ฮักนะเชียงยืน 17


"เตรียมออกเดินทางกันเลย"

หลักกิโลที่สอง

          เราไม่สามารถยืนหยัดอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ เราไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้หากทุนยังน้อยอยู่ ฮักนะเชียงยืนในรุ่นเเรกถ้ามองอีกมิติหนึ่ง จึงเป็นการสร้างทุนขึ้นมาใหม่เพราะเนื่องจากทุนเดิมที่ทีนั้น "ยังไม่เพียงพอที่จะปลูกใจรักษ์บานเกิด" รุ่นเเรกจึงเน้นไปที่ทุนที่มองเห็นว่าสำคัญอย่างยิ่ง คือ "คนในชุมชน" โดยที่เป็นการดึงขิจสำนึกรักษ์บ้านเกิดของเด็กในชุมชนลุกขึ้นมาเปลี่ยนเเปลงชุมชนของตนเองโดยในครั้งนั้นอยู่ในรูปเเบบของกิจกรรมที่ "เน้นย้ำการสร้างความตระหนัก" ให้เกิดในทัศนคติของเด็กทั้งกลุ่มเครือข่ายที่เป็นเด็กมัธยม เเละกลุ่มเยาวชนที่เป็นเด็กประถม ฮักนะเชียงยืนในรุ่นที่หนึ่งได้ดำเนินงานตามเเผนงาน ผ่านพ้นไป ในระยะเวลาปีเศษๆ ผลเกิดขึ้นที่สำคัญของการสร้างทุนของฮักนะเชียงยืนในรุ่นที่หนึ่งนี้เองจึงทำให้เด็กกลุ่มเครือข่ายกลุ่มหนึ่ง มีเเนวคิดที่จะรักษ์บ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ซึ่งถ้ามองในมิติของการสร้างทุนเเล้วนั้น ถือว่าทุนนี้เป็นสิ่งที่สร้างยากพอสมควร เมื่อสร้างได้เเล้วนั้นจะเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่อย่างยิ่ง เพราะคือเด็กในชุมชน สิ่งที่ได้ทำนี้ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า สิ่งที่ฮักนะเชียงยืนรุ่นที่หนึ่งถือว่าพัฒนาเเล้วบังเกิดผลเป็นเหมือน "ต้นกล้าเล็กๆ ที่พร้อมเจริญเติบโต" 

         จากที่ฮักนะเชียงยืนรุ่นเเรกมีสมาชิกเเกนนำทั้งหมด ๑๐ คน พอมาถึงรุ่นที่สองก็ได้ ๑๐ คนเช่นเดียวกัน  เป้าที่ฮักนะเชียงยืนรุ่นที่หนึ่งมอง คือ ชาวบ้านลดการใช้สารเคมีในการเกษตร ฮักนะเชียงยืนรุ่นที่ ๒ ได้ปรับเป้าหมายนั้นให้มีความเหมาะสมกับศักยภาพของตนเองมากยิ่งขึ้นโดยมองเป้าหมาย คือ ชาวบ้าน ๓๐ ครัวเรือนลดการใช้สารเคมีลง การระดมสมองของฮักนะเชียงยืนรุ่นที่ ๒ เกิดทุกขณะที่นัดมาพบคุยงานกัน ประเด็นหลักๆที่ได้คุยกันส่วนใหญ่เป็นเรื่องของโมเดลการทำงาน พอได้พูดคุยไปเรื่อยๆเเล้วนั้น เห็นข้อสังเกตุได้อย่างชัดเจนว่า "เด็กในชุมชนเป็นทุนที่สำคัญจริงๆ" เพราะด้วยน้องในชุมชนมีข้อคิดเห็น เเล้วเป็นคนที่รู้เรื่องบริบทของชุมชนเป็นอย่างดี ทำให้ง่ายต่อการทำกิจกรรมต่างอย่าง "พอดี" 

         เด็กๆฮักนะเชียงยืนในรุ่นที่ ๒ นี้ที่มีทุนที่ "พอดี" ทำให้งานง่ายขึ้น ด้วยการมีทุนที่สำคัญ ฮักนะเชียงยืนในรุ่นนี้มีสมาชิกทั้งหมดประมาณ ๑๐ คนด้วยกันซึ่งมีประมาณ 3 คนที่เป็นเด็กนอกชุมชน ซึ่งเด็กเเต่ละคนนี้จะมีความถนัดที่ไม่เหมือนกัน บางคนชอบพูด บางคนชอบอ่านนิยาย บางคนชอบเอาใจใส่เพื่อนๆ ฯ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลก็เป็นฮักนะเชียงยืนเช่นเดียวกัน เนื่องจากฮักนะเชียงยืนรุ่นที่สองนี้ในระยะเเรกๆมีการปรับเเผนงานกันอยู่ทุกขณะเพื่อความเหมาะสมลงตัว เหมาะสมกับชุมชน เเละเหมาะสมกับตัวเรา โดยที่เป็นการคุยกันในช่วงเวลาว่างตอนพักเที่ยง เเละเวลาเลิกเรียน เมื่อสร้างเป็นโมเดลขึ้นมาได้ในระยะหนึ่ง จำต้องมีการเข้าร่วมค่ายพัฒนาโครงการที่ทางมูลนิธิกองทุนไทยได้จัดขึ้น ซึ่งค่ายนี้เป็นค่ายที่เเกนนำฮักนะเชียงยืนจำนวน ๓ คนเเละพี่เลี้ยงเข้าร่วมเพื่อเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันเเละกัน

ค่ายเเรกของฮักนะเชียงยืนรุ่น ๒ ในปลูกในรักษ์โลก

         ออกเดินทางสู่ค่ายการเรียนรู้สู่การพัฒนาโครงการ ของมูลนิธิกองทุนไทยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 – 26 ตุลาคม 2556 ที่วีเทรนอินเตอร์เนชั่นแนลเฮาส์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งล้อรถเลื่อนจากมหาสารคามเป็นเวลา 22 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันกีฬาสีวันสุดท้ายซึ่งเป็นวันที่โรงเรียนเลิกช้าเพราะต้องประกาศผลรางวัลทางกีฬาต่างๆนานาโดยที่ล้อรถเลื่อนเวลาประมาณ 3 ทุ่มทุกคนมากันพร้อม “เพราะมีใจ” ต่อการตรงเวลาของการร่วมกิจกรรมกับค่ายปลูกใจรักษ์โลกเป็นครั้งแรก   “ข้าพเจ้าถามเขาว่า  เขารู้สึกอย่าไร  เขาตอบว่ารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งในครั้งแรกที่ได้มาแล้วรู้สึกกลัวๆนิดๆในการเข้าร่วมกิจกรรม” เนื่องเพราะเด็กบางคนมีความคิดมุมมองตัวเองดีมากแต่เขามีกลัวที่จะแสดงมุมมองนั้นไป เดินทางมาถึงวีเทรนเวลาประมาณตี 4 เศษๆ แล้วทุกคนเข้าห้องพักเพื่อพักผ่อน...จวบจนเช้าของวันรุ่งขึ้นที่เป็นวันแรกของกิจกรรมน้องๆมีความตื่นเต้นต่างๆนานาในครั้งแรกของตนเอง แต่เมื่อได้เข้าสู่กระบวนการของโครงการปลูกใจรักษ์โลก ความรู้สึกกลัวต่างๆนานาเหล่านั้นกลับลดทอนลงไปเรื่อยๆทำให้ความกล้าผุดขึ้นมาเรื่อยๆ เขามีความกล้าพูดกล้าแสดงออกมากขึ้นซึ่งจากเวทีนี้เองที่ทำให้ข้าพเจ้าพบว่า เกมส์ ซึ่งเป็นประธานกลุ่มฮักนะเชียงยืนรุ่นที่สอง มีความคิดที่พอเพียงพอสมควรแล้วมีความกล้าแสดงออกพอสมควร  โดยคำพูดต่างๆที่พูดออกมาผ่านโสตวิญาณของพี่เลี้ยงฝึกหัดจึงสามารถสังเกตได้ซึ่งลักษณะเฉพาะตัวและความสามารถเฉพาะตัวของแต่ละคนสามารถนำมาเป็นแนวทางการดำเนินงานได้อย่างมีการปูพื้นฐานนั้นมาก่อนแล้วผ่านการสั่งสมจากภายในและภายนอก...

        ความคิดของแกนนำแต่ละคนสะท้อนมุมของตนเองออกมาได้อย่างดี  สะท้อนการวางทิศทางของงานได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เนื่องเพราะการได้คุยงานกันก่อนจะทำให้ทุกคนมองเห็นภาพของงานแล้ววิเคราะห์งานได้อย่างเหมาะสมกับปัญหาแล้วมีการยอมรับและสรุปทิศทางของงานเป็นแนวทางเดียวกัน

         เครื่องมือการคิดต่างๆที่ถูกปรับปรุงทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์แล้วผลจากการพูดคุยงานกันก่อนทำให้สามารถดึงแนวทางของการทำงานได้ค่อยข้างรวดเร็ว แล้วได้ตั้งเป้าหมายของการดำเนินงานแล้วทิศทางของการดำเนินงาน  “สามารถเก็บตก”  งานของรุ่นพี่ขึ้นมาพัฒนาต่อเกิดกลายเป็นวงจรที่ไม่สิ้นสุด...

          หลังจากกลับมาจากการเข้าร่วมค่ายพัฒนาโครงการแล้วต้องมีการพูดคุยกันอีกครั้งหนึ่งเพราะการพูดคุยนั้นสำคัญอย่างยิ่งจึงก่อเกิดเป็นอีกค่ายกิจกรรมเล็กๆ ณ อาศรมพอเพียงอีกครั้งโดยเป็นการถ่ายทอดเครื่องมือให้กับสมาชิกในกลุ่มทุกคนให้ได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างมีส่วนร่วมแล้วยังเป็นการวางทิศทางของงานร่วมกันโดยเครื่องมือต่างๆนานาที่มูลนิธิกองทุนไทยได้ให้หลักคิดมานั้นจะถ่ายทอดให้สมาชิกในกลุ่มทั้งหมด โดยให้กลุ่มลองวิเคราะห์กันอีกครั้ง ทบทวนในสิ่งที่จะทำอยู่เรื่อยๆ เรื่อยๆ น้องก็มีการพูดคุยกัน ซึ่งในอีกด้านหนึ่งพี่เลี้ยงซึ่งเป็นฮักนะเชียงยืนรุ่นที่ ๑ เเละครุก็คอยหาทุนมาคอยเสริมให้งานนี้ออกผลมาได้ เน้นย้ำให้ได้คุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยทุนที่เข้ามาใหม่ๆ คือ การละคร เเละ ศิลปะ ซึ่งนำทั้งสองสิ่งนี้มาใช้ในงานที่ทำ โดยปรับเข้ากับเเผนงาน ทำให้แผนงานมีความยืดหยุ่นอยู่ตลอดเวลา โดยไม่ยึดติดกับรูปเเบบจนเกินไป

         หลังจากที่ได้หยุดพักสักพักหนึ่งในหลักกิโลเเรก ก็ถึงเวลาที่จะเดินทางต่อไปในหลักกิโลที่สอง เดินไปกับเด็กๆ เดินไปกับครู เดินไปกับชุมชน ฯ "เตรียมออกเดินทางกันเลย"... 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 558579เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2014 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มกราคม 2014 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท