วิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษา : นักเรียนหญิงกับฟิสิกส์


โดย แบร์รี เบิร์นเดส (Barry Berndes) ครูวิชาฟิสิกส์ จากโรงเรียนลาตีเมอร์ในเอ็ดมินตัน

นวัตกรรมที่ใช้ แบร์รี่เชื่อว่า นักเรียนหญิงในชั้นเรียนของเขา เรียนฟิสิกส์เก่งเท่านักเรียนชาย เขาสาธิตวิธีการสร้างแรงกระตุ้นให้นักเรียนหญิงเข้ามีส่วนร่วมด้วยกฏทอง 5 ประการ

  1. Make it relevant (ทำให้นักเรียนเห็นว่าสำคัญ เพื่อจะได้เห็นประโยชน์ในการเรียน)

2. Be a matchmaker (เป็นนักจับคู่ จัดกลุ่มนักเรียนอย่างที่ต้องการ)  

3. Ideas are king (ความคิดเป็นเรื่องสำคัญที่สุด รับฟังแนวคิดจากนักเรียน)

4. Know the student (เข้าใจนักเรียน)

5. Passion is important (ความชอบเป็นเรื่องสำคัญ)

สำหรับนักเรียนหญิงในวิชาฟิสิกส์ โดยมี มาร์ติน ฮอลลินส์จากสถาบันฟิสิกส์เข้าสังเกตการเรียนวิชานี้ด้วยความสนใจว่ากฏดังกล่าวได้ผลเพียงไร

ส่วนประกอบของนวัตกรรม ครูที่ชอบวิชาที่ตัวเองสอน จะทำให้นักเรียนกระตือรือร้น ถึงแม้ว่ากฎนี้จะไม่เฉพาะเจาะจง สำหรับนักเรียนหญิงเท่านั้น แต่กฎนี้จะช่วยให้นักเรียนหญิงสนใจวิชาที่ผู้ชายมักจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น บทเรียนของแบร์รีเน้นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อรถยนต์เบรกจนถึงจอดนิ่ง เขาเริ่มต้นได้ดีด้วยการสร้างหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนทุกคนและจัดกลุ่มการทำงานแบ่งนักเรียนชายและหญิง แบร์รีกระตุ้นให้นักเรียนคิด เขารู้จุดแข็งและจุดอ่อนของเด็ก ๆ และทำให้แน่ใจว่าทุกคนมีส่วนร่วม เขาอธิบายวิธีทำการทดลองเพื่อวัดอัตราความเร็วในการเคลื่อนที่และระยะเบรกของรถ นักเรียนชายและหญิงมีวิธีการทำงานต่างกันแต่ได้ผลลัพธ์ที่ดีในการทดสอบการคาดคะเนของพวกเขา ความหลงใหลในวิชานี้ของแบร์รีทำให้บรรยากาศในห้องเรียนเต็มไปด้วยความกระตือรือร้น เห็นชัดว่าทุกคนสนุกกับการเรียนรู้โดยใช้กฎทอง 5 ประการได้ผลดีทีเดียว

การนำไปใช้ สำหรับการจัดชั้นเรียนแบบนี้จะเป็นมีการปรับเปลี่ยนตลอดเพื่อให้เข้ากับนักเรียน ทั้งทางด้านความรู้ ความชอบ ความกระตือรือร้น และพื้นฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเรียน บทเรียนทุกบทเรียนไม่มีความสมบูรณ์ในตัวของมัน จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาตลอด สำหรับการจัดชั้นเรียนนี้สามารถนี้ไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกวิชา ทุกระดับ โดยครูจะต้องเข้าใจในตัวของผู้เรียนและความต้องการของผู้เรียนด้วยเช่นกัน

 

 

ที่มา :

VDO โทรทัศน์ครู : http://iptv-lms.uni.net.th/es_iptv/view.php?video_id=18901&LANGUAGE&u

หมายเลขบันทึก: 558449เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2014 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2014 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท