ปรัชญาการศึกษาลัทธินิรันตรวาท ; จุดมุ่งหมายการศึกษาของลัทธินิรันตรวาท


นิรันตรวาท

 

ปรัชญาการศึกษาลัทธินิรันตรวาท (Perennialism):

จุดมุ่งหมายการศึกษาของลัทธินิรันตรวาท

 

เนื่องจากปรัชญาการศึกษาของลัทธินิรันตรวาท (Perennialism) ได้รับอิทธิพลจากนักคิดที่เกี่ยวกับศาสนาก็คือ โทมัส อะไควนัส ดังนั้น แนวคิดหลักของลัทธินิรันตรวาท จึงมีด้วยกันอยู่สองลักษณะคือ

 

(๑) เป็นเรื่องของการเน้นเหตุผล สติปัญญา ไม่เกี่ยวกับศาสนาโดยตรง

(๒) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนาแต่เป็นในลักษณะที่เรียกว่า  ศาสนาเข้ากันได้กับเหตุผล

 

อย่างที่  โธมัส อะไควนัส เชื่อว่า เราอาจทำให้เหตุผลกับศาสนากลมกลืนกันได้ แต่ก็เชื่อว่าความลี้ลับแห่งศรัทธาบางอย่าง อยู่เหนือการให้เหตุผลจะยึดถือได้

ตามทรรศนะของ โธมัส อะไควนัส เห็นว่าศรัทธาเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นสิ่งที่นำมาซึ่งความรู้ ที่จะเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้าได้ดีกว่าการให้เหตุผล อย่างที่เคยเป็นมา เพราะเหตุผลไม่สามารถเข้าถึงพุทธิปัญญา หรือ บรรลุสัจธรรมได้   สอดคล้องกับเดกาตซ์ที่ว่า ท่านกำลัง “สถาปนา” มิใช่เพียง “สันนิษฐาน” ความสมเหตุสมผลของศาสนาและศีลธรรมกับวิทยาศาสตร์ เพราะเพียงแต่การให้เหตุผล ก็เท่ากับเป็นการสันนิษฐานตามหลักการเท่านั้น ซึ่งที่สุดแล้วหากขาดเสียซึ่งศรัทธา ก็ไม่สามารถที่จะได้รับสัจธรรมอันแท้จริงได้ เพราะมนุษย์เป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างเท่านั้น  

 

ดังนั้น จุดมุ่งหมายของการศึกษาต้องมีการปลูกฝังศรัทธา ต่อผู้เรียนให้เกิดขึ้นพร้อมกับให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และมีความจำวิชาการต่างๆ ของคนในสมัยก่อนเป็นการนำพาผู้เรียนไปสู่พรมแดนแห่งความสมบูรณ์หรือมุ่งให้ผู้เรียนเข้าถึงสัจจะ หรือความจริงแท้  ที่ไม่เปลี่ยนแปลง มิได้สอนให้ปรับตัวเข้ากับสังคม เพราะสิ่งที่ผ่านมานั้น ได้ผ่านการค้นคว้าพิสูจน์ มาเป็นอย่างดีแล้ว  และธรรมชาติของมนุษย์จะเหมือนกันในทุกแห่งหน ที่จะได้รับอมตแห่งความเป็นนิรันดร  เพราะฉะนั้น  การศึกษาควรจะเป็นแบบอย่างเดียวกันสำหรับทุกๆ  คน

Robert   M Hutchins กล่าวว่า  “หน้าที่ของคนในสังคมหนึ่งย่อมแตกต่างไปจากอีกสังคมหนึ่ง   แต่หน้าที่ของคนในฐานะที่เป็นคนย่อมจะเหมือนกันในทุกๆ  วัยและในทุกๆ สังคมในเมื่อหน้าที่ของมนุษย์นั้นก็คือผลที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์นั่นเองดังนั้นจุดมุ่งหมายของระบบการศึกษาไม่ว่าจะเป็นการศึกษาสำหรับวัยใดหรือในสังคมใดก็ย่อมจะเหมือนกันนั่นคือเพื่อพัฒนาคนให้เป็นคน”

 

จะเห็นได้ว่า  แนวคิดของลัทธินิรันตรวาท เป็นการนำเอาเหตุผลกับศรัทธามาใช้ เพื่อสนับสนุนหลักการทางศาสนาคริสต์ เพื่อให้การเรียนการสอน ให้ผู้เรียนได้บรรลุผลสูงสุด  เพราะเชื่อว่าศาสนาได้สอนสิ่งที่ดีไว้แล้ว การศึกษาอย่างอื่นก็ไม่ได้สอนแตกต่างไปจากศาสนา คือมีเป้าหมายสูงสุด   เพื่อให้คนอยู่กันอย่างมีความสุข การศึกษาที่เกิดประโยชน์จึงต้องหาทางที่จะช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนปรับตัวให้เข้ากับความจริง  มิใช่สอนเพื่อให้คนปรับตัวเข้ากับสังคม  ซึ่งการบรรลุความจริงนั้นได้ก็โดยการปฏิบัติตามหลักธรรมทางคริสตศาสนา  เพราะการศึกษาของสังคมมิได้ให้ความจริงแก่ชีวิต หรือบรรลุจุดมุ่งหมายของชีวิตอย่างสูงสุดจริงๆ

 

ด้วยเมตตาธรรม

 

หมายเลขบันทึก: 559551เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2014 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2019 04:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พระอาจารย์ครับ..........

ตกลง...ปรัชญาการศึกษาของลัทธินิรันตรวาท (Perennialism) ได้รับอิทธิพลจากนักคิดที่เกี่ยวกับศาสนาก็คือ โทมัส อะไควนัส ที่ให้เกณฑ์ไว้....

ในข้อที่ 1 ว่า เป็นเรื่องของการเน้นเหตุผล สติปัญญา ไม่เกี่ยวกับศาสนาโดยตรง....มีการเรื่มใช้แต่ยังมิตรงเป้า.........

ในข้อที่ 2 ว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนาแต่เป็นในลักษณะที่เรียกว่า ศาสนาเข้ากันได้กับเหตุผล..ขณะเข้ากระบวนการ

ในข้อที่ 3 ว่าเป็นเรื่องการมีศรัทธานั้นเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นสิ่งที่นำมาซึ่งความรู้ ที่จะเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้าได้ดีกว่าการให้เหตุผล คือความสามารถทางศักยภาพแห่งมนุษย์ ศรัทธาในตนเพื่อการรู้ถึงแก่นปรัชญาลัทธินิรันตรวาท (Perennialism) อันอยู่ในส่วนนิเวศน์แห่งจิตนิยม Idealism การยึดถืออุดมการณ์ อุดมคตินิยม และแม้กระทั่งความเพื้อฝันอันมี Elic von ได้กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์จะเหมือนกันในทุกแห่งหนในด้านสรีระและที่มา Ethnoecological

เป็นเครื่องประมาณเหตุผล สติปัญญาเล็งเห็นต่อเป้าหมาย

หน้าที่ของคนในสังคมหนึ่งย่อมแตกต่างไปจากอีกสังคมหนึ่ง Robert M Hutchins กล่าวไว้ ...แต่หน้าที่ของคนในฐานะที่เป็นคนย่อมจะเหมือนกันในทุกๆระยะวัยและในทุกๆ สังคมในเมื่อหน้าที่ของมนุษย์...นั้นก็คือผลที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์นั่นเอง..ดังนั้นจุดมุ่งหมายของระบบการศึกษาไม่ว่าจะเป็นการศึกษาสำหรับวัยใด หรือในสังคมใดก็ย่อมจะเหมือนกันนั่นแหละ แม้ธรรมชาติยังได้สร้างต้นไม้ ลำธาร นุษย์ สัตว์ สรรพสิ่งสาร ไว้อีกด้านโลกแต่อีกด้านโลกนั้นย่อมมีเช่นกัน...เพียงแต่บริบทธรรมชาติได้เคลือบสร้างให้..

เป็นการนำเอาเหตุผลกับศรัทธามาใช้รวมสภาพ.......กลายเป็นความเชื่อมั่น... เป็นทักษะทางปัญญาของลัทธินิรันตรวาท

Perennialism ของหลักการทางศาสนาคริสต์...อันมี ความเมตตตา ความเสียสละ ตวามสามัคคี และความยุติธรรม.......เป็นศูนย์รวมสมาชิกเพื่อให้มนุษย์ชนอยู่กันอย่างมีความสุขโดยมิประสงค์ให้อยู่กับสิ่งชี้นำที่เป็นสังคมนั้นอันมิใช่ความจริง

ผิดถูกอยางไร...ชี้แนะด้วย...ขอบคุณครับพระอาจารย์

อนุโมทนา..ในการติดตาม..(ทุกท่่าน)..

ส่วนตนเห็นว่า สิ่งที่กล่าวถึงอะไรและอย่างไรนั้น อาจเป็นด้วยความคิดส่วนตน ตามความเข้าใจได้

เห็นด้วยว่า สิ่งต่่างนั้นไม่ว่าจะอย่างไร... ความเมตตา เอื้ออ่ารี อย่างปรารถนาอย่างเข้าใจและพยายามเรียนรู้ถึง สิ่งต่าง...ในโลกใบนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่จะนำไปพัฒนาตน...

..ชีวิตบางครั้งดูเหมือนว่า..ตัวของเราย่อมเเสวงหาความสุข สงบ สันติ แก่ตนเอง ด้วย กายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม

ส่วนตนเห็นว่า การแบ่งปันความคิด ความเห็น นั้นพยายามจะที่เรียนรู้ดัวยคติดังกล่าว...

กัลยาณมิตรเป็นรุ่งอรุณในการอยู่ร่วมกัน...ด้วย

..

ด้วยเมตตาจิต.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท