ความเป็นเหตุเป็นผลที่น่าฉงน


      เหตุผลก็คือเหตุผล อาศัยทั้งหลักการ ทฤษฎี และความเชื่อ(ความเชื่อมั่น) ถ้าเราบอกว่าเหตุผลของเราน่าเชื่อถือ(นั่นเป็นความเชื่อ เราจะเชื่อก่อนเสมอ) แล้วเราก็จะพยายามอ้างอิงความน่าเชื่อถือนั้น โดยอาศัยหลักการและทฤษฎี ต่างๆ โดยต้องมีคนกล่าวไว้ว่า....เสมอ เราก็อ้างเหตุผลคนอื่นสนับสนุนเหตุผลของตัวเอง เพื่อให้เหตุผลของตัวเองเกิดน้ำหนัก โดยเฉพาะ เหตุผลในงานวิจัย เหตุผลของนักวิชาการ เหตุผลของผู้อาวุโส เหตุผลของผู้ที่เคยประสบความสำเร็จนั้นมาก่อน คำว่าความเป็นเหตุเป็นผลฟังดูแล้วก็ฉงนยังไงๆอยู่ เพราะสำหรับทุกคนแล้วมีเหตุผลเป็นของตัวเองทั้งสิ้น แล้วเราจะใช้อะไรวัดความเป็นเหตุเป็นผลนั้นอีกทีล่ะ ทฤษฎีของนักปราชญ์ คำกล่าวของนักวิชาการ ตำรา หนังสือต่างๆ หรือความเชื่อของเราเอง อะไรกันแน่ที่ชั่งตวงความน่าเชื่อถือนั้นจริงๆ มันก็คงจะอธิบายและหาคำตอบยากพอควรสำหรับเรื่องนี้ มันจึงเกิดคำๆหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า "เสียงข้างมาก" เสียงข้างมากในระบอบประชาะธิปไตยจึงกลายเป็นตัวชี้ขาดการตัดสินใจของเหตุผลที่มีมากมายให้เกิดความเป็นเอกภาพในระบอบการเมืองการปกครอง เพื่อยุติความเป็นเหตุเป็นผลด้วยกติกาสามัญที่ทุกคนยอมรับได้ หากวันใดที่มีใครคนหนึ่งคนใดแหกกฎข้อนี้ขึ้นมา ก็จะกลายเป็นว่า ความเป็นเหตุเป็นผลนั้นได้ถูกขยายความให้เข้าใจไปเองว่า คนนั้นพูดถูก คนนั้นพูดผิด แล้วเราจะเชื่ออะไร ระหว่างเหตุผลของ 1 คน หรือกลุ่มคน กับ เสียงข้างมากที่เกิดจากกติกาที่ตั้งกันไว้ ถ้าจะปล่อยให้คนสักคนใช้เหตุผล ก็คงมีเหตุผลไม่ใช่น้อยที่จะมาอธิบายเล่าได้ทั้งชีวิตก็ไม่จบ ดังนั้น เราควรยุติเหตุผลด้วยกติกาและข้อตกลงของสังคม แต่ถ้ามีคนถามต่อไปอีกว่า...กติกา ก็เป็นเหตุผลของกลุ่มคน แล้วกติกาจะน่าเชื่อถือหรือไม่....คำตอบของคำถามนี้ก็ย้อนกลับไปดูเรื่องเดิมคือ "เสียงข้างมาก"

หมายเลขบันทึก: 558787เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2014 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2014 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)


...“วิจารณ์”….ควรรู้….…....ลึกซึ้งยิ่ง
ในประเด็น……ในสิ่ง…...….ถกถ้อยแถลง
“หน้าที่”………ที่ตน…….....ต้องสำแดง
ปราศจาก….เคลือบแคลง….พวกพ้องใคร

…มั่นคง……เที่ยงตรง………อุเบกขา
ธรรมา………ธงหลัก……….ปักสูงไสว
เล่ห์ลิ้น…….พลิ้วพลิก……..หลีกห่างไกล
ทุกฟาก…….ฝั่งใด…………ยินดีฟัง

....กาลามสูตรย้ำ ไป่.............หูเบา

อคติ โหด โฉด เขลา.............เลือกข้าง

ธรรมปฏิบัติขัดเกลา...............มีสติ

อภัย ยุติธรรมนำอ้าง..............อาจท้าโลกสวรรค์

อาจ ว. กล้า ในคำว่า อาจหาญ; สามารถ; เป็นคําช่วยกริยาบอกความคาดคะเน
หรือใช้แสดงว่าสิ่งหนึ่งใช้แทนอีกสิ่งหนึ่งได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท