นักกิจกรรมบำบัดกับความสำเร็จสูงสุดในชีวิต


ความสำเร็จสูงสุดในชีวิตหรือ Successful Aging

เป็นสิ่งที่บุคคลต้องการโดยอิงจากทฤษฎีลำดับความต้องการของ Maslow

 

อ้างอิงภาพ:sushinisen.hubpages.com

ในที่นี้ผมจะขออธิบายถึงทฤษฎีของMaslowก่อนนะครับ

       ทฤษฎีนี้จะกล่าวถึงความต้องการของคนเราตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงความต้องการสูงสุดซึ่งจะมีทั้งหมด5ขั้น โดยความต้องการของแต่ละคน จะอยู่ในขั้นที่แตกต่างออกไป โดยเริ่มจาก

ขั้นที่ 1 คือ Physiological  Needs คือความต้องการทางด้านกายภาพต่างๆเช่น อาหารการกิน การนอน ปัจจัย 4 เป็นต้น 

ขั้นที่ 2 คือ Safety and Security Needs คือความต้องการความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิต เช่น อาชีพการงาน ฐานะทางการเงิน หรือการที่มีบ้านอยู่อาศัยอย่างมั่นคงและปลอดภัยรวมถึงการไปเข้ารับการรักษาต่างๆ

ซึ่งในขั้น ที่ 1 และ 2 เป็นขั้นพื้นฐานของบุคคลทุกคนต้องการจะมี

ขั้นที่ 3 คือ Love and Belongingness คือการต้องการเป็นที่ยอบรับในหมู่เพื่อนหรือได้รับความรักจากบุคคลอื่นๆ รวมถึงคู่รัก เป็นต้น

ขั้นที่ 4 คือ Esteem Needs คือ การต้องการ เป็นที่ยอมรับในหมู่สังคมที่อาศัย รวมถึงต้องการความยกย่องสรรเสริญ และความเชื่อมั่นในตนเองอีกด้วย

ขั้นที่ 5 คือ Self  Actualization Needs ซึ่งเป็นความต้องการขั้นสูงสุด คือ เป็นการที่อยากให้ความนึกคิดของตนเองประสบผลสำเร็จ เช่น อยากให้เกรดการเรียนเทอมนี้ดีกว่าเทอมก่อน แล้วทำได้ คือบรรลุความต้องการในขั้นนี้

 

       หลังจากที่เข้าใจถึงลำดับขั้นความต้องการของแต่ละบุคคลไปแล้วเราจำทำอย่างไรถึงจะสำเร็จขั้นต่างๆได้

ในบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดจะเน้นการใช้ทฤษฎีของMaslowในบุคคลหลังเกษียณอายุ และเพิ่ม self แก่บุคคลวันทำงานโดยอาศัยเทคนิคต่างๆดังนี้

 

1.การคิดทบทวนในความคิด(Self detemination) แล้วพยายามทำให้บรรลุความคิดยิ่งถ้าเราคิดทบทวนในวัยอายุน้อยๆหรือคิดทบทวนตั้งแต่มีเป้าหมาย จะทำให้เกิด successful aging เร็ว เช่นเทอมนี้ต้องการให้เกรดเอหมดแล้วตั้งใจทำได้ จึงบรรลุผล เป็นต้น

 

โดยนักกิจกรรมบำบัดจะเข้าไปกระตุ้นให้เกิดความคิดทบทวนหรือกระตุ้นให้ทำสิ่งนั้นได้สำเร็จ เช่น ทำให้ผู้รับบริการสามารถบอกเป้าหมายของตนเองได้ว่าต้องการทำอะไรแล้วนักกิจกรรมบำบัดจะเป็นตัวช่วยในการที่ให้ผู้รับบริการสามารถทำตามเป้าหมายของตนได้ 

 

2.การเพิ่มคุณค่าในตนเอง(Self-value) เช่นการทำคุณประโยชน์แก่สังคมในผู้สูงอายุจะเป็นการเพิ่มคุณค่าในตัวของผู้รับบริการ รวมถึงในผู้รับบริการที่บกพร่องทางด้านร่างกายการได้ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆด้วยตนเอง คือการเพิ่มSelf-value ในตัวของเขาเองอีกด้วย

โดยนักกิจกรรมบำบัดจะเข้าไปสอนการใช้ชีวิตประจำวันตามความสามารถของผู้รับบริการ หรือการหากิจกรรมคุณประโยชน์ หรือกิจกรรมต่างๆให้ผู้สูงอายุทำเพื่อให้รู้สึกว่าตนเองแม้จะอายุมากแต่ยังสามารถทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อบุคคลอื่นได้

 

3.การใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพและพอเพียงSelf-efficiency เป็นการตระหนักนึกคิดในสิ่งที่ตนเองกระทำและตนเองพึงมีเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

โดยนักกิจกรรมบำบัดจะดึงนำเอาความสามารถของผู้รับบริการที่มีออกมาได้เต็มความสามารถตามวิธีการของกิจกรรมบำบัด เช่น การใช่อุปกรณ์เสริม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่นักกิจกรรมบำบัดสามารถประดิษฐ์ขึ้นได้เองจากสิ่งของต่างๆ เพื่อลดการใช้เงินในการจัดหาอุปกรณ์

 

     โดยหากมี3 อย่างนี้ จะส่งผลให้มี Successful Aging หรือ สำเร็จขั้นที่5ตามทฤษฎีของ Maslow ได้เร็วยิ่งขึ้น 

 

     แต่การที่นักกิจกรรมบำบัดจะเข้าไปมีบทบาทได้ จะต้องอ้างอิงกับปัจจัยต่างๆเช่น

-สภาพแวดล้อมทางสังคม

-สถานะทางการเงิน

-สภาพร่างกาย

-ความสามารถในการทำกิจกรรม

 

 

     ซึ่งอาจจะใช้กรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัดต่างๆเข้ามาร่วมด้วย เช่น PEOP(Person Environment Occupation Performance) โดยกรอบอ้างอิงนี้จะพูดถึงปัจจัยต่างๆที่สงผลกระทบต่อกิจกรรม ซึ่งจะส่งผลให้การทำกิจกรรมนั้นบรรลุเป้าประสงค์ขั้นสูงสุดหรือ Successful Aging เช่นกัน

 

ขอบคุณครับ^^ ในบทความหน้าผมจะกล่าวถึง succesful agingของตนเอง รอติดตามชมนะครับ

ความสำเร็จสูงสุดของชีวิตผม คลิ๊กเลยครับ

หมายเลขบันทึก: 556615เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2013 01:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2013 01:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท