รูปแบบการเรียนรู้เปลี่ยนเรื่องยากให้ง่าย : การใช้ไอซีที วิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษา


 

รูปแบบการเรียนรู้เปลี่ยนเรื่องยากให้ง่าย : การใช้ไอซีที วิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษา 

 

ชื่อเรื่อง

          เปลี่ยนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย: การใช้ ICT ในการเรียนวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง   ปฏิกิริยาเคมี โดยใช้ความช่วยเหลือจากข้อมูลที่กระทรวงวิทยาศาสตร์จัดไว้สำหรับโรงเรียน

นวัตกรรมที่ใช้

ห้องเรียนเสมือนจริง

วัตถุประสงค์

  1. ลดการใช้หนังสือ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูง
  2. ผู้เรียนสามารถออกแบบการจำลองการทดลองได้ด้วยตนเอง
  3. ผู้เรียนเห็นภาพจำลองผลการทดลองซึ่งไม่สามารถเรียนรู้ได้จากการทดลองจริง  
  4. ผู้เรียนสามารถย้อนกลับมาเรียนใหม่ได้ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา ตามที่ต้องการ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  5. ผู้เรียนได้พัฒนาการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และพัฒนาการสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง

หลักการและทฤษฎี

การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนเสมือน เป็นการจัดการเรียนรู้โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อิงทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนว Constructionism ซึ่งมีพื้นฐานมาจาก Constructivism แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดความรู้โดยผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ เน้นการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ ที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทในการคิด การสร้าง และการปฏิบัติ ในบริบททางสังคมที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของผู้เรียน การเชื่อมโยงประสบการณ์ ผู้เรียนจะมีประสบการณ์ของตนเองระดับหนึ่ง และมีโครงสร้างความรู้ความคิดจากพื้นฐานของประสบการณ์ที่ตนได้รับมา โครงสร้างความรู้ความคิดที่มีนั้นอาจถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง หรืออาจไม่สมบูรณ์ ผู้เรียนจะเปลี่ยนโครงสร้างความรู้ความคิดนั้น เมื่อได้รับสารสนเทศหรือประสบการณ์ใหม่ที่เชื่อมโยงกับความรู้ที่มีอยู่เดิม การลงความเห็น การมองเห็นรายละเอียด และมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เดิมและความคิดใหม่จะต้องเกิดจากตัวของผู้เรียนเองที่เป็นผู้นำความคิดใหม่มาบูรณาการเข้ากับความรู้ที่มีอยู่เดิม ดังนั้นการจดจำข้อเท็จจริงหรือสารสนเทศที่ไม่ได้เชื่อมโยงเข้ากับประสบการณ์ที่ผู้เรียนมีอยู่เดิม จะทำให้ผู้เรียนลืมได้อย่างรวดเร็ว นั่นคือในการเรียนรู้นั้น ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้คิด ผู้ปฏิบัติ ด้วยตนเองเพื่อให้เกิดการสร้างสารสนเทศใหม่ที่เชื่อมโยงกับกรอบของความคิดที่มีอยู่เดิม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายขึ้น

ส่วนประกอบของนวัตกรรม  

ห้องเรียนเสมือนจริงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะมีบทเรียนและสื่อการเรียนรู้ที่จำเป็นตามบทเรียนแต่ละบท ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้

  1. บทเรียน
  2. สื่อการเรียนรู้ เช่น โปรแกรมการทดลอง เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี , Power Point เนื้อหาการเรียนรู้
  3. เว็บลิงค์ เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์การทดลอง
  4. เกณฑ์การให้คะแนน เพื่อให้ผู้เรียนได้ประเมินคะแนนของตนเอง และพัฒนาการเรียนรู้ให้ได้คะแนนที่ดีขึ้น

การนำนวัตกรรมไปใช้

          การนำห้องเรียนเสมือนไปใช้ กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในการเรียนรู้เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี โดยจะให้ผู้เรียนได้ทำใบงาน ผ่านการใช้ห้องเรียนเสมือนในการศึกษาเรียนรู้ และทดสอบการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งผู้เรียนสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ทุกเวลาตามที่ต้องการ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยผ่านสื่อการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ที่จัดเป็นผู้จัดไว้ให้

การประเมินผล

  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังจากการเรียนรู้โดยใช้ ICT  ผู้เรียน 94.5 % มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน A-C+
  2. จากการสัมภาษณ์ผู้เรียนมีความพอใจในการเรียนรู้โดยใช้ ICT มากกว่าการเรียนรู้แบบเดิมทีครูเป็นเป็นผู้สาธิตให้ดู เพราะผู้เรียนได้เป็นผู้ออกแบบการทดลองเอง สามารถเพิ่ม ลด อุณหภูมิและตัวแปรอื่น ๆ ในการทดลองได้ ผู้เรียนเห็นการเกิดปฏิกิริยาและเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นเบื้องหลังการทดลองในลักษณะของแบบจำลองอนุภาคทางเคมี และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้
หมายเลขบันทึก: 556046เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2013 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ธันวาคม 2013 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท