หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

ร่วมเรียนรู้ป่า (๑๐)


เมื่อคืนนี้มีเหตุการณ์หลากหลายให้ปรับตัว ตอนถึงร้านอาหารก็ครั้งหนึ่งละที่เข้าใจว่าผู้อาวุโสร่างเล็กที่วนเวียนมาคอยถามว่าอาหารขาดเหลืออะไรเป็นเจ้าของร้านอาหาร เงี่ยหูฟังสรรพสิ่งรอบตัวเพื่อพยายามแยกแยะข้อมูลที่คนหลายคนสื่อสารออกมาพร้อมกันหนึ่งละ คิดจัดการกับอาหารที่เยอะจัดจนกินไม่หมดหนึ่งละ จัดการตัวเองไม่ให้ง่วงระหว่างฟังพี่ขาใหญ่หนึ่งละ ง่วงด้วยวันนี้สังขารตรากตรำกว่าธรรมดาเลยล้า มิใช่เรื่องที่พี่ขาใหญ่เล่าไม่น่าฟัง

เห็นพี่ขาใหญ่เหมือนเห็นคนไข้ต้นแบบยังไงยังงั้น เป็นต้นแบบของคนไข้ที่มีความสุขกับสิ่งที่ตัวเองเป็นและสิ่งที่ตัวอยากเป็น ตอนพี่เล่าเรื่องสุขภาพตัวเองด้วยใบหน้าแจ่มใสพร้อมเสียงหัวเราะนี่เหมือนโดนมะเหงกพี่เขกกระโหลก เมื่อพี่เล่าความมุ่งมั่นในสิ่งที่กำลังดำเนิน ในสิ่งที่ทำมาแล้วและกำลังทำ เล่าความฝันที่มุ่งหน้า สิ่งที่อยากลอง ด้วยแววตาสุขใส นี่ก็รู้สึกโดนอีกหลายมะเหงก

เห็นพี่มีสุขภาพใจอย่างปัจจุบัน การดูแลสุขภาพใจให้ถึงระดับที่พี่ทำได้  การที่พี่อยู่อย่างง่ายๆ ไม่จนใจกับข้อจำกัดที่บังเกิดขึ้นแล้วและยังเหลืออยู่ของสุขภาพกายด้วยสุขภาพใจที่ยังแข็งแรง ตรงนี้ทึ่งมาก มันยากมากสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดเฉกเดียวกับพี่ น้อยคนทำได้สำเร็จ พี่ก้าวข้ามปมที่ยากมาจนยืนหยัดอย่างปัจจุบันได้ไง

พี่มุ่งมั่นปลดปล่อยข้อจำกัดของการเข้าถึงอาหารสุขภาพในระดับบ้านๆจนได้มาซึ่งวิธีปลดล็อกนี่ไม่ง่ายเลยสำหรับคนธรรมดา ด้วยข้อจำกัด พลังภายในของพี่กลับเปล่งประกายอย่างเจ๋งเซียนเรียกพี่ นี่ไม่ธรรมดา ขอคารวะผู้อาวุโส อดีตเสรีไทย สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า นนทบุรีจากใจค่ะ

ตัวอย่างที่พี่นำมาให้เห็นกับตา สอนให้รู้ว่ามีความรู้ซ่อนอยู่ในชุมชนมากมาย คนทำงานสุขภาพที่ทะนงในความรู้ตัว สามารถล้าหลังชาวบ้านได้ทุกเมื่อ

ความสำเร็จของการสร้างความมีส่วนร่วมได้มากมายของพี่กับเรื่องป่าที่เดินหน้าอีกละ เรื่องอย่างนี้ไม่ง่าย พลังจิตอาสาของพี่ทำไมมากมายปานนี้ ขอบคุณพี่บู๊ดที่ชักนำให้มาเจอครูอนามัยฝีมือดี ขี้ตาโดนแคะทิ้งไปมากมายเชียวค่ะ 

อิอิ...ขอโทษด้วยค่ะที่เข้าใจว่าพี่เป็นเจ้าของร้านอาหารที่มาคอยดูแลความเรียบร้อย  เดินทางกันเช้าตรู่ยังงี้ ตรงที่ที่พี่บู๊ดจะพาไปดู มีอะไรๆที่พี่ก่อการไว้ด้วยหรือเปล่า พี่บู๊ดจะพาเดินทางไปกำแพงเพชรเพื่อสัมผัสอุทยานแห่งชาติแม่วงศ์  ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำสะแกกรัง เจออ.ศศิน

ป่า

พื้นที่ป่าที่กำลังจะไปเยือนนี่มีบริเวณกว้างอยู่ใน ๒ อำเภอของจังหวัดนครสวรรค์ ๑ อำเภอของจังหวัดกำแพงเพชร มีความกว้างของพื้นที่ ๕๕๘,๗๕๐ ไร่ หรือ ๘๙๔ ตารางกิโลเมตร เราไปกำแพงเพชร 

คุณประจักษ์ บัวแก้ว ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเป็นคนแรกที่แบ่งปันแนวคิดการจัดการพื้นที่ป่าเพื่อให้คงความเป็นป่าให้ฟัง ใช้หลักคิดจัดโซนคล้ายคลึงกับที่หัวหน้าสมโภชน์เล่าให้ฟัง ฟังแล้วรู้สึกว่าที่นี่เดินตามหลังห้วยขาแข้ง และข้อมูลเกี่ยวกับป่าของหน่วยงานอยู่แยกส่วนกัน

  จุดที่มีผู้แอบใช้ประโยชน์ป่า

การรุกป่ามีเหตุจูงใจหลายอย่าง หาของป่า ทำไม้ หาปลา ล่าสัตว์ ใช้พื้นที่

๘ ธันวาคม ๒๕๕๖

หมายเหตุ

- "ป่า" ในความหมายตามกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ หมายถึง ที่ดินรวมตลอดถึง ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมาย

- "ป่าสงวนแห่งชาติ" คือป่าที่พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองป่า พ.ศ. ๒๔๘๑ ประกาศว่าเป็นป่าสงวนและป่าคุ้มครอง หรือป่าสงวนซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวง ให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ โดยพิจารณาจากความจำเป็นเพื่อการรักษาสภาพป่าไม้ของป่าหรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น โดยในกฎกระทรวงนั้นๆจะต้องมีแผนที่แสดงแนวเขตของป่าสงวนไว้ด้วย กฎกระทรวงเมื่อประกาศแล้วต้องปิดประกาศสำเนาไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ที่ทำการกำนัน และในหมู่บ้านในเขตที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนทราบ

- "อุทยานแห่งชาติ" คือ เขตบริเวณพื้นที่ซึ่งสงวน ไว้เพื่อที่จะรักษา และทำการคุ้มครอง ทรัยากรทางธรรม ชาติ นั้นๆ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงไป 

- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับป่าและสัตวป่า ที่ใช้กันอยู่ มี ๕ ฉบับ กฎหมายหลัก คือ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.๒๔๘๔ อีก ๔ ฉบับ คือ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๗ , พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ ปี ๒๕๐๔, พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ.๒๕๓๕ และ พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕

- พื้นที่ป่าที่เป็นป่าสงวนตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ เอกชนเข้าไปครอบครองพื้นที่เพื่อดำเนินการบางอย่างได้หากได้รับการอนุญาตจากรัฐ สามารถเวรคืนที่ดินเอามาเป็นที่ดินได้ตามประมวลกฎหมานที่ดิน ถ้าเข้าหลักเกณฑ์ของการเป็น "ป่าเสื่อมโทรม"

- พื้นที่อุทยานแห่งชาติเป็นพื้นที่หวงห้ามแบบเด็ดขาด ทั้งรัฐและเอกชนไม่มีสิทธิเข้าไปดำเนินการในลักษณะที่ทำให้สภาพทางธรรมชาติเสียหายหรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมได้ ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิให้กับเอกชนได้  

 

หมายเลขบันทึก: 556940เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2013 18:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ธันวาคม 2013 09:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

I agree with "...สอนให้รู้ว่ามีความรู้ซ่อนอยู่ในชุมชนมากมาย..."

It is mostly in our mind hat we think we know better. (And the locals usually our of politeness make us feel confortable with our falsely based "atta").

Thank for the references on "ป่า".

I have the feeling that we have more cultural forests than natural forests. Like we have more interests in stone (statues, scultures, buildings, etc.) artifacts than the bio-artifacts (like ancient gardens, old medicine plants, ancient market fruits and vegeables, etc.). I looked across Thailand from West to East for old (lanscaping) gardens around stone monuments (prasats) but could not find any. I think they were covered by native vegetation and possibly destroyed in the (archeological) process of restoration (for tourism). It's a pity. We could have learned about the lives and living conditions of peopleat ancient tmes too. But all we see was --the stones--.

แวะมาเรียนรู้ด้วนคน ขอบคุณมากครับ

คุณ sr ค่ะ

วิธีคิดของคนที่ไม่เคยใกล้ชิดป่า รู้จักป่าจากการอ่านโดยไม่เคยสัมผัสความจริงของป่าด้วยประสบการณ์ตรงนี่แหละค่ะที่ทำให้เกิดป่า handmade ไปซะทุกแห่ง...หมอละแปลกใจกับการกลัวความรกของป่าไม้ของใครหลายคนที่รู้จัก ไม่ยอมให้รกก็จะเหมือนป่าธรรมชาติไปไม่ได้

อจ. Dr. Pop ค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาอ่านค่ะ ไม่ได้คุยกันนานมากเนอะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท