ความคงเส้นคงวา..ที่น่านับถือ


ผู้อำนวยการ..เกษียณไป 2 ปีแล้วยังติดต่อ..พูดคุย..ไม่ว่าแบบตัวต่อ..หรือทางโทรศัพท์ นับว่าท่านมีความคงเส้นคงวา

กลุ่มคำ  " คงเส้นคงวา " หมายถึง  ความจีรัง  ถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง

"เส้น "เป็นมาตรวัดความยาวของไทย  ความยาว 1 เส้น มี 20 วา

" วา " เป็นมาตรวัดความยาวของไทย  ความยาว 1 วา มี 4 ศอก

" คงเส้นคงวา " ถ้านำมาวัด  ก็จะพอดี ไม่เปลี่ยนแปลง

แต่คำพูดนี้ไม่ได้เกี่ยวกับความยาว หรือ ขนาดของสิ่งของหรือวัตถุอะไรหรอก

แต่เช้าวันนี้  ครูอ้อย จะนำเสนอบันทึกทีเกี่ยวกับพฤติกรรมของคน  อันเนื่องมาจากทำวิจัยเกี่ยวกับการสังเกตพฤติกรรมของคนอยู่ 2 เรื่อง  เรื่องที่ 1 การสังเกตพฤติกรรมยนรถโดยสารประจำทาง  ขณะนี้กำลังศึกษาและทำรายงานไปได้ถึงบทที่ 3 แล้ว

ส่วนเรื่องที่ 2 เรื่อง  วิจัยรักของครูอ้อย  วิจัยฉบับนี้ทำท่าจะสำเร็จยาก  เพราะเป็นวิจัยที่สังเกตกับคน  คนมีความพึงพอใจที่ไม่มีระดับ  ทำ rating scale ในข้อคำถามไม่ได้  ครูอ้อย..น่าจะเปลี่ยนเป็นสังเกต  ความรักของ..หมา  ดีกว่า  คงจะมีความคงเส้นคงวา  มากกว่าคนนะ

ทำไม  จึงเขียนเรื่อง  คงเส้นคงวา

อาจจะเป็นเพราะ  ชีวิตที่ยาวนาน  ซึ่งบุคคลทั่วไปเรียกว่า  "แก่แล้ว" ที่ครูอ้อยเดินทางเข้ามาอยูในช่วงนี้  อาจจะเห็นมากประสบการณ์มาก  แต่ความรู้นี้อาจจะน้อย  กำลังเรียนให้มาก  พูดอะไรจะได้มีคนเชื่อถือ  ตอนนี้รู้น้อย  คนเลิกเชื่อถือ  ไปแล้วก็มี 

แต่ไม่รู้ว่า ความรู้น้อย เขาใช้มาตรวัดอะไร  ใช้แบบสอบถามที่ตั้งข้อคำถามและคำตอบอย่างไร   จึงรู้ว่า  ครูอ้อยมีความรู้น้อย  หรืออาจจะใช้วิธีการสังเกตแบบปฐมภูมิ..ลามั้ง

เข้าเรื่อง เข้าประเด็นของบันทึกสักที....

ครูอ้อยมีเจ้านายที่เรียกว่า  ผู้อำนวยการ  ท่านหนึ่ง  อุปนิสัยของท่านละเอียดรอบคอบตระหนี่ถี่เหนียวมีการวางแผนไปทุกเรื่องทำการบ้านก่อนที่จะทำอะไรตลอดชีวิตที่อยู่ทำงานด้วยกันท่านเป็นอย่างไรก็อย่างนั้น  เรียบง่ายมีกุศโลบายในการปกครองและการทำงานที่โปร่งใส  ทักท้วง  ท้วงติง หรือประท้วงได้  ไม่อำนาจบาดใหญ่เที่ยวข่มเหงผู้ใต้บังคับบัญชา

กี่ปีกี่ปี  ท่านก็มีความคงเส้นคงวา  น่านับถือ

จวบจนท่านเกษียณไป  ท่านไม่อยู่ในขั้นตอนของการทำงานแล้ว  แต่ท่านอยู่ในจิตใจของครูอ้อยตลอดเวลา

เทคนิคการปกครองคน  การพูด  การลำดับความสำคัญในการทำงาน  ครูอ้อยจะจดจำทำเลียนแบบท่านแล้วประสบความสำเร็จทุกเรื่อง  ครูอ้อยบอกท่านว่า " หนูทำเลียนแบบ ผอ.ค่ะ หนูจึงถึงเส้นชัยได้สง่างาม" ผอ.กลับพูดย้อนว่า  " ไม่ใช่หรอก  สิริพร เธอทำเป็นแบบฉบับของเธอแล้ว  เธอเป็นตัวของเธอเอง เธอยึดมั่นศรัทธา และมีความคงเส้นคงวา " ครูอ้อยดีใจ

ย้อนกลับมาถึง " ความคงเส้นคงวา "  แบบที่สมาชิกท่านหนึ่งกล่าวว่า " นานาจิตตังนะ ครูอ้อย "  " เขาคงไม่ว่าง "  " การทำวิจัย ยึดมั่นอะไรไม่ได้หรอก "  " ศิลปินย่อมมีอารมณ์เป็นใหญ่ "  อะไรอีกมากมายที่หลั่งไหลมาในบันทึกครูอ้อย  บางท่านมีความคงเส้นคงวา  แต่บางท่าน unreasonable  ไม่มีคำจำกัดความ

หากมี  " ความคงเส้นคงวา "  อะไรจะตามมา

ขึ้นอยู่กับประสบการณ์  ของแต่ละบุคคล  อย่างครูอ้อย  ก็จะได้  ความจริงใจ  ความเข้าใจ  ความสนุกสนานและเปิดเผย  ความซื่อสัตย์

ครูอ้อยถึงไปคิดถึงว่า  " สังเกตพฤติกรรมหมาดีกว่ามั้ง "  เธอคงเส้นคงวามากกว่า  ....ใครบางคนเสียอีก

นี่ครูอ้อย..เธอเขียนอะไรรุนแรงนัก  คำตอบ " หากรุนแรงนัก ก็อย่าเลือกอ่าน "

นักเขียน  เขาเขียนเพื่ออารมณ์ของเขา  เพื่อผู้อ่านที่มีคอเดียวกัน  ไม่ใช่หรือ

แล้วถ้าเขียนแบบนี้ จะมีบ้างไหม  ที่มีผู้อ่านเลือกอ่าน

ลองดูสักตั้งว่า  " ความคงเส้นคงวา ของครูอ้อย  จะมีคนมาเยี่ยมอ่านในบนทึกหรือไม่ "

คำสำคัญ (Tags): #diary#ph.d#research#siriporn
หมายเลขบันทึก: 55602เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2006 05:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
สวัสดีครับ ครูอ้อย
  • เช้านี้ท่าทางจะอารมณ์ไม่ดีนะครับ
  • สงบนิ่ง แล้วมองใจตัวเองให้ดีครับ ครูอ้อยต้องตามจิตใจของครูอ้อยให้ทันครับ เพื่อที่จะเข้าใจให้ได้ว่า ครูอ้อยกำลังคิดอะไร กำลังเรียกร้องอะไร และเพื่ออะไร
  • การที่เราจะเลือกคบใครสักคน เราก็ควรจะยอมรับเขาทั้งสองด้านอย่างที่เขาเป็น ไม่ใช่เรียกร้องให้เขาเป็นเหมือนอย่างที่เราอยากให้เขาเป็น
  • นึกแล้วเชียวว่าคุณไมโตต้องเข้าใจ
  • อะไรก็ตามครูอ้อยมีสิทธิคิด  และคิดว่าจะพูดตามที่คิด
  • หรือจะยอมรับว่าเป็นดังที่ครูอ้อยพูด 
  • รู้ตัวดีเสมอว่า  ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง 
  • บันทึกนี้เป็นเครื่องบอกได้เลยว่า  ในสังคมที่สวยหรูนี้สร้างขึ้นได้อย่างมั่นคงเพราะความคงเส้นคงวา 
  • ไม่เห็นจะเรียกร้อง  ก็ตามแต่ใจ 
  • เพียงแต่จะบอกคนรุ่นหลังว่า  ความคงเส้นคงวาเป็นอย่างไร  มีผลอย่างไรในชีวิต
  • ขอบคุณที่เข้ามาให้ความคิดเห็น

ครูอ้อย ยกตัวอย่าง เส้น และวา ทำให้นึกนิยม คนในอดีต ที่ยืดหยุ่นและเข้าใจธรรมชาติว่า ไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้

หนึ่งวาของคนหนึ่งคน มีความคงที่ที่ 4 ศอก แต่ไม่คงที่ความยาวเมื่อเทียบกับคนอื่น และแม้แต่กับตัวเองเมื่อวัยเปลี่ยน จากเด็กสู่ชรา 1 วาย่อมไม่ยาวเหยียดเท่าเดิม

ครูอ้อยเปลี่ยนแล้วโดยที่ครูอ้อยอาจจะยังไม่รู้ตัวค่ะ

ขอบคุณค่ะ  คุณจันทรรัตน์ 

  • ความคงเส้นคงวา  เป็นคำพูดที่คนโบราณพูดในเชิงเปรียบเทียบการกระทำหรือเรียกง่ายๆว่าพฤติกรรม 
  • ครูอ้อยอาจจะลืมไปว่า  วาและศอกของแต่ละคนมีความยาวไม่เท่ากัน 
  • แต่ครูอ้อยก็นิยามคำศัพท์ว่า  ความคงเส้นคงวาเป็นเรื่องของการไม่เปลี่ยนแปลง 
  • ครูอ้อยอาจจะไม่รู้ตัวว่าเปลี่ยนไปหรือเปลี่ยนแปลง 
  • แต่ที่แน่ชัดเลยว่า  ใจ ใจ ใจของครูอ้อยไม่เคยเปลี่ยนแปลงค่ะคุณจันทรรัตน์ 
  • ขอบคุณค่ะ

ครูอ้อยคงเส้นคงวาดี

เขียนบันทึกเก่งครับ.... ส่วนสังเกตพฤติกรรมหมานั้นผมก็เห็นดี เพราะหมานั้นมีความคงเส้นคงวา

สวัสดีค่ะคุณเอก

  • ขอบคุณที่เข้ามาเชียร์  ครูอ้อยก็มีจุดประสงค์แค่เขียนเพื่อเตือนสติของคนบางคนที่ดูเหมือนจะรู้ตัวแบบผิวเผินและตามธรรมชาติที่เห็นตัวเองถูกค่ะ อิอิ  ขอโทษค่ะ  ตอบไม่ตรงประเด็น
  • พฤติกรรมหมา  มองเห็นชัดเจนค่ะ  ไม่กล้าเขียน  เพราะสะเทือนใจกันมากเกินไป  ครูอ้อยไม่ถนัดการทำความสะเทือนใจให้คนอื่น มีแต่ครูอ้อยรับความสะเทือนใจไว้เอง

ครูอ้อยผิดเอง  ไม่หยุดรอสติ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท