การปลูกลำไย ผล และกิ่งลำไยเริ่มมีผงสีเขียวติดเคลือบอยู่(แต่ดูแล้วไม่น่าจะใช่เชื้อรา) มันคืออะไร....น่ากังวลใจไหม


ลำไย : ชุมชนคนสนใจเรื่องลำไย ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

https://www.facebook.com/groups/www.longankipqew/

หรือ

http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/545415/edit

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840


moondo

IP: xxx.4.250.222

เขียนเมื่อ 2 วันที่แล้ว

 

รบกวนสอบถามหน่อยครับ

          พอดีผมทำลำไยนอกฤดูเป็นปีแรกและพ่นฮอร์โมนและยาฆ่าแมลงค่อนข้างบ่อย ราวๆ7วันต่อ1ครั้งให้น้ำ7วันครั้ง ตอนนี้สังเกตุว่าที่ใบ ผล และกิ่งลำไยเริ่มมีผงสีเขียวติดเคลือบอยู่(แต่ดูแล้วไม่น่าจะใช่เชื้อรา) เหมือนกับมันลอกออกมาจากใบลำไยประมาณนั้น อยากทราบว่ามันเกิดจากอะไรครับ รบกวนตอบคำถามด้วยครับ

ขอบคุณครับ

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

เขียนเมื่อ 1 วันที่แล้ว

 

          ในฮอร์โมน และยากำจัดแมลง จะมีส่วนผสมของ "ซิงค์" หรือสังกะสี เป็นจำนวนมากค่ะ

          ดังนั้นการให้ฮอร์โมน หรือยาจำกัดแมลงบ่อยๆ จะส่งผลให้เกิดสารตกค้างจำนวนมาก และเมื่อสารเหล่านี้ได้รับความชื้น ก็จะเกิดลักษณะที่เรียกว่า "ซิงค์ออกไซค์" เป็นผงสีเขียวๆ ติดตามผล และกิ่งก้าน หรือที่เรารู้จักในนามของ "สนิมสังกะสี"...ค่ะ

          สนิมสังกะสี ไม่ส่งผลเสียหรอกค่ะ ยกเว้นเปลือง...ค่าฮอร์โมน ค่ายากำจัดแมลงที่ได้พ่นไปแล้ว แต่ถ้ารำคาญตา ไม่สบายใจ ก็แนะนำให้ใช้น้ำเปล่าฉีดพ่นก็ได้ ถือว่าให้น้ำทางใบได้

          ยกเว้นลำไยกำลังดอกบาน..นะคะ ห้ามพ่นน้ำแรงๆ ใส่ เดี๋ยวดอกจะร่วง...ค่ะ

ขอแนะนำเพิ่ม :

          การพ่นฮอร์โมน ถ้าไม่มีความรู้ ความเข้าใจ จะทำให้ต้นลำไย และผลผลิตมีพัฒนาการที่ผิดปกติ..นะคะ เช่นการพ่นฮอร์โมน ซึ่งอยู่ในกลุ่มยับยั้งการเจริญเติบโต ถ้าไปพ่นตอนกำลังเจริญเติบโต จะเกิดอาการชงัก..ค่ะ เช่นดอกไม่ยอมออก หรือ ตาดอกกลายเป็นใบแทน...ค่ะ

การพ่นยากำจัดแมลง : แนะนำให้พ่นเพียง

          1. ช่วงใบอ่อนเกิดในแต่ละยอด

          2. ช่วงดอกกำลังจะบาน

          3. ช่วงติดผลอ่อน

          4. ช่วงเม็ดลำไยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และกำลังสร้างเนื้อ

          5. ใกล้ผลสุกประมาณ 15 วัน และ

          6. ช่วงเร่งด่วนหากตรวจพบการระบาดของโรค และแมลง...ค่ะ นอกนั้นไม่จำเป็นต้องพ่น...ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 559550เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2014 07:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2014 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สาวน้อยใจดี หนูเก่งมากๆ (ที่ร.ร.มีครู รวมผอ.. ๖ คน ครับ)

เป็นกำลังใจนะค่ะ สาวน้อยคนสวย

ชื่นชมความรู้ความสามารถนะคะ สาวน้อยใจดี...

เก่งมากๆ เป็นกำลังใจให้นะครับ

โอ้..คุณยุ๊ยเข้ามาตอบให้แล้วขอบคุณมากๆครับ

งั้นขอถามต่อครับพอดีจะทำลำไยต่อเป็นปีที่2 (ปีแรกนี้จะเก็บผลผลิตปลายเดือนกุมภานี้ ปีแรกใช้การราดสาร ได้ผลพอใช้เมื่อเทียบกับการลองทำแบบมั่วๆ แต่ราคาสารค่อนข้างแพง)

ผมเลยอยากจะเปลี่ยนมาใช้สารพ่นแทน เลยอยากทราบปริมาณการใช้สารโปรแตสเชี่ยมครอเรตที่ถูกต้อง ต่อน้ำ200ลิตร ว่าควรใช้ปริมาณเท่าไหร่ อย่างไร ควรฉีดพ่นกี่ครั้งครับสำหรับทำลำไยนอกฤดูครับ และอยากรู้ข้อดี ข้อเสียของการใช้สารโปรแตสเซี่ยมครอเรต แบบราดและแบบฉีดพ่น ว่าดีเสียแตกต่างกันอย่างไรบ้างครับ

รบกวนสอบถามเป็นความรู้ให้กับเกษตรกรมือใหม่แบบผมด้วยครับ

ขอบคุณครับ...

สวัสดีค่ะ คุณ moondo

ลำไยในปีแรกส่วนมากไม่ค่อยมีปัญหา ลูกดก สวย เพราะต้นลำไยสะสมสารอาหารมาไว้นาน เมื่อถึงภาวะที่เหมาะสมตามธรรมชาติ (ลำไยในฤดู) ได้รับอุณหภูมิหนาวเย็นต่อเนื่องยาวนาน ก็สามารถให้ผลผลิตได้ตากธรรมชาติ แต่เมื่อต้องการให้ออกนอกฤดู ก็ต้องใช้วิธีการทรมาณต้นไม้ ด้วยการให้อดน้ำ โดยการทำลายรากฝอย ด้วยวิธีการราดสาร จะทำให้รากไม่สามารถดูดสารขึ้นไปใช้ได้

แต่ในปีที่ 2 ของการทำลำไย ต้นลำไยควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องของการบำรุงต้นลำไยหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตขาย ด้วยธาตุอาหาร หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่า "ปุ๋ย" โดยมีปุ๋ยที่จำเป็นดังต่อไปนี้

1. ปุ๋ยอินทรีย์ จะใช้เพื่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่สูญเสียไปจากการราดสารโพแทสเซี่ยมคลอเรต (สารราดลำไย) ซึ่งต้วที่เข้าไปทำลายราก หรือรบกวนการดูน้ำ และธาตุอาหารของลำไย คือ "คลอเรต"

ส่วนโพแทสเซียม จะทำหน้าที่ในการนำพาธาตุอาหารขึ้นสู่ปลายยอด และนำพาสารอาหาร หรือสารอินทรีย์ที่ปลายยอดสร้างขึ้น นำกลับไปยังส่วนต่างๆ ของพืช และนำพากรดอมิโนที่สังเคราะห์ที่ปลายยอด ให้กลับไปยังรากด้วย

2. ปุ๋ย 25-7-7 หรือเลือกผสมเองจาก 46-0-0 (่ยูเรีย) + 15-15-15 อัตราส่วน 1:1 ซึ่งจะได้อัตราส่วนแต่ละตัวใกล้เคียงกัน ใช้สำหรับการบำรุงราก ลำต้น และใบ ของลำไย

3. จุลินทรีย์ EM สำหรับการล้างสารพิษตกค้าง ซึ่งสารตกค้างในที่นี้หมายถึง "สารโพแทสเซียมคลอเรต" ที่ใช้ในการราดสารลำไย เนื่องจากฤทธิ์ของสารนี้ จะไปรบกวนการดูดซึมของรากลำไย ทำให้รากลำไยไม่สามารถดูดน้ำ และธาตุอาหารได้โดยสะดวก

4. ปุ๋ยเคมี 8-24-24 ที่จะใช้บำรุงต้นลำไย ในช่วง 1 เดือนสุดท้าย ก่อนการราดสารลำไย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ต้นลำไยมีการสะสมสารอาหาร ให้พร้อมที่จะออกตาดอกในปีถัดๆ ไป

การใช้วิธีัการพ่นสารทางใบ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เกษตรกรนิยมใช้ ทั้งนี้โดยหลักการทางทฤษฎี จะใช้สารเคมีเป็นตัวกระตุ้นให้ส่วนปลายยอดลำไยได้สารอย่างรวดเร็ว และสม่ำเสมอ พร้อมๆ กันทุกๆ ยอด ปุ๋ยที่นิยมใช้ในการพ่นส่วนปลายยอดคือ ปุ๋ย "โพแทสเซียมไนเตรท" (13-0-46)

"ไนเตรท" จะไปกระตุ้นให้ปลายยอดสร้างสารอินทรีย์ ในรูปแบบของ "กรดอมิโน"

"โพแทสเซียม" จะแตกตัวเป็น "โพแทสเซียมไอออน" แลกเปลี่ยนถ่ายเทอิเลคตรอน ซึ่งจะช่วยนำพากรดอมิโนที่สังเคราะห์ได้ กลับลงไปสู่ปลายราก กรดอมิโนจะช่วยกระตุ้นให้รากฝอย แตกรากเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้กระบวนการที่กล่าวไว้ข้างต้น ต้นลำไยสามารถดำเนินการได้แม้จะมีน้ำเพียงเล็กน้อยก็ตาม แต่พืชก็ยังสามารถเขียวสดใสอยู่เหมือนได้รับน้ำ หรือความชื้นตามสภาพปกติ

ข้อดีในการราดสาร

กระตุ้นรากให้ทำการดูสารโพแทสเซียม ไปยังปลายยอด ตามธรรมชาติของการนำพาธาตุอาหารของลำไย

ทำต่อเนื่องมายาวนาน เห็นผลชัดเจน

ข้อเสียของการราดสาร

เปลืองสารที่จะใช้ในการราด

ราคาแพง

ราดไม่เป็น ก็ต้องเสียค่าจ้างราดสาร ซึ่งคิดราคาตามจำนวน ซีซี ซึ่งถือว่าแพงมาก

ข้อดีในการพ่นสาร

การส่งสารโพแทสเซียม ไปยังปลายยอด เป็นการลัดขั้นตอนในกระบวนการทางธรรมชาติของการนำพาธาตุอาหารของลำไย

กิ่งลำไยทุกยอดได้รับสารแน่นอน ซึ่งจะทำให้ทุกๆ ยอด มีโอกาสติดดอกสูง

ประหยัดสารราดลำไย

สามารถพ่นพร้อมการให้ยากำจัดแมลงได้


ข้อเสียของการพ่นสาร

อันตรายต่อตัวผู้พ่นสาร หากไม่สวมหน้ากากสำหรับพ่นสาร โดยเฉพาะโรคในระบบทางเดินหายใจ

ปุ๋ย "โพแทสเซียมไนเตรท" มีราคาแพง เกษตรกรจึงนิยมใช้ "โพแทสเซียมคลอเรต" นำมาละลายน้ำ และนำมาพ่นยอดลำไยแทน

จะมีสารตกค้างอยู่ตามใบ และกิ่งก้าน เป็นจำนวนมาก

"ไนเตรท" อาจตกค้างในผลลำไย ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด "โรคมะเร็ง ในกระเพาะอาหาร" เนื่องจากไนเตรทจะไปทำปฏิกิริยากับสารอามีน (ซึ่งได้จากการรับประทานอาหารทั่วไป) โดยจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาซึ่งจะเปลี่ยนไปเป็น "ไนไตรท" ซึ่งเป็นสารตัวหนึ่งที่นำพาให้เกิดมะเร็งได้

อัตราส่วนการผสมเพื่อการพ่นสารทางใบ ให้เกษตรกรใช้โพแทสเซียมคลอเรต หรือโพแทสเซียมไนเตรท เพียง 10-20 % ของน้ำหนักสารที่ใช้สำหรับราดสารลำไยทางดิน เช่นเคยใช้ 30-50 กิโลกรัม/น้ำ 200 ลิตร สำหรับราดสารทางดิน

3 วันต่อมา ให้เกษตรกรใช้สารตัวเีดียวกัน แต่ให้ชั่้งน้ำหนัก เพื่อจะใช้สารเพียง 30-50 กรัม (3-5 ขีด) ผสมน้ำ 20 ลิตร (หรืออัตราส่วน 300-500 กรัม/น้ำ 200 ลิตร) ฉีดพ่นทางใบ หลังจากที่เกษตรกรได้ราดสารทางดินไปแล้ว 3 วัน จากนั้นให้ใช้สารในอัตราส่วนเท่าเดิม เพื่อที่จะทำการฉีดพ่นทางใบอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้พ่นสารทางใบไปแล้วในครัึ้งแรก โดยมีระยะห่างกัน 7 วัน

ข้อควรคำนึง

ควรสวมชุดเสื้อผ้าให้มิดชิด ควรมีหน้ากาก แว่นตา แ่ละสวมถุงมือทุกๆ ครั้งในการพ่นยาทุกประเภท

การพ่นสารต้องเน้นพ่นใต้ใบลำไย เพราะปากใบอยู่ใต้ใบลำไย

การราดสาร และการพ่นสารต้องกระทำในวันฟ้าเปิด มีแสงแดดจัด มีลมพัดเบาๆ พอสมควร จะช่วยให้เกิดการถ่ายเทอากาศได้ดี

และพื้นดินควรชุ่มชื้น แต่ไม่ถึงกับเฉอะแฉะ น้ำท่วมขัง

อย่างไรก็ตาม วิธีการราด และพ่นสารทางใบในอัตราส่วนผสมนี้ จะะต้องใช้ทั้งการราดสารทางดิน และพ่นทางใบ ควบคู่กัน...ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท