Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

สถานการณ์ด้านข้อกฎหมายและประเพณีปกครองของรัฐไทย : การปรากฏตัวของแนวคิดว่าด้วยการจดทะเบียนการเกิดในระบบกฎหมายไทย


จะเห็นว่า กฎหมายไทยเองรู้จักแนวคิดว่าด้วย “จดทะเบียนการเกิด” มานานแล้ว ตั้งแต่ก่อนที่ประเทศไทยจะตั้งข้อสงวนในอนุสัญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.๑๙๘๙ เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕ และก่อนที่ประเทศไทยจะได้ภาคยานุวัติต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและสิทธิทางการเมือง ค.ศ.๑๙๖๖ เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๙ โดยไม่ตั้งข้อสงวนในเรื่องการจดทะเบียนการเกิด เสียอีก

           แล้วประเทศไทยล่ะ ? ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประชาคมโลกที่ตระหนักในความสำคัญของการจัดการปัญหาคนไร้สถานะทางทะเบียนราษฎรหรือไม่ ? และมีองค์ความรู้ในการจัดการปัญหาดังกล่าวหรือไม่ ?  แล้วกฎหมายไทยบัญญัติอย่างไรในเรื่องการจดทะเบียนการเกิด ? แล้วกฎหมายไทยสอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ ?

           เพื่อจะตอบตอบคำถามเหล่านี้ได้ เราจึงต้องมาศึกษาถึงการปรากฏตัวของแนวคิดว่าด้วยการจดทะเบียนการเกิดในระบบกฎหมายไทยเสียก่อน 

           เราอาจจะจำแนกแนวคิดของกฎหมายไทยว่าด้วย การจดทะเบียนการเกิด ออกเป็น ๕ ยุค กล่าวคือ (๑) ยุคภายใต้ พ.ร.บ.สำหรับทำบาญชีคนในพระราชอาณาจักร พ.ศ.๒๔๕๒[1] (๒) ยุคภายใต้พ.ร.บ.การตรวจสอบบัญชีสำมะโนครัว และการจดทะเบียนคนเกิด คนตาย คนย้ายตำบล พ.ศ.๒๔๖๑[2] (๓) ยุคภายใต้ พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎรในเขตต์เทศบาล พ.ศ.๒๔๗๙[3] (๔) ยุคภายใต้ พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๔๙๙[4] และ (๕) ยุคภายใต้ พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔[5]

                 จะเห็นว่า  กฎหมายไทยเองรู้จักแนวคิดว่าด้วย จดทะเบียนการเกิด มานานแล้ว ตั้งแต่ก่อนที่ประเทศไทยจะตั้งข้อสงวนในอนุสัญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.๑๙๘๙ เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕ และก่อนที่ประเทศไทยจะได้ภาคยานุวัติต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและสิทธิทางการเมือง ค.ศ.๑๙๖๖ เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๙ โดยไม่ตั้งข้อสงวนในเรื่องการจดทะเบียนการเกิด เสียอีก


[1] ประชุมกฎหมายประจำศก เล่ม ๒๓ รศ.๑๒๘ ๑๒๙ หน้า ๖๑ (พ.ศ.๒๔๕๒ ๒๔๕๓)
[2] ประชุมกฎหมายประจำศก เล่มที่ ๓๐ ส.๕๔ หน้า ๘๑ พ.ศ.๒๔๖๐
[3] ประชุมกฎหมายประจำศก เล่มที่ ๔๙ หน้า ๒๕๖ พ.ศ.๒๔๗๙
[4] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๑๖ ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๙

[5] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๓ ฉบับพิเศษ หน้า ๙๗  ลงวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๔

-------------------------------------------
สถานการณ์ด้านข้อกฎหมายและประเพณีปกครองของรัฐไทย
: การปรากฏตัวของแนวคิดว่าด้วยการจดทะเบียนการเกิดในระบบกฎหมายไทย
โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร
วันอังคารที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ 
หมายเลขบันทึก: 55577เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2006 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 05:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท