การจัดการเรียนรู้แบบ Social Constructivism


           

            การจัดการเรียนรู้แบบ Social Constructivism เป็นทฤษฎีของ Lev Vygotsky ทฤษฎีการเรียนรู้ที่ได้ศึกษาทางด้านพัฒนาการทางปัญญาเช่นเดียวกับพีเจต์ แต่จะแตกต่างที่จะให้ความสนใจกับการมีปฏิสัมพันธ์จากโลกภายนอก (outward) จะทำให้เกิดพัฒนาการทางปัญญา(inside) ขณะที่ทฤษฎีของ พีเจต์จะเป็นการศึกษาด้านภาวะการเจริญเติบโตภายในของมนุษย์ อายุ และขั้นพัฒนาการจะมีผลต่อการนำไปและประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ภายนอก หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างว่าเป็นการเริ่มจากข้างใน (inside) ไปยังข้างนอก (outward)

ทฤษฎี Vygotsky ค่อนข้างมีข้อจากัดมากกว่าของพีเจต์ แต่ว่าวิธีการและแนวคิดสำคัญของเขา ได้รับการยอมรับมากเกี่ยวกับการพัฒนาทางด้านปัญญาใน 3 เรื่อง คือ

1)กระบวนการภายในจิตใจ (Internalization) กระบวนการภายในจิตใจ (internalization) ก็คือการซึมซับ (obsorption) หรือการนำเอาความรู้(knowledge) ที่มีอยู่ในบริบทของสังคมนั้น ๆ ด้วยการสังเกต(observe) ด้วยตัวเอง Vygotsky เชื่อว่าความคิดและภาษามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด การพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ทักษะทางภาษาจะไปช่วยพัฒนาความคิดของพวกเขา ยกตัวอย่าง การมีทักษะทางภาษาที่เข้มแข็ง เด็ก ๆ ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้ใหญ่พูดคุยกันได้ดี และเรียนรู้จากการสนทนาได้มากกว่าการที่พวกเขาจะไม่เข้าใจถ้อยคำที่ผู้ใหญ่พูดคุยกันเลย

2) บริเวณความใกล้เคียงพัฒนาการทางปัญญา (The Zone of proximal development ) หรือเรียกว่า ZPD ซึ่งเป็นขอบเขต (Range) ระหว่าง 2 สิ่ง คือ สิ่งหนึ่งเป็นขอบเขตที่เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยอิสระ กับอีกขอบเขตที่เด็กสามารถทำได้ เช่น กัน แต่ต้องได้รับการแนะนำ (guidance) จากผู้ชำนาญการ โดยธรรมดาแล้วเด็ก ๆ เขาจะทำอะไรโดยการสังเกต โดยจะอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์เดิมที่พวกเขามี นอกจากการมีปฏิสัมพันธ์ก็คือ “ประสบการณ์” (experience) Vygotsky ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับขอบเขตระหว่างการที่สามารถทำได้ด้วยตนเองกับการทำได้โดยอาศัยการชี้แนะ ความแตกต่างดังกล่าวทำให้เกิดประโยชน์ต่อนักการศึกษามาก

3)    การเสริมต่อการเรียนรู้ (Scaffolding) เป็นเทคนิคสำคัญที่จะไปกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการในตัวผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จ เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ตามลำพังได้ โดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับ ZPD ของ Vygotsky ที่นิยามเกี่ยวกับ Scaffold หลายคนอาจจะนึกถึงโครงสร้างชั่วคราวเป็นข้างต้น ที่คอยสนับสนุนการทางานของงานก่อสร้างโดยเฉพาะตึกสูง ๆ ให้สามารถทำงานได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ ที่เข้าถึงได้ยาก แต่ใน Instructional Scaffolding แล้วก็จะเป็นยุทธศาสตร์การสอน (teaching strategy) ซึ่งก็จะมีความคล้ายคลึงกันกับความหมายที่กล่าวมาข้างต้น แต่พื้นที่ใช้เกี่ยวกับการสร้าง(Construction site) ความรู้

            ยุทธศาสตร์นี้จะเป็นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนด้วยการร่วมมือกัน(Collaborative) ในภารกิจที่มันซับซ้อนและยากที่จะทำสำเร็จเพียงคนเดียวโดยผู้สอนจะคอยสนับสนุนช่วยเหลือให้ผู้เรียนสร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง โดยแนวคิด Vygotsky นี้จะสนับสนุน Instruction Scaffolding ซึ่งเป็นเทคนิคนักการสอนที่มาจากการทำงานของเขา ซึ่งเขาเชื่อว่า การเรียนรู้ของเด็กจะต้องได้รับการแนะนำจากผู้ใหญ่และการหล่อหลอมทางสังคม 

            ผู้สอนจะต้องใช้เทคนิคต่างๆ ออกแบบการสอน เพื่อให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เช่น การทำงานเป็นทีม การทำโครงงาน เป็นต้น ตลอดจนการนำเทคโนโลยีต่างๆมาช่วยสนับสนุนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เช่น การใช้เครื่องมือสื่อสารทางไกลหรือบริการต่างๆ ที่มีในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ กระดานสนทนาและห้องสนทนา เพื่อเป็นสื่อกลางในการสนทนาอภิปราย ค้นคว้า แก้ไขปัญหาร่วมกับผู้เรียนคนอื่นๆ ครู และผู้เชี่ยวชาญในวงวิชาชีพที่อาจอยู่ห่างไกลจากชั้นเรียน เครื่องมือสื่อสารเหล่านี้จะมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล แหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ที่มีรูปแบบแตกต่างกันอันจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจถึงวัฒนธรรมของพวกเขาเองและผู้อื่น

หมายเลขบันทึก: 559683เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2014 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2014 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณความรู้ ....การพัฒนาทางด้านปัญญา นี้ค่ะ

เขียนไว้ได้ดีมากเลยค่ะ เข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจน หายงงเลยค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท