้รับมอบหมายเสมอๆ)มีความคิดเพียงว่า ทำอย่างไรจะให้วิสัญญีพยาบาลที่มีศักยภาพในงานสูง ซึ่งทำงานที่มีความยาก ซับซ้อนในภาควิชาวิสัญญี และภาควิชาวิสัญญีวิทยา  ตลอดรวมถึงวิสัญญีพยาบาลที่อยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ ที่อาจจะไม่มีวิสัญญีแพทย์ร่วมดูแลผู้ป่วยด้วย เป็นที่รู้จักและยอมรับในวงการวิชาชีพอื่นๆ และสังคม

- รู้สึกว่าตนเองโชคดีที่ได้ทำงานท่ามกลาง ผู้รู้ และสถาบันการศึกษาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา จึงอยากบอกเล่าให้เพื่อนๆร่วมวิชาชีพได้รับทราบ

- อาจเพราะเป็นพี่สาวคนโต ที่มีความรู้สึกเสมอว่า "อยากแบ่งปันน้องๆ"

- มองอุปสรรคเป็นความท้าทาย ทำงานสำเร็จจนทุกวันนี้ ไม่มีโต๊ะทำงานเป็นของตนเอง มีเพียงกระเป๋าลากเก่าๆ 1 ใบพร้อมกับโน้ตบุ๊ก... ที่ไหนมีโต๊ะนั่งและมีปลั๊กไฟ ที่นั่นเป็นที่ทำงานได้แล้ว

...

ตอนนั้น.. คิดได้แค่นั้น

ซึ่งเมื่อเดินกลับจากการบรรยาย ก็ย้อนคิดเพื่อหาคำตอบว่า ทำไมเรารักองค์กร ทำไมเราทำงาน จนบางคนมองว่า "เป็นบ้าเป็นหลัง"

เลยมาลองตรองดู คงประมาณนี้

- เพราะหัวหน้าให้โอกาสได้แสดงฝีมือ ให้ทำงานโดยอิสระทางความคิด เปิดโอกาสให้แสดงความรู้ ความคิดเห็น ความสามารถ แม้มีหลายเรื่องที่เป็นความคิดใหม่ ในเรื่องใหม่ๆ ก็ให้ความไว้วางใจ จนทำให้ผู้เขียนรู้สึกว่า "ทำพลาดไม่ได้ เพราะไม่อยากให้ผู้นำ/ทีมผิดหวัง และองค์กรผิดพลาด" เป็นที่มาของการที่ต้องดิ้นรน ขวนขวายด้วยตนเองเป็นอย่างมาก... ต้องรู้ 100 แม้ใช้เพียง 10 นำมาซึ่งความสำเร็จและคำชม ซึ่งก็ยิ่งฮึกเหิม... และติดใจอยู่กับคำว่า "ความคิดบวก (Positive thinking)" เรื่อยมา

...

ตอนท้าย ผู้เขียนได้กล่าวถึงบุคลากรภาควิชาปรสิตวิทยาว่า...

"...เชื่อว่าบุคลากรทุกคนในภาควิชาปรสิตวิทยา รักองค์กร แต่อาจยังไม่มีโอกาสได้แสดงออกให้เห็นชัดเจน หรือการแสดงออกของความรักองค์กรอาจจะมีในรูปแบบต่างกัน.."

...

ขอขอบพระคุณภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ให้เกียรติผู้เขียนบรรยาย

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ ที่ให้โอกาสผู้เขียนค่ะ

หมายเลขบันทึก: 561051เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2014 01:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2014 01:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ชื่นชม คลื่นลูกใหม่ครับ

"คลื่นลูกเก่ามลายเมื่อไกล้้ฝั่ง คลื่นลูกใหม่ประดังเข้าแทนที่"

เรียน ท่าน อ.จิตเจริญ ค่ะ

ทุกครั้งที่จะออกบรรยายเรื่องการจัดการความรู้ ติ๋วมีอาจารย์ที่ระลึกถึงเสมอ 3 ท่านค่ะ คือ

อ.วิจารณ์ พานิช : ผู้บอกเล่าความรู้ต้นตำรับ

อ.ประพนธ์ ผาสุขยืด : ผู้ให้โอกาสเข้าฟังบรรยายร่วมกับนักศึกษา ป.เอก เมื่อคราวอาจารย์มาบรรยายที่ มข. และ

อ.จิตเจริญ ไชยาคำ : ผู้หยิบยื่นโอกาสที่มีคุณค่ามากกว่าความรู้ ด้วยการพูดและแสดงให้ดูในทุกเวที ให้โอกาสติดสอยห้อยตาม สังเกตการทำงาน ฝึกวินัยการทำงาน ให้กำลังใจและกระตุ้นให้ได้เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ ตลอดมา

ติ๋วระลึกถึงและกล่าวถึงอาจารย์เสมอบนเวที เมื่อมีโอกาสค่ะ

ด้วยความเคารพค่ะ

กฤษณา ศิษย์ JJ.

เรียน ท่านผู้เฒ่า วอญ่าค่ะ

"คลื่นลูกเก่าไม่มีมลาย... อยู่ในใจคลื่นลูกใหม่เสมอ" ค่ะ

ขอบคุณค่ะท่านผู้เฒ่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท