ฉบับที่ ๕ “ดูแลผู้ป่วยหอบหืดและโรคปอด ปลอดจากควันบุหรี่”


 

ฉบับที่ ๕  “ดูแลผู้ป่วยหอบหืดและโรคปอด ปลอดจากควันบุหรี่”

            คุณ บุญญา อักษรชูเขียนเรื่องเล่าส่งมาที่ ศจย.และได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการให้นำเสนอในเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้ ในการประชุมบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 10 วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2554 ที่โรงแรมมิราเคิลแกรด์ จึงจะนำเรื่องของคุณ บุญญา อักษรชูมาเล่าต่อเพื่อเป็นแนวความรู้เกี่ยวกับระบบการดูแลผู้ป่วยและได้เห็นถึงพิษภัยบางส่วนของบุหรี่

 

เรื่องเล่ากระบวนการทำงานแบบสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังปลอดจากควันบุหรี่ ถึงระดับชุมชน

บุญญา อักษรชู [email protected]

คลินิกหอบหืด โรงพยาบาลป่าบอน จ.พัทลุง

            ดิฉันรับผิดชอบงานคลินิกโรคเรื้อรัง มา 2 ปี จากการที่ทำงานในเรื่องการดูแลผู้ป่วยหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างเป็นกระบวนการ ผู้ป่วยหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังของโรงพยาบาลป่าบอนมีจำนวน 135 คน ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่เป็นผู้ชายจำนวน 53 คนหญิง 82 คน และในจำนวนนี้ เป็นผู้ชายที่สูบบุหรี่ จำนวน 30 คน เนื่องจากหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสาเหตุก็มาจากการที่สูบบุหรี่ ดังนั้นการดูแลอย่างเป็นระบบในการที่จะทำให้ผู้ป่วยลดอาการหอบและการดูแลที่ต้นเหตุจึงเป็นสิ่งที่สำคัญจึงได้มีการติดตามไปดูแลถึงความเป็นอยู่ที่บ้านด้วยว่ามีความเป็นอยู่อย่างไรจึงได้มีการติดตามลงไปเยี่ยมบ้านด้วยเพื่อจะทำให้ผู้ป่วยลดอาการหอบได้ ในส่วนตัวของผู้ป่วยหอบหืดเองที่ติดบุหรี่ก็จะส่งไปยังพยาบาลที่บำบัดบุหรี่พร้อมกับการให้คำแนะนำในรูแบบต่างๆ หรือในบางรายเมื่อพยาบาลเยี่ยมบ้านลงไปพบว่ามีการสูบใบต้นชุมเห็ดที่นำมาตากแห้งแล้วนำมามวนด้วยเส้นยาสูบจะทำให้ลดการเป็นริดสีดวงจมูกเหล่านี้พยาบาลเยี่ยมบ้านก็จะส่งข้อมูลมายังคลินิกเพื่อที่จะให้ความรู้เชื่อในสิ่งที่ผิดดังกล่าวได้ ส่วนอีกรายเป็นคุณพ่อที่น่ารักมาก ลูกสาวได้เขียนมาในสมุดนัดหอบหืดโดยที่พ่อไม่เห็นว่าลูกเขียนมาจนกระทั่งพยาบาลเปิดดูเพื่อที่จะเขียนวันนัดให้ พยาบาลจึงได้เห็นลูกของผู้ป่วยเขียนว่า “คุณพ่อสูบบุหรี่ทุกวันเลยช่วยเตือนคุณพ่อให้ด้วย” ดิฉันได้บอกให้คุณพ่อทราบคุณพ่อถึงกับอึ้งไปเลยไม่นึกว่าลูกสาวจะแอบเขียนมาฟ้องพยาบาล คุณจึงคิดที่เลิกบุหรี่นะบัดนาว........เป็นสิ่งที่ดิฉันประทับใจมาก ยังมีอีกหลายเรื่องที่ประทับใจ

            อีกปัญหาหนึ่งก็คือปัญหาจากอาชีพการทำสวนยางอีกอย่างคือเมื่อไปกรีดยางจะต้องกรีดในตอนดึกหรือว่าใกล้รุ่งฉะนั้นผู้ป่วยหอบหืดบางรายอ้างถึงความจำเป็นว่าถ้าไม่สูบก็จะทำให้ยุงกัดเพราะว่าควันบุหรี่ไล่ยุงได้จึงทำให้หยุดการสูบบุหรี่ได้ยากทางโรงพยาบาลป่าบอนจึงได้แก้ไขให้กับผู้ป่วยด้วยการผลิตสมุนไพรไล่ยุงชนิดทาให้กับผู้ป่วยและแจกจ่ายในชุมชนเพื่อลดการสูบบุหรี่แทนซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

            ทางด้านหอกระจายข่าวในหมู่บ้านก็จะมีการรณรงค์ในเรื่องของบุหรี่ด้วย ศาลาประจำหมู่บ้านก็จะสนับสนุนในส่วนของแผ่นพับเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ถึงอันตรายของบุหรี่ที่ทำให้เกิดหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

            จะเห็นได้ว่าจากการดำเนินการในการช่วยเลิกยาสูบได้ในระดับหนึ่งตามที่ผลประจักษ์คือ จากผู้ป่วย135 คน ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่เป็นผู้ชายจำนวน 53 คนหญิง 82 คน และในจำนวนนี้ เป็นผู้ชายที่สูบบุหรี่ จำนวน 30 คน จากผู้ป่วยชายที่สูบบุหรี่ 30 คน ขณะนี้ เลิกบุหรี่ได้ 10ราย และกำลังคิดจะเลิก 5 ราย อีก 15 ราย กำลังบำบัดอยู่ 15 ราย สิ่งที่เล่ามาอาจจะมีสับสนบางในบางตอนแต่ดิฉันคิดว่าจากประสบการทำงานดังกล่าวน่าที่เป็นสิ่งเล็กๆน้อยที่นำมาฝากไปยังผู้ที่ทำงานด้วยใจเหมือนที่ดิฉันทำอยู่ในขณะนี้

และดิฉันได้ทำแผนภูมิเพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงกระบวนคร่าวๆ การทำงานแบบเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลกับชุมชนในการช่วยเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยหอบหืด

ดังแผนภูมิต่อไปนี้คือ

หมายเหตุ ทุกจุดบริการเราจะให้ความรู้ในเรื่องบุหรี่

อ่านเรื่องเต็มได้ที่

http://www.trc.or.th/th/%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/366-2-2555.html

ศจย.

 

หมายเลขบันทึก: 557168เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2013 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ธันวาคม 2013 16:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท