ทฤษฎีปัญญานิยม(Cognitivism)


ปัญญานิยม หรือ พุทธินิยม (Cognitivism)

       ปัญญานิยมอยู่บนฐานของกระบวนการคิดก่อน แสดงพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมที่จะถูกสังเกต สิ่งเหล่านั้น มันก็เป็นเพียงแต่การบ่งชี้ว่าสิ่งนี้ กำลังดำเนินต่อไปในสมองของผู้เรียน เท่านั้น ทักษะใหม่ๆ ที่จะทำ การสะท้อนส่งออกมา กระบวนการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศทางปัญญา 

- ทฤษฎีเกสตัลท์     1 การเรียนรู้เกิดจากกระบวนการทางความคิด

                         2 บุคคลจะเกิดการเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย

                         3 กาเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ         - การรับรู้    - การหยั่งเห็น

                         4 กฏการจัดระเบียบการรับรู้      - กฏการรับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อย

                                                              - กฏแห่งความคล้ายคลึง

                                                              - กฏแห่งความใกล้เคียง

                                                              - กฏแห่งความสมบูรณ์

                                                              - กฏแห่งความต่อเนื่อง

                                                              - บุคคลมักมีความคงที่ในความหมายของสิ่งที่รับรู้ตามความเป็นจริง

                                                              - การรับรู้ของบุคคลอาจผิดพลาด บิดเบือน ไปจากความจริงได้

                        5 การเรียนรู้แบบอย่างเห็น

-ทฤษฎีสนาม (Field Theory )  โดย เคิร์ท เลวิน

                      1  พฤติกรรมของคนมีพลังและทิศทาง สิ่งที่อยู่ในความสนใจและความต้องการของตนจะมีพลังเป็นบวก   ที่นอกเหนือความสนใจจะมีพลังงานเป็นลบ

                      2  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ

- ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory )   โดย ทอลแมน  ( Tolman )

                      1 ในการเรียนรู้ ผู้เรียนมีการคาดหมายรางวัล

                      2 ขณะที่พยายามจะไปให้ถึงจุดหมายที่ต้องการ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้เครื่องหมาย และสิ่งอื่น ๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางตามไปด้วย

                      3 ผู้เรียนมีความสามารถที่จะปรับการเรียนรู้ของตนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

                      4 การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น บางครั้งจะไม่แสดงออกทันที

-ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ เพียเจต์

                      พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้

ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)

ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่

ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ

-- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน

-- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข

--ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้

--ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์

ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่

1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น

2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่

3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย

4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้

5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง

6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกันภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่กระบวนการทางสติปัญญา

 

คำสำคัญ (Tags): #ปัญญานิยม
หมายเลขบันทึก: 556996เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2013 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ธันวาคม 2013 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เยี่ยมกว่าสุขนิยม

น่าสนใจกว่าระบอบสุขนิยม ที่นักบวชไทย ใส่เข้าในสมองพี่น้อง ลูกหลานไทยเยอะเลย จะตามต่อนะ

นาสนใจกว่า วรรณกรรม บนบอร์ดที่แต่งกันไปตามมายาคติตนเอง. มิได้มุ่งหวังในการใช้บั่นทอนชั่ว บั่นทอนพยากรณ์ ส่งเสริมความดี ฟื้นฟูความดี ความกตัญญู และความจริง

พอพบว่าใครกล่าวเตือน ก็ลบทิ้งเสีย หรือไม่ก็แปรสารที่มีเจตนารมณ์ ตักเตือน ไปเป็นด่าทอ จาบจ้วง ลบหลู่ เสียที่เราพบเห็นกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท