ความกังวลของพี่พาย = ,=*


        ในคาบ กิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยจิตเวช เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้ Dr.POP อาจารย์หนุ่มอารมณ์ดีเดินยิ้มเข้ามาในห้องแล้วบอกว่าวันนี้เรามีอาจารย์พิเศษมานะครับ เอาแล้วคะ อาจารย์หมายถึงเราจะมีกรณีศึกษาที่เป็น ผู้ป่วยจริง ๆมาอาจารย์จะทำการบำบัดรักษาให้พวกเราดูแล้วพวกเรายังจะได้มีส่วนร่วมกับการรักษาครั้งนี้ด้วย ชักจะตื่นเต้นแล้วสิคะ

        ขั้นแรก อาจารย์ให้เราซักประวัติเพื่อหาข้อมูลอาการป่วยของพี่พาย ชายหนุ่มอายุสามสิบกว่าๆ มีใบหน้าที่ค่อนข้างอ่อนกว่าวัยจนพวกเราตกใจในอายุจริง พวกเราสอบถามพี่เขาอย่างกันเมามัน ได้ข้อมูลว่าพี่ทำงานกับนักศึกษา เบื่องาน เจอเหตุการณ์บางอย่างทำให้กังวลเรื่องาน ไม่อยากรับโทรศัพท์ ไม่มั่นใจ หงุดหงิดง่าย ใจลอย ไม่อยู่กับปัจจุบัน น้ำหนักลด ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง น้ำหนักลด เป็นมาสองเดือนแล้ว เคยมีปัญหาด้านความรัก ไม่ชอบคนเยอะ เบลหันไปถามเพื่อนว่าโรควิตกกังวลรึเปล่า แต่สักพักก็คิดว่าไม่น่าใช่ เดากันไปต่างๆนานาว่าน่าจะเป็นโรคอะไร แต่สุดท้ายก็คือโรคแรกที่เราสงสัยนั่นแหละ จะดีใจหรือเสียใจดีเนี่ย พยายามวิเคราะห์เต็มที่แต่สุดท้ายก็ที่เราเดาไปตอนแรก อย่างน้อยก็ถูกน่ะ  ^   ^”

        หลังจากนั้นอาจารย์ก็เริ่มประเมินความสุข ความเครียด และสิ่งที่อยากจะพัฒนาปรับปรุงของพี่พายยังให้เราได้ศึกษากันเต็มสิบพี่พายมีความสุข 5/10 มีความวิตกกังวลในการทำงาน และสิ่งที่ต้องการพัฒนาโดยเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ

  1. อยากอยู่กับปัจจุบัน
  2. อยากไปทำงานอย่างมีความสุข
  3. อยากมีความคิดเป็นเหตุเป็นผล
  4. อยากมีความสุขกับครอบครัว
  5. อยากมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน
  6. อยากรับโทรศัพท์อย่างมีความสุข
  7. อยากดูโทรทัศน์ ฟังเพลง และเล่นคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีความสุข

 

 

      จากนั้นอาจารย์ก็จัดกิจกรรมการรักษาโดยให้ตัวแทนนักศึกษาสองคนมาเป็นตัวแทน โดยให้พี่พายออกแบบบทสนทนาให้เพื่อนทั้งสองคนในการนัดกันไปชมภาพยนตร์ พี่พายสามารถออกแบบบทสนทนาออกมาได้ราบรื่นดี กิจกรรมนี้เพื่อให้พี่พายได้ฝึกการมีปฏิสัมพันธ์นั่นเอง

 

        ต่อไปอาจารย์จึงให้พี่พายเลือกกิจกรรมเองโดยมีอุปกรณ์เป็น ดินน้ำมัน กระดาษ และ สีชอล์กให้ พี่พายเลือกที่จะปั้นดินน้ำมัน อาจารย์จึงให้พี่เขาปั้นอะไรก็ได้ที่ชอบหรือนึกถึง ณ ขณะนี้ พี่พายปั้นภาพวิวภูเขาทะเลออกมา อาจารย์จึงเตือนว่าใช่สิ่งที่ปัจจุบันหรือไม่ พี่พายจึงเล่าว่าจะไปเที่ยวเขาใหญ่ในอีกวันสองวันข้างหน้า อาจารย์จึงถามต่อว่า”เขาใหญ่มีทะเลไหมคับ” พี่พายจึงเอาทะเลออกแล้วปั้นสมาชิกในครอบครัวแทนกิจกรรมนี้เสริมการอยู่กับปัจจุบันได้

 

   

 

        จากนั้นก็ถึงคิวอาจารย์สาวบุคลิกดีอีกท่านมารับบทบาทสมมุติเป็นเจ้านายที่พี่พายไม่ชอบ ให้คุยโทรศัพท์ขอลางานกัน พี่พายคอนข้างพี่ตรงและใช้ถ้อยคำที่แสดงอารมณ์ออกมาชัดเจน โต้ตอบกันด้วยทั้งเหตุผลและอารมณ์  ฝ่ายหนึ่งต้องการให้มาทำงานล่วงเวลา อีกฝ่ายก็ไม่ว่างจะไม่ไปเต็มที่ อาจารย์จึงหยุดการสนทนา แล้วปรับคำพูดให้นุ่มนวลขึ้น และมีหนึ่งคำที่อาจารย์สนใจคือ พี่พายพูดกับเจ้านายว่า  ” ผมจะทำงานออกมาให้ดีที่สุดครับ พี่ไม่ต้องเครียดนะคับ ” ซึ่งมันแสดงว่าผู้พูดกำลังเครียดและกังวลอยู่ ไม่พูดนะครับ ^    ^” แล้วให้ลองพูดใหม่ และ ลองโทรศัพท์หาอาจารย์เจ้านายจำลองจริงๆ สุดท้ายก็ได้ฝึกการคุยโทรศัพท์และการมีปฏิสัมพันธ์ ทำให้ลดความกังวลพี่พายในการรับโทรศัพท์ลงได้

 

        จากนั้นก็เป็นกิจกรรมที่เบลเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย หลังจากการแนะนำตัวแล้วก็เป็นกิจกรรมกลุ่มซึ่ง เบล และ โป เพื่อนอีกหนึ่งคนเป็นสมาชิกกลุ่มด้วย เป็นการคาดเดาว่าความชอบของเพื่อน ว่าน่าจะมีอะไรหรือสิ่งใดที่ชื่นชอบเหมือนกับเราหรือไม่เบลเล่นกับโปก่อนเป็นรอบแรก เราค่อนข้างสนิทกันเพื่อนทายเบลถูกไปเลยสี่ข้อ รอบต่อไปเบลทายพี่พายพยายามสังเกตจากลักษณะภายนอกเดาไปถูกสามข้อ และรอบสุดท้ายพี่พายทายโปบ้าง ถูกไปสามสี่ข้อเช่นกัน เป็นกิจกรรมที่ให้เราได้ทำความรู้จักกันได้ดีเลยทีเดียว

   

 

 

      รู้จักกันเรียบร้อยก็มีกิจกรรมการรักษาสุดท้ายคือกิจกรรมกระดาษรักกัน อาจารย์มีกระดาษสีให้สามแผ่น กรรไกร และกาว ทำยังไงก็ได้ให้รู้ว่ามันรักกัน ภายในเวลา 10 นาที เป็นงานที่มอบหมายให้ทำ พี่พาย เบล โป ก็เสนอให้ติดกาวไหม แต่ก็เห็นกระดาษสีไม่ครบสามสี เอายังไงดี เบลเสนอให้ทำเป็นโซ่ ทุกคนเห็นด้วยเราคุยกัน ช่วยกันคิดว่าทำแบบไหน ขนาดไหนถึงจะทันเวลา แล้วก็ได้ออกมาเป็นโซ่กระดาษสามสีสวยงาม ตลอดการทำพี่พายเป็นคนที่คอยย้ำเรื่องเวลาเสมอ เสร็จออกมาพี่พายก็ตั้งชื่อว่า “ โซ่ทองคล้องใจ ” ^ .^ เพราะเชียวค่ะ กิจกรรมนี้นอกจากจะทำให้พี่พายอยู่กับปัจจุบันยังเพิ่มทักษะทางสังคมในการพูดคุยกัน  การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การจัดการเวลา และ การรู้จักการรับฟังผู้อื่นได้อีกด้วย

         สุดท้ายอาจารย์ประเมินความสุข ความเครียด และสิ่งที่อยากจะพัฒนาปรับปรุงซ้ำว่าได้แก้หรือไม่อย่างไร ความสุขพี่พายเพิ่มขึ้นเป็น 7/10 และมีรอยยิ้มแล้วบอกคำหวานๆแซวพวกเราว่า “ มาเจอน้องๆนักศึกษาสนุกดี มาแล้วมีความสุขครับ ”  > <* พวกหนูก็ดีใจค่ะ ที่มีส่วนทำให้พี่สบายใจขึ้นซึ่งกิจกรรมการรักษาของเราสามารถบรรลุเป้าพี่พายไปได้ถึงห้าข้อ สองข้อสุดท้ายอาจารย์จึงฝากไปเป็นการบ้านให้พายนั่นคืออยากมีความสุขกับครอบครัว และ กับเพื่อน   โดยอาจารย์ให้พี่พายออกแบบกิจกรรมให้ครอบครัวทำด้วยกัน ทำเป็นตารางกิจกรรมร่วมกันของคนในครอบครัว  ถ้าทำได้จริงให้ลองทำเลย และ หากิจกรรมทำกับเพื่อนๆด้วย

 

        ตลอดการรักษาอาจารย์ให้เราสังเกตว่าอาจารย์ใช้กรอบความคิดใดในการบำบัดรักษา ซึ่งในการรักษามีการดึงสิ่งที่ผู้ป่วยให้ความสำคัญ ให้เลือกทำในสิ่งที่ชื่นชอบและสนใจและสามารถเพิ่มทักษะด้านต่างๆให้ผู้ป่วย จากการวิเคราะห์ของทุกคนจึง สรุปว่า น่าจะเป็น Model of Human Occupation ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับการรับสิ่งเราเข้ามาสู่ระบบประมวลผลภายในร่างกาย  มีการวิเคราะห์ตามความสนใจ-ชื่นชอบ การให้คุณค่าและความสำคัญต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ลักษณะนิสัย บทบาทหน้าที่ ตลอดจนการใช้ทักษะความสามารถต่างๆในการทำกิจกรรมเพื่อประมวลผลออกมาเป็นการตอบสนองออกมาเป็นพฤติกรรม ... ซึ่งก็เป็นคำตอบที่ ถูกต้องนะคร้าบบบ !!! 

     ส่วนถ้าเป็นเบลเป็นผู้บำบัด คงให้พี่พายเลือกกิจกรรมระหว่าง วาดภาพ-ระบายสี ทำโมเดลจากกระดาษ หรือ ทำเคสโทรศัพท์จากกระดาษทิชชู่ แล้วจักกิจกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมที่พี่พายเลือกมาเพิ่ม  เช่น    

  • ถ้าเลือกวาดภาพอาจให้วาดภาพที่ทำงานหรือบรรยายกาศที่บ้านอธิบายให้เราฟัง  >> แล้วติดต่อคนที่บ้านหรือที่ทำงานแล้วโชว์ผลงานพร้อมอธิบาย  >>  แล้วช่วยกันทำกรอบรูปมาใส่โดยร่วมกับนักศึกษาทำผลงานออกมา

 

 

  • ถ้าเลือกทำโมเดลให้ทำโมเดลจากไม้หรือกระดาษสถานที่ที่เพื่อนๆหรือคนในครอบครัวชื่นชอบ-อยากไปโดยอาจใช้โทรศัพท์หรือใช้การติดต่อพูดคุยโดยผ่านทาง Video Call ให้เห็นหน้าระหว่างพูดถามความคิดเห็นหรือสถานที่ก่อนแล้วจึงทำ เมื่อทำเสร็จให้นำเสนอผลงานอธิบายให้ผู้บำบัด นักศึกษา และ บุคคลที่ติดต่อก่อนทำโมเดลได้เห็นผลงาน  >>  พูดความรู้สึก >>  และทำบทบาทสมมุติเป็นดีเจเปิดเพลง-ร้อง-เต้นร่วมกันกับนักศึกษา
  • หรือถ้าเป็นการทำเคสโทรศัพท์ให้เลือกอุปกรณ์สี-ลายที่ชอบตามอารมณ์ขณะนั้นเช่นเบื่อมากใช้สีเทา สดใสใช้สีโทนเหลือง-เขียว >> ถ่ายรูปผลงาน-อุปกรณ์แล้วพิมพ์บอกเล่าเรื่องราวขั้นตอนการทำ และ ความรู้สึกลงในบล็อกหรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ >> จากนั้นให้พี่พายช่วยกันพากภาพยนตร์ตอนสั้นๆเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ทำงานเป็นการคลายปมความกังวล เช่น  เรื่อง "ATM เออรักเออเร่อ" ที่ตัวหนังมีเนื้อหาสนุกสนานครึกครื้น น่าจะทำให้คลายความตึงเครียดของพี่พายของเราลงไปได้ 

 

 

จากกรณีศึกษานี้ หวังว่าจะทำให้ใครหลายๆคนไม่ตึงเครียดกับงานมากเกินไป

ค่อยๆคิด ไม่ตีกรอบว่าตัวเองต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ และ

ไม่คิดแทนหรือวิตกกังวลกับเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดนะคะ ทำให้ทุกอย่างง่ายๆสบายๆ

ชีวิตก็มีความสุขขึ้นเยอะแล้วคะ

 

#เบลใช้ชื่อพี่พายเป็นนามสมมุตินะคะ ^ __ ^”

#หวังว่าจะมีส่วนช่วยสร้างความสุขสันต์วันชรานะคะ

 

   ll>> SNITCH *^  ^*  

 

 

หมายเลขบันทึก: 556852เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2013 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2013 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท