ตั้งโรงเรียนสุจริตสอนผู้บริหารไม่โกง
I read ตั้งโรงเรียนสุจริตสอนผู้บริหารไม่โกง หวังถ่ายทอดจิตสำนึกให้เด็กอีกทอดหนึ่ง/พบทุจริตเบียดบังเวลาราชการมากสุด http://www.thaipost.net/news/191213/83576 and found many points that we should look into more. I quote
"...ผู้เชี่ยวชาญ สพฐ. และผู้เข้าร่วมหลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคงสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา รุ่นที่ 1 เปิดเผยผลการศึกษาว่า ร้อยละ 53.08 เคยพบเห็นการทุจริตในสถานศึกษา พฤติกรรมการทุจริตที่พบเห็นมากที่สุดคือ การเบียดบังเวลาราชการเพื่องานอื่น รองลงมาคือ การใช้ทรัพย์สินของทางราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตน การเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง การแสวงหาผลประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่ และประพฤติมิชอบในการจัดซื้อจัดจ้าง ตามลำดับ ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือ ควรมีการจัดทำแผนพัฒนาเสริมสร้างความซื่อสัตย์แก่บุคลากรทางการศึกษาให้เป็นวาระแห่งชาติ ส่งเสริมให้ภาคส่วนต่างๆ มีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินงานในระบบการศึกษา กำหนดหลักเกณฑ์ในการสรรหาบุคคลเข้าสู่ตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง และการประเมินความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน หรือบุคลากรทางการศึกษาต่างๆ บนพื้นฐานคุณธรรมจริยธรรม และให้มีน้ำหนักความสำคัญเท่าเทียมกับความรู้ความสามารถด้านการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ รายงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบแห่งชาติ ช่วงปี พ.ศ.2543-2548 พบว่ามีการกล่าวหาร้องเรียนว่าเจ้าหน้าที่กระทำการทุจริตเกือบทุกกระทรวง โดยกระทรวงมหาดไทยถูกกล่าวหามากที่สุดถึง 9,317 เรื่อง ตามด้วยกระทรวงศึกษาธิการ 1,387 เรื่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับปัจจัยของการทุจริตและประพฤติมิชอบในสถานศึกษา พบว่าความโลภเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด รองลงมาคือ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี ผู้นำขาดคุณธรรมจริยธรรม ความทะเยอทะยาน และการถูกบีบบังคับ ตามลำดับ การวิจัยศึกษาพบอีกว่า การเสริมสร้างจิตสำนึกและค่านิยมในความซื่อสัตย์สุจริตเป็นแนวทางที่มีระดับความสำเร็จสูงสุดในการแก้ไขปัญหาการทุจริตในสถานศึกษา 57.14 มีความพึงพอใจเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริตในสถานศึกษาในระดับมาก 40.14 มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง และ 2.72 มีความพึงพอใจน้อย ปัจจัยสำคัญที่สุดในการเสริมสร้างความซื่อสัตย์ของนักเรียนคือ การเลี้ยงดูของครอบครัว รองลงมาคือ การเรียนการสอน การศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาเชิงปริมาณใน 45 โรงเรียน โดยการส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารโรงเรียน 45 คน ครูผู้สอน 90 คน นักเรียน 90 คน นักวิชาการ 15 คน รวมทั้งสิ้น 330 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 294 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 89.09.
I applaud the researchers involved for the list of rorts (corruption) by category in Thailand. The report also lists many causes of corruption. It leaves the list of names (what and who), when, where and how for สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบแห่งชาติ (and --I doubt fully-- police and DSI) to work out.
Rorting (public) sytems by the those in the Public Service is damaging not only the country's economy but also the country's morale. Why should people work hard to achieve their goals, when rorters can defraud 'honesty' systems, get-away with it and even get rewarded for doing (corruption) so?
It is good to teach our children to be honest and to work hard for thei dreams. It is even better to prosecute rorters, to restore the sense of "justice and fair go" to everyone, and to re-inforce our traditional value of "good deeds return good".
We can't leave corruption for our children to fix later. We must do it now --today--. We must say "No place for rorters, especially not in government and public service (all taxpayers funded offices)". It is time to teach not only our children to be good, but also time to teach those rorting the systems to be good. They must not get away with it.
Note:
rort (verb): to take unfair advantage of a public service
Please see also: "หมอประเวศ"แนะปฏิรูปประเทศไทย 8 เรื่อง"
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย sr ใน SR's Lookouts
ปัจจัยสำคัญที่สุดในการเสริมสร้างความซื่อสัตย์ของนักเรียนคือ การเลี้ยงดูของครอบครัว รองลงมาคือ การเรียนการสอน
ขอบคุณมากครับ อาจารย์ sr ครับ