ฮักนะเชียงยืน 4


"ปัญหาสิ่งเเวดล้อมนั้นต้องใช้ระยะเวลา ถ้ายิ่งเป็นเกษตรเเบบพันธะสัญญา ความเป็นไปได้ที่จะเเก้ปัญหา นั้นยากเกินกว่าระดับเยาวชน" (นอกชุมชน)

ระดมสมอง

         การลงสำรวจดูความจริง การลงพื้นที่จริง การสอบถามชาวบ้านในเรื่องของวีถีชีวิต วิถีในการทำการเกษตร เเละสอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในชุมชนทำให้ได้ข้อมูลที่นับว่าเพียงพอในการวิเคราะห์งาน วางเเผนงานร่วมกัน โดยที่ทุกๆคนระดมสมองช่วยกันคิดทิศทางของงานที่เหมาะสมกับบริบทของตนเองเเละเหมาะสมกับบริบทของปัญหาในชุมใชน   การวางทิศทางของงานนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะหากเราวางเเผนขางงาน หรือ กำหนดทิศทางของงานไม่ดีอาจทำให้ "ลำบากพอสมควรที่จะขับเคลื่อนงานเเละลำบากพอสมควรที่จะทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี" การวางทิศทางของงานจึงเป็นสิ่งสำคัญเเล้วเป็นสิ่งที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนในมิติของโครงการจิตอาสาพัฒนาชุมชน ในครั้งเเรกที่ได้วางทิศทางของงานนั้น หลายคนที่รู้ดีว่าสิ่งที่เราได้รับข้อมูลจากชุมชนนั้นเป็นสิ่งที่เราจะมาขับเคลื่อนงานให้เดินต่อไปได้ มีสองสามคนพูดถึงในเรื่องของกิจกรรม "เราจะเดินด้วยกิจกรรม" ซึ่งตอนนั้นส่วนใหญ่ คิดเพียงว่าจะต้องมีกิจกรรม ที่เป็นกิจกรรมที่จะพัฒนาชุมชนขึ้นมา "เพราะเราผ่านกิจกรรมมาเยอะ" ทำให้คำว่า "กิจกรรมหรือค่าย" เป็นคำหลักๆที่พูดถึงเเละถกประเด็นกัน โดยคำนึงถึงเป้าหมายตลอดเวลาโดยที่เป้าหมายในตอนนั้นเป็นการสร้างความรู้   ความเข้าใจ  เเละความตระหนักให้เกิดขึ้นในชุมชน..

           กระบวนการทางโครงงานที่เคยได้ทำมามีหลักคิดสำคัญที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงการในระดับเยาวชนอยู่ 3 คำหลักๆ ด้วยกัน คือ ขั้นตอนในการเริ่มงาน  ขั้นตอนในการดำเนินงาน เเละขั้นตอนในการสรุปงาน  ซึ่งในตอนนั้นเด็กคนหนึ่งครุ่นคิดไปถึงเมื่อตอนที่ครูทำโครงงาน LLEN ที่นึกว่าตอนนั้นครูทำอย่างไร ซึ่งในครั้งนั้นสิ่งที่ครูได้ทำเป็นอันดับเเรกๆ คือ การสร้างเเรงบันดาลใจให้รู้สึกอยากทำที่เป็นขั้นตอนการเริ่มงานให้เด็กได้ทำโครงงาน  เเล้วขั้นตอนที่สองครูมีการติดตามงานที่ให้นักเรียนมานำเสนอ เเล้วสุดท้ายครูมีการสรุปที่นำสิ่งที่นักเรียนได้ศึกษามาถ่ายทอด มาสื่อสารให้ภายนอกได้รับรู้  การระดมสมองวางทิศทางของงานในระยะเริ่มต้นเป็นช่วงเวลาที่คิดออกเพียงเเค่กิจกรรม ๆ โดยไม่ได้มองอย่างรอบคอบว่ากิจกรรมนั้นคืออะไร เเล้วจะใช้อย่างไร   เมื่อได้เข้ามาพบกับ 3 คำนี้ในความคิดทำให้เริ่มเข้าใจการทำโครงการมากยิ่งขั้นในระดับหนึ่งที่มีขั้นตอนอย่างเข้าใจง่ายๆ "ในเเบบเด็กๆ" ... สักพักหนึ่งที่ได้ระดมความคิดมาวางเป็นขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อเเก้ไขปัญหาในชุมชนเร่มมีการคิดออกเรื่อยๆ โดยมีโจทย์เล็กที่ว่า "จะเริ่มอย่างไร" เเละ "ก่อนที่เราจะไปบอกเขาว่าสารเคมีนั้นไม่ดีเรารู้เเล้วหรือยัง" จึงเริ่มมีคนพูดว่าเราต้องศึกษาสิ่งนั้นให้ดีก่อนที่เราจะถ่ายทอดให้ชาวบ้าน "ฉะนั้นขั้นตอนเเรกเราต้องศึกษาให้ดีก่อน" เเล้วเมื่อได้ศึกษาดีเเล้วจะถ่ายทอดให้ใน "การอบรมชาวบ้านเเละการอบรมเพื่อนที่อยู่ในหมู่บ้านนี้" เเล้วควรบอกกับชาวบ้านให้มีความรู้  ความเข้าใจ เเละความตระหนักเพิ่มมากขึ้นในการใช้สารเคมีในการเกษตร จึงเป็นจุดเริ่มต้นเเห่งประกายของความคิดในการทำโครงการจิตอาสาพัฒนาชุมชน

          การวางทิศทางของงานนั้นจะออกมาเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาจริงของพื้นที่เเละศักยภาพที่มีในตัวฮักนะเชียงยืนทุกๆคน แผนงานเป็นสิ่งที่จะทำให้เรามีเป้าหมายในการดำเนินงานให้ทำงานได้อย่างมีคุณภาพ เเต่ต้องไม่ยึดติดกับเเผนงานมากจนเกินไป เพราะแผนนี้สามารถยืดหยุ่นได้  แผนนี้เป็นงานของฮักนะเชียงยืน เป็นงานของเยาวชนที่สามารถยืดหยุ่นได้ตลอดเวลาเเต่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมต่อชุมชนเเละเหมาะสมต่อสมาชิกทุกๆคนในกลุ่ม

         การระดมทุนทั้งหมดทั้งในตัวของชุมชน  ในตัวฮักนะเชียงยืน ในตัวหน่วยงานต่างๆที่จะสามารถช่วยงานโครงการได้ เป็นสิ่งสำคัญเพราะทุนเป็นปัจจัยเเห่งความสำเร็จที่จะทำให้โครงการนี้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีพลัง อาทิ ทุนในโรงเรียน  ทุนในชุมชน  ทุนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ทุนในหน่วยงานที่รับผิดชอบ  ทุนในกลุ่มวิจัยชาวบ้าน  ทุนในระดับผู้ปกครองชุมชน ซึ่งการระดมทุนนี้ได้มาจากการระดมสมองของทุกคนที่คิดว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด โดยจับทุนนี้มาใส่ในวิธีการดำเนินงานที่สรุปได้ประเด็นไว้ซึ่ง คือ การศึกษางาน    การดำเนินงาน  เเละการสรุปงาน ออกมาเป็นวิถีทางในการดำเนินงานตามหลักคิดในระดับเยาวชนแบบฮักนะเชียงยืน

 

ฟันเฟืองโมเดล : ฉบับฮักนะเชียงยืน

      ฟันเฟืองโมเดลเป็นหลักคิดเเบบฟันเฟืองที่ว่า "สิ่งนั้นๆจะหมุนไปด้วยกัน" ถ้าฟันเฟืองตัวเเรกเริ่มขับเคลื่อนจะทำให้ตัวที่สองเเละตัวถัดมาขับเคลื่อนต่อไปด้วยกัน เเต่การที่จะทำให้ตัวหนึ่งมาเคลื่อนด้วยหนึ่งได้นั้นจำต้องมีเหตุผลที่เพียงพอที่จะสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีส่วนร่วมให้มากที่สุด

 

        ก่อนที่จะขับเคลื่อนฟันเฟืองนี้ไปได้เราจะต้องมีเเรงผลักดันซึ่ง หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการสอบถามชาวบ้าน  สอบถามรพ.สต. สอบถามผู้ใหญ่บ้าน  สอบถามอสม. สอบถามกลุ่มวิจัยชาวบ้าน เเละอื่นๆ   ต้องศึกษาวีถีชีวิตของชาวบ้าน ความเป็นมาเเละเป็นไป ความเป็นอาชีพ  ช่วงเวลาในเเต่ละวัน  เกษตรพันธะสัญญา ผลต่อเเต่ละครอบครัว ที่ต้องสอบถาม เเละสำภาษณ์เชิงลึกกับตัวเกษตรกรโดยตรงเเละผู้ใหญ่บ้านของเเต่ละหมู่ในชุมชน

        ฟันเฟืองตัวเเรกเป็นกลุ่มฮักนะเชียงยืนจะต้องศึกษา คือ การสำรวจปัญหาในชุมชนที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไรบ้าง เเล้วศึกษาเรื่องของสารเคมีที่จะถ่ายทอดให้กับชาวบ้าน ศึกษาดิน ศึกษาสารเคมี  ศึกษาความอุดมสมบูรณ์ในดิน เเล้วประสานงานกับชุมชนเองผ่านตัวผู้นำชุมชนว่า ฮักนะเชียงยืนจะทำโครงการนี้เพื่อเฝ้าระวังสารเคมีที่เกิดขึ้นในการเกษตรของชุมชน เเล้วยังประสานงานไปยังทุกหน่าวยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้งานสามารถขับเคลื่อนไปได้ง่าย

         ฟันเฟืองตัวที่สอง คือ การสร้างกลุ่มเครือข่ายให้เกิดขึ้นในโรงเรียนที่จะสามารถเป็นพลังสำคัญที่จะพัฒนางานได้โดยง่ายถ้ามีเด็กในชุมชนเข้ามาทำงานนี้ด้วยตนเอง เเล้วยังเป็นการปลูกจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิดให้กับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในโรงเรียนอีกด้วย จึงจัดในรูปแบบของค่ายกิจกรรมที่ชื่อว่า "เพื่อนบอกเพื่อน" โดยใช้ทุนในกลุ่ม คือ ความเป็นเพื่อนเข้ามาร่วมดึงความคิดรักษ์บ้านเกิดให้ออกมาจากด้วยเพื่อนด้วยกัน โดยการระดมความคิดว่า สารเคมีนั้นเป็นอย่างไร  ดีอย่างไร  ส่งผลอย่างไร ต่อตนเองเเละต่อชุมชน มีการวาดแผนภาพชุมชนของตนเองเพื่อสำรวจปัญหาที่เกิดขึ้น มีการให้รับชมผลกระทบของสารเคมีผ่านสารคดีชีวิตต่างๆ เเล้วดึงความคิดของเพื่อนๆออกมาด้วยการเขียนสิ่งที่ตนเองได้รับรู้เเละสิ่งที่ตนเองรู้สึก เเล้วจบลงด้วยการสรุปของเเต่ละกลุ่มให้เเต่ละกลุ่มมาสรุปว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไรเเล้วคิดว่าจะเเก้ไขปัญหานั้นอย่างไร ทั้งนี้กิจกรรมนี้มีเป้าหมาย คือ การถ่ายทอดความรู้เเละการเเลกเปลี่ยนความคิดกันเเล้วเพื่อนๆกลุ่มเครือข่ายจะนำสิ่งนี้ไปพูดคุยกับผู้ปกครองในครอบครัวของตนเองกับปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไป 

         ฟันเฟืองตัวที่สาม คือ การสร้างกลุ่มเยาวชนให้มีสำนึกรักษ์บ้านเกิดที่นอกจากฮักนะเชียงยืนจะสร้างกลุ่มเพื่อนในโรงเรียนเเล้วต้องสร้างกลุ่มเด็กเยาวชนในชุมชนที่เป็นเด็กประถมศึกษา  ที่จะคอยเป็นพลังเสริมขึ้นให้งานอีกทั้งนี้มีหลักคิดที่ว่า "ไม้อ่อนดัดง่ายไม้เเก่ดัดยาก" ซึ่งการพัฒนาที่เยาวชนก่อนจะสามารถพัฒนาหลักคิดได้ง่ายกว่าชาวบ้านในชุมชน  เลือกพัฒนาที่ตัวเด็กก่อนเพราะสักวันหนึ่งเขาจะเติบออกมาเป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมจะพัฒนาชุมชนของตนเองให้ดีขึ้น กิจกรรมนี้ชื่อว่า "รักบ้านเกิด" เป็นค่ายที่พาน้องคิด พาน้องๆเข้าใจ เเละพาน้องๆตระหนัก ในเรื่องของสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรโดยการดึงความคิดของเยาวชนเช่นเดียวกับการสร้างกลุ่มเครือข่ายเเต่จะปรับลดความยากลงให้มีความง่ายที่เด็กพอจะสามารถทำได้  เเล้วมีการนำกลุ่มเครือข่ายให้มาช่วยพาน้องคิด กลุ่มเครือข่ายซึ่งเป็นพี่จะเป็นพี่เลี้ยงของเเต่ละกลุ่มพาน้องฝึกคิด ด้วยความมีส่วนร่วมจากพี่เเละน้องจะเป็นเครื่องมือที่คอยย้ำเตือนพี่เเละจะเป็นเครื่องมือการพัฒนาหลักคิดของน้องตามไปด้วย เเล้วยังมีการสอดเเทรกวัฒนธรรมภูมิปัญญาเดิมเป็นฐานความรู้ให้เด็กได้รู้ เเละเข้าใจ กับวิถีชีวิตในอดีตของชุมชนตนเอง

          ฟันเฟืองตัวที่สี่ คือ ถ่ายทอดงานสู่กลุ่มชาวบ้านโดยจะเป็นการคืนข้อมูลที่ได้ศึกษามาทั้งหมดตลอดโครงการให้ลงสู่ชาวบ้านที่มีหลักคิดที่ว่า "ถ้าสื่อสารโดยตรงจะทำให้ชาวบ้านไม่สนใจเลย" เพราะมีความน่าเบื่อสูงเเล้วมีน้ำหนักไปทางทฤษฎีที่สามารถเข้าใจ  เข้าถึงได้ยาก จึงต้องมีเครื่องมือในการดึงดูดความสนใจชาวบ้านโดยมีละครเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ชาวบ้านสนใจเเล้วเข้ามาดู เมื่อละครจบจะเป็นช่วงเวลาในการเสวนาเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเเบบชาวบ้าน  ที่มีหน่วยงานต่างๆเข้ามามีส่วนร่วม กิจกรรมนี้ชื่อว่า : กิจกรรมปลูกรักษ์บ้านเกิด ที่เป็นการคืนข้อมูลสู่ชาวบ้านจากสิ่งที่ได้ศึกษาจากฟันเฟืองตัวเเรก เเละขั้นตอนการศึกษาตัวต่อๆมา...

          ฟันเฟืองตัวที่ห้า คือ ความฝันที่อยากให้เกิดขึ้นโดยสิ่งที่ฮักนะเชียงยืนฝันสูงสุด คือ การมีตลาดเขียนเกิดขึ้นในชุมชนที่เป็นตลาดขายผักปลอดสารพิษ โดยมีความคาดหวังในโครงการรุ่นต่อๆไปที่จะมาสานต่อเพราะเพียง 1 ปี ไม่สามารถสร้างตลาดเขียนให้เกิดขึ้นมาได้

"ปัญหาสิ่งเเวดล้อมนั้นต้องใช้ระยะเวลา

ถ้ายิ่งเป็นเกษตรเเบบพันธะสัญญา   

ความเป็นไปได้ที่จะเเก้ปัญหา  

นั้นยากเกินกว่าระดับเยาวชน" (นอกชุมชน)

 

        จึงต้องสร้าง  ต้องปรับความคิดจากเด็กในชุมชนให้ออกมาเป็นผู้พัฒนาชุมชนด้วยตนเองเพราะเป็นชุมชนของตนเอง ด้วยกิจกรรมต่างๆด้วยเครื่องมือต่างๆ  ด้วยทุนต่างๆที่มีทั้งหมดของโครงการ

        ฟันเฟืองตัวที่หก คือ ทุนที่เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นทุนสำคัญในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายโดยมี ดังนี้ คือ โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  องค์การบริหารส่วนตำบล  โรงพยาบาลส่งเสริมสูขภาพตำบล  โรงเรียนบ้านเเบก  กองทุนไทย  สำนักงานที่ดิน ฯ ที่จะช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ด้วยการะระดมสมองของฮักนะเชียงยืน

         เป้าหมายที่ได้เลือกไว้ คือ ชาวบ้านมีความรู้  ความเข้าใจ เเละความตระหนัก เกิดขึ้นกลายเป็นขั้นตอนที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายได้ด้วยหลักคิด 3 คำ คือ การศึกษา  การดำเนิน  เเละการสรุป โดยมีฟันเฟืองโมเดลเป็นเเบบแผนของการดำเนินงานโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้  คำนึงถึงปัญหา  คำนึงถึงศักยภาพของกลุ่มเเละศักยภาพของทุนเป็นหลัก  "มองเเง่บวกเป็นหลัก" จากการระดมสมองนั้นให้เวลาอันยาวนานพอสมควรถึงได้เเนวทางหรือทิศทางของการเดินทาง

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 555637เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 16:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท