"วัยกล้วยไม้ ช่วยวัยต้นกล้า"


                                                    "ข้อดีครอบครัวแบบเดิม"

                สังคมชนบท ยังพอมองเห็นโครงสร้างระบบแบบเดิมอยู่บ้าง นั่นคือ "ครอบครัวรั้วรอบ" ที่ประกอบด้วย ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อแม่ ลูก หลาน ที่เกื้อกูล ช่วยเหลือกันในครอบครัว และเป็นพื้นฐานที่ในสร้างความมั่นคงในด้านการแสดงออก เนื่องจาก มีระดับชั้นของสมาชิก ที่คอยสอดส่องดูแลกัน เป็นรั้วรอบ มีกรอบประพฤติ ให้แสดงออกในทางที่ถูกต้องเหมาะสม เหมือนสังคมพังพอน

                เมื่อกล่าวโดยภาพรวมย่อลงได้ ๒ กลุ่มคือ ๑) กลุ่มผู้ใหญ่ ๒) กลุ่มเด็ก กลุ่มแรก เป็นกลุ่มที่มีประสบการณ์โลกหรือชีวิตมา จนสามารถอยู่รอดมาได้ จึงกลายเป็นผู้รู้โลกและชีวิตดีกว่าเด็กๆ จึงรู้พฤติกรรมว่า อะไรควรทำ หรือไม่ควรทำ แล้วบอกสอนลูกหลานตนเอง ประสบการณ์ของวัยผู้ใหญ่ (ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่) มีคุณลักษณ์ที่จะเป็นกรอบให้ลูกหลานได้ปฏิบัติตาม มีลักษณะดังนี้

            ๑) มีประสบการณ์  (Experiece) คือ ความรู้ด้านข้อมูล บทเรียน เหตุ-ผล เป็นผลิตผลที่ได้จากการกระทำมาก่อน จึงรู้ทางผิด ทางพลาด ทางเหมาะสม ทางที่ดี เพื่อจะช่วยให้เป็นแบบอย่างของลูกหลาน เป็นเสมือนครูที่ดี ที่จะบอกสอนศิษย์ให้แสดงออกในทางที่ถูกต้องเหมาะสม

            ๒) มีกายภาพที่แปรผัน  (Change) คือ ความเสื่อมของร่างกาย ซึ่งเป็นเครื่องเตือนลูกหลาน ให้เห็นว่า ร่างกายเมื่อชราภาพมา ย่อมมีอาการเหมือนปู่ย่า ตายาย ที่แสดงออกอยู่นี้ เป็นการสอนให้ลูกหลานได้รู้้จักเส้นทางชีวิต เป็นกฏตายตัว เพื่อมิให้ลูกหลานประมาทในชีวิต หรือให้รู้จักการวางแผนชีวิตในระยะยาวและมั่นคง ให้ลูกหลานเตรียมตัว และได้จดจำภาพวิถีชีวิตเหมือนเช่นนี้ สอนตนเองในอนาคต

            ๓) เอกกาล  (Pass away) คือ มีเส้นทางไปแบบเดียวกับปู่ย่า ตายาย ไม่ว่าใครจะชอบ ไม่ชอบก็ล้วนดำเนินไปตามกาลเวลา ตามเงื่อนไขของสังขารร่างกายตน ไม่มีทางอื่น ไม่มีทางสอง มีทางเดียวเท่านั้น ลูกหลานเองก็มีอนาคตหรือเป้าหมายเช่นเดียวกันกับปู่ย่า ตายายเหมือนกัน

            ๔) เป็นพระอรหันต์  (Parenthood) คือ เป็นผู้จิตใจที่ดีต่อลูกหลาน โดยสัญชาตญาณ หรือสายเลือด ย่อมแสดงความรัก ความเมตตาต่อลูกหลานของตน ทำตัวเหมือนเป็นพระโพธิสัตว์ที่คอยดูแล อบรม สั่งสอน ชี้ทางที่ถูก ที่ต้องให้ ความรัก ความเมตตา ความเอาใจใส่คือ เกราะป้องกันทางจิตวิญญาณของเด็กให้เจริญเติบโตในทางที่เหมาะสม เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

            ๕) เป็นที่พึ่ง (Guardian) คือ ผู้ใหญ่เป็นที่พึ่งที่อาศัยของลูกหลานตน ยามหิว ยามต้องการ ยามหวาดกลัว การช่วยเหลือ หรือมอบสิ่งของเครื่องให้ ล้วนต้องอาศัยพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ของตนเป็นผู้ให้ความสนับสนุนทั้งสิ้น การพึ่งพาของของลูกหลาน จะเป็นที่่คุ้มกัน ป้องกันเหมือนเรือนป้องกันแดด ลม ฝน ฉันนั้น

                ดังนั้น สังคมชนบทจึงมีพื้นฐานที่ดีในการเลี้ยงครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นสังคมขั้นปฐมภูมิ ก่อนจะดำเนินชีวิตในสังคมขั้นทุติยภูมิต่อไป ซึ่งถือว่า เป็นการแบ่งเบาภาระในการรับผิดชอบในการสร้างคน ให้มีคุณภาพร่วมกัน

                ส่วนสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะในเมือง มีเส้นทางที่ผิดแผกแตกต่างจากอดีตมาก พื้นฐานครอบครัวเล็กลง จึงเลี้ยงดูลูกตนในกรอบแคบๆ ขาดผู้ใหญ่ช่วยดูแลให้รู้จักว่า อะไรควรแสดงออก ไม่ควรแสดงออกบ้าง จึงทำให้เด็กยุคใหม่ขาดแบบอย่างหรือขาดการอบรมบ่มนิสัยให้อยู่ในกรอบที่ดี จึงทำให้เด็กยุคใหม่ กลายเป็นคนขาดภูมิคุ้มกันภายใน จึงแสดงพฤติกรรม ก้าวร้าว เกเร ตามใจตน อยู่อย่างอิสระ ไม่ทนต่อพฤติกรรมที่ยั่วยุ  ขาดระเบียบวินัย ไม่เคารพกฏหมาย ศีลธรรม ฯ จนกลายเป็นปัญหาสังคมในที่สุด

               สังคมในยุคใหม่ ที่ปรากฏอยู่วันนี้ กลายเป็นปัญหาสังคมระดับชาติ ซึ่งแต่ละครอบครัวสร้างขึ้นมา เพราะมีโครงสร้างครอบครัวแบบเดิมล้มลง ทำให้สังคมแบบใหม่เป็นครอบครัวเชิงเดี่ยว ขาดพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย คอยป้องกัน ดูแล สาเหตุมาจาก การดำรงชีวิตที่ถูกคั้น หลายด้าน ซึ่งสังคมแบบใหม่นี้ ครอบคลุมไปถึงทั้งชนบทและในเมือง ซึ่งพอสรุปได้ ๓ กลุ่มคือ

               ๑) ครอบครัวหัวใหม่ (Single Family) มีลักษณะที่อิสระของตนเอง มีความมั่นใจในตนเอง ไม่ค่อยปรึกษาหารือกับพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ขาดวุฒิภาวะด้านทักษะการดำรงชีวิต การมีคู่ครองในวัยรุ่น จึงเกิดการหย่าร้าง ปัญหาครอบครัว การเลี้ยงดู ส่งให้พ่อแม่เลี้ยงอยู่ในชนบท กลายเป็นปัญหาสังคมตามมา เพราะเป็นครอบครัวเดี่ยว ไม่มีครอบครัวหน่วยใหญ่ ขาดแม่แบบหรือผู้จะคอยชี้นำให้ทำดี ทำถูก ไม่เหมือนอดีตที่เคยเป็นมา

               ๒) ครอบครัวเมือง (Urban Family) เป็นครอบครัวที่อาศัยด้วยตัวเองหรือครอบครัวแบบสังคมเมือง แบบเชิงเดี่ยว ที่พ่อแม่ ทำงาน ลูกเรียน ไม่ค่อยมีเวลาในการอบรมเลี้ยงดูลูกของตนได้เต็มที่ แต่กลับฝากให้เป็นภาระแก่พี่เลี้ยง หรือโรงเรียนเนอสเซอรี ที่พ่อแม่ทำบ่อยๆ คือ ประเคนเงินทองให้ เอาใจลูก ให้รางวัลลูก จนลูกเติบโตด้วยนิสัยใฝ่สุข ใฝ่ง่าย ทนยาก ซึ่งง่ายที่ลื่นไหลไปทางเอาแต่ใจได้

               ๓) ครอบครัวหมู่ (Group Family) เป็นครอบครัวที่อิงธุรกิจหรือทำกิจกรรม การค้า การขายในกลุ่มญาติของตน เป็นกลุ่มที่อาศัยในเมือง เป็นส่วนใหญ่ ทำให้ครอบครัวมีสมาชิกหลากหลาย และเป็นพื้นฐานที่ดี ให้แก่ลูกและหลาน ที่จะเห็นพ่อแม่ ทำงานและช่วยกันทำงาน จนเห็นเป็นแม่แบบที่ดี เห็นตัวอย่างที่จะสานกิจการต่อไปได้

               อนึ่ง ทั้งสังคมชนบทและสังคมเมือง ล้วนเผชิญกับปัญหาสังคมยุคใหม่เหมือนกันคือ การดำรงชีพที่ฝืดเคือง การทำงานหนักขึ้น การดิ้นรนต่อสู้ เพื่อให้ตนเองอยู่รอด ปัญหาอาชญากรรม ฯ รวมลงในเรื่อง เศรษฐกิจ สังคม ค่านิยม พฤติกรรม จนกลายเป็นปัญหาสังคมที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกๆ วัน ทำให้ระบบโครงสร้างทางครอบครัว ค่อยๆกลายเป็นครอบครัวแคบลง จนอยู่ในรูปแบบ "สร้างง่าย หน่ายเร็ว" ยกเว้นที่ครอบครัวพ่อแม่ฐานดี มีความมั่นคง ทำให้ลูก มีพื้นฐานที่ดี เพราะพ่อแม่ ดูแลปกป้องนั่นเอง

               ส่วนกลุ่มเด็กนั้น เป็นกลุ่มใหม่ที่เกิดมายังโลก ที่ต้องได้รับการดูแล เอาใจใส่ เลี้ยงดู ให้รู้จักว่า อะไรควร ไม่ควร อะไรดี ไม่ดี มิฉะนั้น ก็จะกลายเป็นเด็กมีปัญหาให้กับสังคมได้ เด็กเยาวชนที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พอสรุปได้ดังนี้

               ๑) กลุ่มเรียนรู้ คือ กลุ่มใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา หาความรู้ใส่ตน แข่งขัน เพื่อหาสถานที่ศึกษาที่มีชื่อเสียง โดยมีความหวังคือ ได้งาน ได้เงินดี พื้นฐานการคิดแบบมีวิสัยทัศน์นี้มาจากพ่อแม่เป็นผู้วางแผนไว้ให้

              ๒) กลุ่มใฝ่เล่น คือ กลุ่มไม่ชอบเรียน แต่ชอบสนุก ชอบเที่ยว เป็นเด็กที่ขาดโอกาส ขาดความอบอุ่น ซึ่งมักจะกลายเป็นปัญหาสังคมตามมา เนื่องจากขาดความอบอุ่นทางครอบครัว ครอบครัวแตกแยก จนหมดอนาคต จนต้องเรียกร้องด้วยการแสดงออก ทางเวทีสังคมเช่น เด็กแว้น เด็กติดยา ฯ

              ๓) กลุ่มทำงาน คือ กลุ่มที่ไม่ได้เรียน ไม่เล่น แต่ชอบทำงาน ทำมาหากิน ช่วยเหลือครอบครัว เพราะฐานะยากจน ไร้ญาติ ขาดโอกาส อยู่ในถิ่นกันดาน ฯ ทำให้ต้องรับจ้างทำงานหรือค้าขายเพื่อเลี้ยงตนเอง

              ๔) กลุ่มจิตอาสา คือ กลุ่มที่ใจสาธารณะต่อสังคม กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีมุมมองในการแก้ปัญหาสังคมร่วมกัน มีลักษณะเป็นผู้นำ มีความคิด มีระบบการวางแผนที่ดี โดยอาศัยพื้นฐานด้านจิตที่มีคุณธรรม ศีลธรรม ต่อมนุษย์ร่วมกัน

              ดังนั้น  เด็กที่เกิดมาสู่โลกได้ไม่นาน ต้องเรียนรู้จากครูที่มีประสบการณ์ชีวิตโดยตรงนั้นคือ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ในครอบครัวเป็นอันดับแรก จากนัันก็เรียนรู้จากผู้ใหญ่ ผู้นำ ที่ผ่านโลกมานาน ย่อมชี้ทางให้ประพฤติในทางที่ดีได้ ในขณะเดียวกัน คนใกล้ม้วยหรือกล้วยไม้ ก็จะได้สร้างประโยชน์แก่สังคม แก่ลูกหลาน ให้เกิดความดีงาม ในสังคมที่่อุดมด้วยวัฒนธรรมแบบพึ่งพากันและกัน ไม่มีสังคมไหนที่อยู่แบบสังคมเชิงเดี่ยวอย่างสิ้นเชิงจริงๆ นอกจากอยู่คนเดียวในโลกใดโลกหนึ่งเท่านั้น

-----------------<>---------------

หมายเลขบันทึก: 557360เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2013 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ธันวาคม 2013 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณความรู้ดีๆ ชวนให้คิดนะคะ

จิตอาสา......หากหลายๆ คนมี... สังคมจะต้องมีคุณภาพแน่นอนค่ะ

เป็นคนหนึ่งที่เติบโตมาจากครอบครัวแบบเดิม อ่านแล้วมีความรู้สึกว่า ปีใหม่นี้ มีอะไรมาเติมเต็มให้สมอง พอที่จะมองสภาพปัญหาเด็กๆ ออก และเข้าใจพวกเค้าเหล่านั้นมากขึ้น

...เมื่อถึงวัยกล้วยไม้ เหลียวหลังกลับไปมองวัยต้นกล้า...อะไรเกิดขึ้นบ้าง???????...นั้นคือผลงานที่ผู้ใหญ่ทุกคนหรือสังคมได้สร้างไว้...คนรุ่นใหม่ที่ก้าวตามหลังมา...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท