จิตวิเคราะห์ : ประเภทของสัญชาตญาณ ตอนที่ 2


2. ประเภทของสัญชาตญาณ (Instinctual Drives)

  ฟรอยด์ เชื่อว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์ มีแรงจูงใจมาจากจิตไร้สำนึก ซึ่งมักจะผลักดันออกมาในรูปความฝัน การพูดพลั้งปาก หรืออาการผิดปกติทางด้านจิตใจในด้านต่างๆ เช่น โรคจิต โรคประสาท เป็นต้น เขาเป็นบุคคลแรกที่ได้อธิบายทฤษฎีจิตวิเคราะห์ที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพซึ่งมีความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับแรงขับทางสัญชาตญาณ(Instinctual drive)และแรงขับดังกล่าวเป็นพลังงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนที่ได้ ฟรอยด์ได้แบ่งสัญญาตญาณของบุคคลไว้เป็น 2 ประเภท ก็คือ สัญชาตญาณ อยากอยู่ และ สัญชาตญาณอยากตาย

1. สัญชาตญาณแห่งการมีชีวิต (Eros or Life) หรือสัญชาตญาณอยากอยู่ เป็นสัญชาตญาณที่แสดงออกมาในรูปแบบของสัญชาตญาณทางเพศ (Sexual Instinct) แต่ฟรอยด์ไม่ได้หมายถึงความต้องการทางเพศตามความเรียกร้องทางด้านสรีระเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสัญชาตญาณที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิดและเป็นสัญชาตญาณ ที่แสดงให้เห็นถึงความปรารถนาและความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจในรูปแบบต่างๆ และสัญชาตญาณในการป้องกันตนเอง อันเป็นสัญชาตญาณที่ทำให้มนุษย์แสวงหาความพึงพอใจให้แก่ตนเอง บางครั้งฟรอยด์มักจะเรียกสัญชาตญาณแห่งการมีชีวิตอยู่ว่าสัญชาตญาณทางเซ็กส์ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยังเด็ก สัญชาตญาณทางเซ็กส์เป็นสัญชาตญาณ ไม่ใช่เกิดขึ้นมาตอนเป็นวัยรุ่น และมีความสัมพันธ์เป็นอย่างยิ่งกับการมีวุฒิภาวะ นอกจากนี้ฟรอยด์ยังได้แบ่งสัญชาตญาณทางเซ็กส์ออกเป็น 2 แง่ กล่าวคือ 1. เป้าหมายทางเซ็กส์ (sexual object) กับ 2 จุดมุ่งหมายทางเซ็กส์ (sexual aims) เป้าหมายทางเซ็กส์ อาจเป็นใครสักคน ทั้งเพศชายและเพศหญิง หรืออาจเป็นบางส่วนของอวัยวะก็ได้ เช่น ทางปาก ทางทวาร ฯลฯ ผู้ชายคนหนึ่งปรารถนาที่จะมีความสัมพันธ์ทางเพศกับชายอีกคน ซึ่งเป็นเป้าหมายทางเพศของเขา ผู้หญิงก็เป็นเช่นเดียวกัน เป้าหมายทางเซ็กส์จึงอาจเป็นได้ทั้งชายและหญิง ไม่จำกัดเพศ อายุ สีผิว ฯลฯ ส่วนจุดมุ่งหมายทางเซ็กส์นั้น หมายถึง พฤติกรรมหรือการกระทำ เช่น การสัมผัส กอดจูบ เล้าโลม จนถึงการสมสู่ (ทั้งที่อวัยวะเพศและทวารหนัก) พวกถ้ำมาอง (voyeurism) และพวกชอบโชว์ (exhibitionism) เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป ฟรอยด์ชี้ให้เราเห็นว่าสัญชาตญาณทางเซ็กส์หรือการเกิดนั้นมีความแตกต่างหลากหลาย ฟรอยด์พยายามจะวิเคราะห์ธรรมชาติของเซ็กส์ในหลายรูปแบบ จุดมุ่งหมายทางเซ็กส์นั้นในบางสังคมอาจถูกมองว่ามีความวิปริต (pervasion) แต่สำหรับฟรอยด์แล้วสิ่งนั้นเป็นเพียงความสัมพันธ์ที่เป็นธรรมชาติและเป็นส่วนหนึ่งของสัญชาตญาณ สัญชาตญาณแห่งการมีชีวิตอยู่นั้นมีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ทางสังคม (socialization process) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีความสัมพันธ์ระหว่างการเอาแต่ใจตนเองของเด็กทารก การอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ การเรียนรู้ภาษา การเรียนรู้ระเบียบขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนบาทบาทหน้าที่ของตนในสังคม นอกจากนี้ฟรอยด์ยังชี้ให้เราเห็นว่ามนุษย์พยายามแสวงหาความสุข ความพึงพอใจให้กันตนเองเสมอ พยายามดิ้นรนที่จะสร้างแต่สภาวะที่สะดวกสบายให้แก่ตน และพยายามจะหลีกเลี่ยงการลงโทษ (guilt) และการลงโทษ (punishment) กับตนเองให้มากที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะสัญชาตญาณแห่งการมีชีวิตรอดหรือสัญชาตญาณทางเซ็กส์ นอกจากนี้ทั้งกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมและการเอาแต่ใจตนเอง จึงกลายมาเป็นสาเหตุให้เด็กเก็บกดการเอาแต่ใจตนเอง เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดได้ในสังคม สุดท้ายแล้วก็จะนำไปเราไปสู่การสำรวจภายในจิตไร้สำนึก ที่เป็นจุดเก็บกดของความปรารถนา นำไปสู่ความฝัน การพูดพลั้งปาก และการชอบดูเรื่องตลก ฯลฯ ที่เคยเสนอไว้แล้วนั่นเอง

2. สัญชาตญาณอยากตาย อยากทำลายล้าง (Thanatos or Death instinct) ที่แสดงออกมาในรูปของสัญชาตญาณในการทำลายหรือความก้าวร้าว (Destructive instinct or aggressive instinct) ฟรอยด์มองธรรมชาติในแง่ลบ (Pessimism) กล่าวคือ มนุษย์ไม่มีเหตุผล (Irrational) ไม่มีการขัดเกลา (Unsocialized) โดยมุ่งที่จะตอบสนองและแสวงหาความพึงพอใจให้กับตนเองเป็นสำคัญ (Self-gratification) นอกจากนี้ ฟรอยด์ยังได้อธิบายเพิ่มเติมในเรื่องความหมายของสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ว่าสัญชาตญาณ จะแสดงออกมาในรูปของพลังทางจิตที่เกี่ยวข้องกับพลังขับทางเพศเรียกว่า พลังลิบิโด (Libido)ที่ทำให้มนุษย์ มีความปรารถนาและความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถเคลื่อนที่ เปลี่ยนรูป และสามารถจะเคลื่อนที่ไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตามระยะเวลาของพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง    และยังสามารถเคลื่อนที่ไปยังวัตถุ หรือบุคคลนอกตัวเราได้ เช่น หากพลังลิบิโด เคลื่อนไปอยู่ที่แม่ ก็จะทำให้เด็กเกิดความรักและความหวงแหนแม่ เป็นต้น

 

หนังสืออ้างอิง

ยศ สันตสมบัติ.(2532)ฟรอยด์และพัฒนาการของจิตวิเคราะห์จากความฝันสู่ทฤษฎีทางสังคม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: กรุงเทพฯ

บันทึกสมัยเรียนปริญญาตรี

หมายเลขบันทึก: 556850เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2013 19:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ธันวาคม 2013 10:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท