วิจารณ์การเขียนถึง "แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" (๓)


อ่านตอนที่ และ ก่อนจะเห็นภาพรวมครับ...

บันทึกนี้จะวิจารณ์การเขียนแบบคัดกรองในส่วนของการแบ่งหัวข้อตามเกณฑ์ก้าวหน้า คือ ตามเกณฑ์ด้านอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้..

แน่นอนครับ.....ก่อนอื่นต้องพิจารณาเกณฑ์ก้าวหน้า ๕ ระดับให้เข้าใจเสียก่อน

ระดับที่ ๑
มีแหล่งเรียนรู้ หรือฐานเรียนรู้ หรือกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงภายใน และ/หรือภายนอกสถานศึกษาที่สอดคล้องกับภูมิสังคมของสถานศึกษาและมีการจัดการอย่างพอเพียง

ระดับที่ ๒
- ตามระดับ ๑ และ
- มีสื่อประกอบการเรียนรู้ประจำแหล่ง/ฐาน/กิจกรรมการเรียนรู้ ปศพพ. ที่สามารถสื่อความได้ถูกต้อง

ระดับที่ ๓
- ตามระดับ ๒ และ
- มีวิทยากรรับผิดชอบฐานการเรียนรู้ ปศพพ.ที่สามารถอธิบายความได้อย่างถูกต้องชัดเจน และ
- มีแผนการจัดการเรียนรู้ของแหล่ง/ฐาน/กิจกรรมการเรียนรู้ ปศพพ. ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน

ระดับที่ ๔
- ตามระดับ ๓ และ
- บุคลากรในสถานศึกษาสามารถเป็นวิทยากรอธิบายการใช้ประโยชน์จากแหล่ง/ฐาน/กิจกรรมการเรียนรู้ ปศพพ. ในการเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน

ระดับที่ ๕
- ตามระดับ ๔ และ
- มีการประเมินผลการใช้แหล่ง/ฐาน/กิจกรรมการเรียนรู้ ปศพพ. อย่างเป็นรูปธรรม และ
- มีการพัฒนาแหล่ง/ฐาน/กิจกรรมการเรียนรู้ ปศพพ. อย่างต่อเนื่อง

หากย่อเอาเฉพาะข้อความตัวหนังสือสีแดงที่เป็นเกณฑ์เชิงปริมาณ และตัวสีน้ำเงินที่เป็นเกณ์เชิงคุณภาพ จะได้เกณฑ์ก้าวหน้าที่สั้นกว่าเดิมคือ (หากตัวอักษรไม่ปรากฎสี ท่านสามารถไปอ่านต่อได้ที่นี่ครับ )


- มีแหล่งเรียนรู้ หรือฐานเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับภูมิสังคมและมีการจัดการอย่างพอเพียง
- มีสื่อประกอบที่สามารถสื่อความได้ถูกต้อง
- มีวิทยากรรับผิดชอบที่สามารถอธิบายความได้อย่างถูกต้องชัดเจน
- มีแผนการจัดการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
- บุคลากรเป็นวิทยากรอธิบายการใช้ประโยชน์ด้อย่างถูกต้องและชัดเจน
- มีการประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรม
- มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น เราควรจะเขียนนำเสนอแหล่งเรียนรู้/ฐานการเรียนรู้ที่มีอยู่ให้ผู้อ่านได้เห็นทุกอย่างที่เป็นตัวสีแดง และอ่านแล้วรู้สึกแบบตัวหนังสือสีน้ำเงิน....

 ๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙

มาดูตัวอย่างของโรงเรียนแห่งหนึ่งดีไหมครับ...

๕.๑  ความพร้อมของอาคารสถานที่ที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

      ครู  นักเรียน  ร่วมกันดูแลรักษาอาคารสถานที่เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ  ตามสายชั้นโดยมีครูประจำชั้นเป็นครูนักพัฒนา  นักเรียนมีหน้าที่ดูแลความสะอาดตามบริเวณของตนเองโดยเรียกพื้นที่รับผิดชอบว่า  “เขตพัฒนา”  ตั้งชื่อแต่ละเขตตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียน  เช่น  เขตพัฒนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่    ชื่อเขตพัฒนา  “มีวินัย”  เขตพัฒนาของชั้นมัธยมศึกษาปีที่    ชื่อเขตพัฒนา  “ใฝ่เรียนรู้”  เป็นต้น  ในส่วนของการทาสีอาคารให้ดูสวยงามได้รับการสนับสนุนจาก  บริษัท  ทีโอเอ  ประเทศไทย  จำกัด  อนุเคราะห์บริจาคสีให้กับทางโรงเรียน  จำนวน  ๔๐  ถัง  ผู้ปกครองและผู้นำหมู่บ้านช่วยกันสละเวลาทาสีอาคารจนน่าอยู่  น่าดู  น่าเรียน  เหมาะสำหรับการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดอุปนิสัย  “พอเพียง”

 

๕.๒  มีแหล่งเรียนรู้หลากหลายเพื่อสร้างเสริมอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงอย่างเหมาะสมและเพียงพอกับจำนวน

นักเรียน

                    โรงเรียนมีห้องนิทรรศการพอเพียงเก็บรวบรวมเอกสารการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบและวิธีการต่างๆ  ตั้งแต่เริ่มขับเคลื่อนจนถึงปัจจุบัน  หลักสูตรสถานศึกษา/แผนการศึกษาบูรณาการหลัก  ปศพพ.  ผลงานครู  ผลงานนักเรียน  เช่น  การถอดบทเรียน  ประมวลภาพกิจกรรมการดำเนินงานของแหล่งเรียนรู้แต่ละแห่ง    หนังสือวารสารต่างๆ  ตลอดจนพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อให้นักเรียนและหน่วยงานอื่นที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษามองเห็นภาพและเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น  แหล่งเรียนรู้มีความหลากหลายและเชื่อมโยงกัน  จัดออกเป็นสัดส่วนร่มรื่นสวยงาม  เหมาะสมกับการเรียนรู้  หมุนเวียนไปทีละแหล่งเรียนรู้  มีแผนผังแสดงตำแหน่งที่ตั้งของแหล่งเรียนรู้เพื่อให้สะดวกต่อการเยี่ยมชม  โดยมีนักเรียนแกนนำคอยช่วยเหลือและถ่ายทอดความรู้
     
๕.๓  สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 
      บริเวณโรงเรียนเต็มไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่นานาพันธ์  ทั้งต้นไม้ที่หาได้ยากและอายุหลายสิบปี  เช่น  ต้นคูณ  ต้นพิกุล  ต้นมะม่วง  เกิดร่มไม้ที่กว้างใหญ่ร่มรื่นเย็นสบายเหมาะกับการจัดกิจกรรมการขับเคลื่อน  ปศพพ.  รวมถึงจิตใจอันดีงามของนักเรียนที่รักความสะอาด  รักโรงเรียนเหมือนบ้านตนเองร่วมกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้สะอาดอยู่เสมอ  บริเวณอาคารเรียนประดับด้วยสวนหย่อมเล็กๆ  ใช้ต้นทุนแบบพอเพียงจัดให้สวยงาม  เพื่อให้ผู้เรียนได้ซึมซับความสวยงามของธรรมชาติ  มีสมาธิและพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา  ซึ่งวัสดุตกแต่งส่วนหย่อมบางอย่างได้รับการสนับสนุนจากชุมชน  เช่น  ต้นชวนชม  และพันธ์ไม้หายากเช่น  ต้นยางนา  ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์เพาะพันธ์กล้าไม้ชัยภูมิ

 
 คำวิจารณ์

  • ข้อ ๕.๑ เขียนไม่ตรงประเด็นครับ ส่วนต้นของย่อหน้าน่าจะไปอยู่ในหัวข้อของแนวทางการขับเคลื่อน ปศพพ.  ส่วนหลังของย่อหน้าน่าจะไปอยู่ในหัวข้อเรื่องความสัมพันธ์กับชุมชน 
  • ข้อ ๕.๒ เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ ที่มีห้องแสดงนิทรรศการการขับเคลื่อน ปศพพ. ของโรงเรียน ที่เมื่อผู้มาศึกษาดูงานจะได้เรียนรู้ "ภาพรวม" และเห็น "ผลงาน" ของการขับเคลื่อน ก่อนจะได้เข้าชมแต่ละฐานฯ/กิจกรรม.... แต่ควรจะเขียนให้ตรงประเด็นว่า "มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและพอเพียง" 
  • คำว่า "หลากหลาย" น่าจะหมายถึง "ครอบคลุม" ด้านต่างๆ ในการขับเคลื่อน เช่น ด้านวิชาการหรือการจัดการเรียนการสอนซึ่งต้องครอบคลุมกลุ่มสาระการเรียนรู้ ด้านทักษะชีวิตหรือการจัดกิจกรรมเสริม และด้านการปลูกฝังคุณธรรม 
  • คำว่า "พอเพียง" น่าจะหมายถึง พอเพียงต่อจำนวนของนักเรียน เหมาะสมกับจำนวนบุคลากรและงบประมาณของโรงเรียน 
  • ข้อ ๕.๓  เขียนได้เห็น "ภาพ" ดีครับ .... แต่ก็ยังไม่ตรงประเด็นเหมือนเดิม ไม่เห็น "เหตุและผล" ของ "ภาพ" นั้น "เอื้อ" ต่อการปลูปฝังอุปนิสัยพอเพียงอย่างไร 

 ๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙

ผมฟังมาว่า บางโรงเรียนมีการนำข้อความที่เขียนไว้ในเกณฑ์ก้าวหน้ามาเขียน เช่น

โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ หรือฐานเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับภูมิสังคมและมีการจัดการอย่างพอเพียง มีสื่อประกอบที่สามารถสื่อความได้ถูกต้อง มีวิทยากรรับผิดชอบที่สามารถอธิบายความได้อย่างถูกต้องชัดเจน  มีแผนการจัดการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน บุคลากรเป็นวิทยากรอธิบายการใช้ประโยชน์ด้อย่างถูกต้องและชัดเจน มีการประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรม และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ผมเรียกการเขียนแบบนี้ว่า "เขียนทวนเกณฑ์"  และกรรมการคัดกรองได้มีข้อความเห็นแล้วว่าไม่เขียนในลักษณะดังกล่าว ต้องเขียนให้เห็นข้อมูล วิธีคิด วิธีทำ และผลลัพธ์ ดังที่ได้กล่าวถึงแล้วในบันทึกที่ผ่านมา 

สุดท้าย อย่าลืมนะครับว่า นี่เป็นเพียงความเห็นของผมเท่านั้น อย่าได้เชื่อก่อนจะใช้พิจารณาญาณของท่าน และที่สำคัญที่สุดคือ ต้องเขียนเฉพาะ "ความจริง" .....ถึงจะมั่นใจได้ว่าได้เขียนอย่างพอเพียง

๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๖
อ.ต๋อย
 

หมายเลขบันทึก: 557669เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2013 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ธันวาคม 2013 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท