ลำไยนอกฤดู : เสียงเพลง ทำไมจึงมีผลต่อการพัฒนาการของลำไย


เปิดเพลงเพลงเย็นๆ เบาๆ ต้นไม้จะโตเร็ว และแข็งแรง มีภูมิต้านทานต่อโรคพืชหรือแมลงรบกวน...ค่ะ แต่ถ้าเปิดเพลงร้อนแรง ต้นไม้จะโตช้า ภูมิต้านทานต่อโรคจะลดลง ทำให้ต้นไม้อ่อนแอ มากกว่าต้นไม้ที่ไม่เคยได้ฟังเพลงเลย...ค่ะ

ลำไย : ชุมชนคนสนใจเรื่องลำไย ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

https://www.facebook.com/groups/www.longankipqew/

หรือ

http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/545415/edit

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840

สวัสดี...อีกครั้ง...ค่ะ

          ในบทบันทึกก่อนหน้านี้ ยุ้ยได้เกริ่น เรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนาการของลำไยโดยใช้เสียงเพลงมาแล้ว   คราวนี้ลองมาคุยกันแบบวิชาการกันหน่อย...นะคะ

          ในกระบวนการ "เมทาบอลิซึม"  นอกจากแสงแดด อุณหภูมิ ลม แล้ว "น้ำ" ก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่สำคัญมากในกระบวนการเจริญเติบโตของพืช...ค่ะ เพราะน้ำเป็นส่วนสำคัญในการละลายแร่ธาตุ นำพาธาตุอาหาร และสารอาหาร ที่จำเป็นสำหรับพืช

แล้ว "เสียง" ล่ะ  เกี่ยวข้องอะไรกับการเจริญเติบโตของพืช

          ความถี่ของเสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ หรือความถี่ของเสียงที่เราสร้างขึ้นเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชนั้น  จะมีส่วนในการกระตุ้นความเปลี่ยนแปลงของ "ผลึกของน้ำ" หรือไม่ และจะมีผลอย่างไรกับน้ำในผลึกที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการนำพาธาตุอาหารไปสู่ใบ

          นักวิทยาศาสตร์ด้านน้ำชาวญี่ปุ่นชื่อ ดร.มาซารุ เอะโมโตะ ได้สนใจศึกษาถึงผลของพลังธรรมชาติทั้งพลังธรรมชาติด้านบวก และด้านลบ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าลักษณะต่างๆ ที่มีต่อน้ำ

          เขาได้อาศัยข้อเท็จจริงของธรรมชาติที่ว่า เกร็ดหิมะ (snow flake) แต่ละเกร็ดที่ตกลงมาจากฟ้าเป็นล้านๆ เกร็ดนั้น แต่ละเกร็ดจะไม่มีลวดลายที่ซ้ำกันเลย

และเขาได้ทดลองนำน้ำไปแช่แข็งแล้วถ่ายภาพผลึกของน้ำ  ซึ่งก็พบว่าน้ำจากแหล่งที่ต่างกันจะมีลวดลายของผลึกน้ำที่ไม่เหมือนกัน

          เขาพบว่า ผลึกของน้ำจากธรรมชาติที่แวดล้อมด้วยพลังธรรมชาติด้านบวก เช่น น้ำจากต้นน้ำลำธาร จากบ่อน้ำพุธรรมชาติในวัด หรือหิมะจากยอดเขาสูง ฯลฯ

          หรือน้ำที่ได้รับพลังธรรมชาติด้านบวก เช่น เสียงสวดมนต์ คำพูดเชิงบวก หรือภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ ฯลฯ

          ผลึกที่ได้ จะมีรูปทรงเป็น 6 เหลี่ยม (hexagonal structure) และมีลวดลายสวยงามที่มีความสมมาตรกัน (symmetry)

          คล้ายกับลักษณะและลวดลายของเกร็ดหิมะในธรรมชาติ

          ส่วนน้ำที่สัมผัส หรือแวดล้อมด้วยพลังธรรมชาติด้านลบ เช่น น้ำจากปลายหรือปากแม่น้ำที่ไหลผ่านแหล่งชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรม หรือ น้ำจากบ่อน้ำเสีย ฯลฯ

          หรือที่ได้รับพลังธรรมชาติด้านลบ เช่น เสียงเพลงเฮวีเม็ทเทอล์ คำหยาบคาย หรือภาพน่าเกลียดน่ากลัว ฯลฯ

          จะมีลักษณะไม่เป็นรูปเป็นร่าง ไม่มีรูปทรง หรือมีลวดลายที่ไม่น่าดูนัก

   ภาพ และข้อมูลบางส่วน จาก http://www.nawachione.org/2012/10/29/science-or-not/

           ดังนั้น รูปแบบของผลึกต่างๆ ของน้ำ จะมีส่วนช่วยในการนำพาธาตุอาหารผ่านทางท่อ "ไซเล็ม" ไปยังใบจนกลายเป็นสารอาหารที่ผ่านกระบวนการ "เมทาบอลิซึม" มาแล้วคือ กลายเป็นแป้ง และน้ำตาลผ่านทางท่อ "โพเอ็ม" ไปยัง "ซิงค์" ซึ่งหมายถึง "เซลล์" ของพืช , ไปยังกลุ่มของเซลล์พืชที่เรียกว่า "เนื้อเยื้อ", และไปกลุ่มของเนื้อเยื้อที่ทำหน้าที่เดียวกันที่เราเรียกว่า "อวัยวะ" เช่นดอก หรือผล ฯลฯ...ค่ะ

          การซึมผ่านของน้ำ และแร่ธาตุนั้น  น้ำจะผ่านรากเข้าไปสู่ต้นไม้ได้ ก็โดยอาศัยแรงดันจาก  "แรงดันราก แรงโคฮีชั่น และแรงแอตฮีชั่น"  ซึ่งรูปแบบของผลึกน้ำที่มีความสมดุลย์ จะสามารถยึดเหนี่ยวโมเลกุลของกัน และกันได้ดีกว่า จะทำให้น้ำสามารถนำพาธาตุอาหารไปพร้อมๆ กันได้ในลักษณะที่เป็นระเบียบ รวดเร็ว และได้ปริมาณมากกว่า....ค่ะ

          ดังนั้น หากเราได้ช่วยกระตุ้นน้ำภายในต้นไม้ของเรา ให้น้ำที่มีผลึกที่มีลักษณะสมดุลย์ สามารถนำพาธาตุอาหาร หรือสารอาหารได้ดี ได้ปริมาณ ในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม  ก็จะช่วยให้การพัฒนาของลำไยในแต่ละช่วงนั้น ดีขึ้นได้....ค่ะ

แล้วจะเลือกเพลง หรือเปิดเสียงดังระดับไหนดี...นะ

          เปิดเพลงเพลงเย็นๆ เบาๆ ต้นไม้จะโตเร็ว และแข็งแรง มีภูมิต้านทานต่อโรคพืชหรือแมลงรบกวน...ค่ะ  

          แต่ถ้าเปิดเพลงร้อนแรง ต้นไม้จะโตช้า ภูมิต้านทานต่อโรคจะลดลง ทำให้ต้นไม้อ่อนแอ มากกว่าต้นไม้ที่ไม่เคยได้ฟังเพลงเลย...ค่ะ

          ทั้งนี้เพราะพลังของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในรูปของเสียงเพลง จะไปกระตุ้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างรูปทรงของน้ำภายในต้นไม้  ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพ และการเจริญเติบโตของต้นลำไย...ค่ะ

           ติดตั้งลำโพง กระจายไว้ทั่วๆ สวน เดินไปทางไหน ก็ได้ยินเสียงเพลงในระดับที่ดังเท่าๆ กัน...ค่ะ

น้ำเปลี่ยนโมเลกุลได้อย่างไร...

          ธรรมชาติของน้ำ กับพลังของแม่เหล็กไฟฟ้ารอบๆ ตัว  น้ำจะมีการรวมตัวกันเป็นโครงสร้างของกลุ่มโมเลกุลในขนาดต่างๆ กัน

          ถ้าโมเลกุลของน้ำมีขนาดเล็ก ก็จะทำให้น้ำสามารถเคลื่อนผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ดีขึ้น

แต่หากน้ำได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาก หรือนานเกินไป จะมีโครงสร้างของกลุ่มโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น...ค่ะ 

ยกตัวอย่าง:

          ในน้ำประปาจะจับตัวเป็นกลุ่มละประมาณ 14 โมเลกุล  แต่หากน้ำนั้นได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามากขึ้น น้ำจะมีการจับตัวกลุ่มละประมาณ 30 โมเลกุล ผลที่ได้คือ น้ำจะซึมผ่านเข้าออกผนังเซลล์ได้ยากขึ้น...ค่ะ

           สารอาหารต้องลำเลียงไปโดยอาศัยเกาะไปกับแรงดึงดูดของน้ำ ที่จะส่งไปยังเซลล์ต่างๆ  เมื่อโมเลกุลของน้ำมีขนาดใหญ่ ก็จะส่งผลให้น้ำซึมผ่านเข้าเซลล์ไม่ได้  ทำเซลล์ได้รับสารอาหารไม่เต็มที่ 

          ขณะเดียวกันเซลล์ก็ไม่สามารถลำเลียงของเสียผ่านออกมากับน้ำ เพื่อจะทิ้งภายนอกได้สะดวกเช่นกัน ทำให้เกิดการหมักหมมและเป็นพิษอยู่ภายใน

          ของเสียออกมาไม่ได้ ก็จะทำให้เซลล์อ่อนแอลง และเสื่อมคุณภาพในที่สุด  ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันเชื้อโรคบกพร่อง และเกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ง่ายขึ้น....ค่ะ

          เดือดร้อนต้นไม้ต้องหาวิธีลำเลียงธาตุอาหาร หรือสารอาหารบางส่วนเข้า และออก ด้วยการสลายสารอาหารของต้นไม้เอง เพื่อนำเอามาใช้เป็นพลังงานในการลำเลียงแทน กระบวนการลำเลียงนี้ เราเรียกว่า "การลำเลียงแบบใช้พลังงาน"  (active transport)  ซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะในเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น

          Active Transport  เป็นการลำเลียงสารอาหาร จากบริเวณที่มีความเข้มข้นน้อยไปสู่ความเข้มข้นมาก การขนส่งลักษณะนี้เซลล์ต้องนำพลังงานที่ได้จากการสลายสารอาหารของตนเองมาใช้...ค่ะ

          ไม่มีทุนเปิดเพลง ก็อาศัยร้องเพลง หรือไม่ก็คุยกับต้นไม้ ด้วยถ้อยคำไพเราะๆ กับเขา (ต้นลำไย) บ่อยๆ นะคะ  แล้วจะเห็นความแตกต่างของการพัฒนาการในต้นไม้ของเกษตร...ค่ะ

 

แต่ถ้าหากเกษตรกรได้นำไปทดลองปฏิบัติ    แรกๆ ก็คงต้องทำใจ....นะคะ 

เพราะชาวบ้านที่เขาไม่มีความรู้เรื่องนี้มาก่อน เขาจะเอาไปพูดในหมูบ้านได้ว่า

เราบ้า...ค่ะ

 

เลือกหิ้วเอาวิทยุ เครื่องเสียง ลำโพง....ไปใช้ในสวนลำไย

สบายใจกว่าเยอะ...ค่ะ

หุ..หุ.. หลังจากบทความนี้เผยแพร่ไป 

คงมีเกษตรกรที่ถูกกล่าวหาว่า "บ้า" เพิ่มขึ้น

แหงๆ...เล๊ย

หมายเลขบันทึก: 559338เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2014 12:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2014 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท