วิจารณ์การเขียนถึง "แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" (๒)


อ่านบันทึก (๑) ที่นี่ครับ

มาพิจารณาการเขียนเกี่ยวกับ "แหล่งเรียนรู้ตามหลัก ปศพพ." ในส่วนที่ "แนวทางการขับเคลื่อน ปศพพ. ฯ "

ผมเสนอว่า ควรเขียนแบบที่อ่านแล้ว ให้รู้เองว่า

  • ทำไมต้องสร้างฐานการเรียนรู้หรือเลือกแหล่งเรียนรู้เหล่านั้น บอกเหตุผลในการสร้างหรือพัฒนาแหล่งเรียนรู้นั้น 
  • บอกแนวทางการใช้ฐานหรือแหล่งเรียนรู้นั้นๆ และบอกด้วยว่าแนวทางนั้นๆ จะก่อให้เกิดผลลัพธ์หรือประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างไร 
  • บอกความเชื่อมโยงระหว่างฐานการเรียนรู้ที่มีอยู่ หรือความเชื่อมโยงระหว่างฐานการเรียนรู้กับกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ หรือควมเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระวิชา ให้ชัดเจนขึ้น
  • เขียนให้เห็นความ "คุณค่า" ของฐานฯ หรือแหล่งนั้น และ เห็นความ "คุ้มค่า" ของการใช้ 


ลองมาดูตัวอย่างจากโรงเรียนแห่งหนึ่งครับ โรงเรียนเขียนในส่วนของข้อมูลทั่วไปว่า มีฐานการเรียนรู้เครื่องตะบันน้ำ แปลงผักปลอดสารพิษ เพาะเห็ด บ่อปลา บ่อกบ หมูป่า ธนาคารออมทรัพย์ ธนาคารขยะ และห้องจัดแสดงผลการขับเคลื่อน ปศพพ.

           ....จากสภาพแวดล้อมและบริบทที่พร้อมรับการประเมินเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งโรงเรียนxxxxxxxxxxxxxใช้หลัก  “ต้นทุนเดิม”  ในการดำเนินงานด้านแหล่งเรียนรู้บูรณาการให้แหล่งเรียนรู้มีความเชื่อมโยงกัน  โดยเริ่มจาก  “แหล่งเรียนรู้เครื่องสูบน้ำพลังงานสะอาด”  สูบน้ำจากฝายน้ำล้นมาใช้ใน  “แหล่งเรียนรู้โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน”  ใช้น้ำรดผักสวนครัว  การเพาะเห็ดฟาง  การเลี้ยงปลาช่อน  การเลี้ยงกบ  การเลี้ยงหมูป่า  และที่เป็นโครงงานงานเด่นที่สุดคือการปลูกมะนาวแบบครบวงจร  เริ่มจากการตอนกิ่งพันธุ์มะนาว  การปลูกมะนาวขายผลผลิต  ตลอดจนนำมะนาวไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า  ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งจะเป็นรายได้ของนักเรียนเพื่อนำไปเก็บออมที่  “แหล่งเรียนรู้ธนาคารออมทรัพย์เยาวชน”  โดยครูและนักเรียนทุกคนจะมีบัญชีเงินฝาก  ตลอดจนผู้ปกครองที่สนใจ  และ  “แหล่งเรียนรู้ธนาคารขยะรีไซเคิล”  ที่มุ่งส่งเสริมนักเรียนให้รู้จักการเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือใช้และการหารายได้จากขยะที่ไม่ใช้แล้ว  ซึ่งเป็นการสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง......


คำวิจารณ์

  • เห็นความเชื่อมโยงระหว่างฐานการเรียนรู้ชัดมากครับ
  • ดีที่บอกว่าใช้หลักอะไรในการคิดและทำ คือบอกว่าใช้หลัก "ตุ้นทุนเดิม" ในการจัดการแหล่งเรียนรู้..... แต่ไม่ได้ขยายความว่า ต้นทุนเดิมคืออะไร เลยทำให้อ่านแล้วเหมือนมีอะไรหายไป ....ซึ่งตรงนี้น่าจะเป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่งในการออกแบบฐาน/แหล่งเรียนรู้
  • แม้จะเห็นเป้าหมายและการเชื่อมโยงของฐานฯ ชัด แต่ยังไม่เห็นแนวทางการใช้ฐานในการปลูกฝังอุปนิสัยพอเพียงให้นักเรียน ไม่ทราบว่า นักเรียนระดับใดจะได้ใช้ฐานได้อย่างไรเมื่อไหร่ เพราะอะไร ..... 
  • เห็นมิติของ "ผลผลิต" "เงินตรา" คือเห็นมิติทาง "วัตถุ/เศรษฐกิจ" ชัด แต่ไม่เห็นมิติของการใช้ฐานฯ ในด้านการปลูกฝังจิตสำนึกด้าน สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม.....
  • เห็นมิติของความ "คุ้มค่า" ครับ จะให้ดีควรเขียนให้เห็นมิติ "คุณค่า" ที่เป็นนามธรรมด้วยครับ เช่น .... การฝึกให้นักเรียนรักและภูมิใจในท้องถิ่นผ่่านการเรียนรู้วิธีชีวิตของชุมชนผ่านฐานต่างๆ .... เป็นต้น 

 
 ๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙

นี่เป็นเพียงความเห็นครับ .... โปรดอย่าเชื่อก่อนการใช้ พิจารณาญาณของท่านนะครับ

๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๖
อ.ต๋อย

หมายเลขบันทึก: 557645เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2013 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ธันวาคม 2013 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท