ประณาม : ๒ ความหมาย


   ผมอ่านบันทึกของท่านอาจารย์หมอตรงนี้ ในตอนท้ายของข้อความที่นำมาใน ๔) มีคำว่า "ประณาม" คำนี้ทำให้ผมขัดๆทุกที คือถ้าผมใช้ ผมจะใช้ไม่สนิทใจกับความหมายของคำ เพราะถ้าเราอ่านหนังสือเก่าๆ คำว่า ประณาม (ปณาม) จะมีความหมายในทางนอบน้อมต่อสิ่งที่สูงๆ เช่น พระรัตนตรัย (สำหรับชาวพุทธ) เป็นต้น อันเป็นการนอบน้อมต่อสิ่งอื่นด้วยความรู้สึกดี ชื่นใจ เคารพ ฯลฯ ผมไม่รู้ว่า คำนี้กลับกลายเป็นความหมายที่ตรงกันข้ามเมื่อไร เชื่อว่า หากพูดคำว่า "ประณาม" คนทุกวันนี้จะเข้าใจความหมายเดียวคือ การไม่พึงพอใจต่อ...การแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่ทำนั้นไม่ถูกต้อง...ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ความหมายใหม่โดยคนไทย อันไม่ใช่ความหมายตามรากศัพท์ คงแก้ไม่ได้แล้วกระมัง ผมคิดว่า ถ้าเป็นผม ผมจะเลี่ยงใช้ใน ๔) ว่า ขอแสดงความไม่เห็นด้วย / ขอเหยียดหยาม / ขอ....

  อย่างไรก็ตาม ในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ก็ให้ความหมายไว้ ๒ อย่างเหมือนกัน ตกลงว่า อย่างไหนถูกต้องตามความหมายที่แท้จริงกันแน่หนอ...เพราะถ้าคนสมัยใหม่ไปอ่านหนังสือเก่า อาจเข้าใจว่า คนแต่งหนังสือเหยียดหยามพระรัตนตรัยอันเป็นสิ่งที่คนเขียนเคารพได้อย่างไร 

หมายเลขบันทึก: 555521เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2013 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท