ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรดีเด่นระดับประเทศ


ความพยายาม ทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเป็นประโยชน์กับเกษตรกร นับว่าเป็นความภาคภูมิใจของชาวส่งเสริมการเกษตร

     เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2549 เป็นวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมการเกษตร ครบรอบ 36 ปี  ได้มีพิธีสงฆ์ พิธีพราหมณ์  พิธีวางพวงมาลาศาสตราจารย์พิเศษทำนอง สิงคาลวณิช อธิบดีท่านแรกของกรมส่งเสริมการเกษตร

     มีการมอบรางวัลแก่ผู้ปฏิบัติงานดีเด่นหลายประเภทเช่น ข้าราชการดีเด่น  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำอำเภอ(เกษตรตำบลดีเด่น)ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลดีเด่นระดับประเทศ    ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรดีเด่นซึ่งได้แก่ ศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยงบุรีรัมย์

                         Burirum2

       คุณนำชัย  พรหมมีชัย  ผู้อำนวยการศูนย์ฯบุรีรัมย์

     ขอเล่าผลงานของศูนย์ฯบุรีรัมย์ ตามเกณฑ์ของ Balance Scorecard ดังนี้คะ

      การเรียนรู้และการเจริญเติบโตของบุคคลากร มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งด้านวิชาการและด้านจิตสำนึกการให้บริการลูกค้ารวมทั้งการพัฒนาขีดความสามารถของบุคคลากรในการเป็นวิทยากรและนำชมกิจกรรมในศูนย์ฯได้อย่างมืออาชีพ นอกจากนี้ยังมีการสร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคคลากรโดยการจัดตั้งร้านค้าสวัสดิการขายสินค้าราคาทุนเพื่อลดค่าใช้จ่าย รวมทั้งการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานอีกด้วย

      กระบวนการทำงานของศูนย์ แยกเป็น

              นวัตกรรมใหม่

  • มีการสร้างรูปแบบการเรียนรู้การเกษตร 13 รูปแบบครบทุกสาขาวิชาด้านการเกษตร  เน้นการผลิตพืชปลอดภัยและให้ครอบครัวเกษตรกรยากจนมาอยู่ดูแลประจำแต่ละรูปแบบ
  • มีการคิดค้นการเพิ่มผลผลิตของต้นพันธุ์ไผ่ตงเขียว ไผ่หม่าจู ไผ่หลี่จู ไผ่หวานเมืองเลย โดยวิธีตอนกิ่งแขนง
  • คิดค้นการขยายพันธุ์กล้วยด้วยวิธีผ่าหน่อ
  • คิดค้นเทคนิคการขยายพันธุ์ยูคาลิปตัสด้วยการปักชำยอดและเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
  • ทดสอบการปลูกพืชใหม่ ๆ ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าเดิม เช่นมันสำปะหลัง อ้อย สบู่ดำ
  • ทดสอบการปลูกพืชใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีการปลูกในพื้นที่ เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา สบู่ดำ ไผ่ กล้วยหอมไต้หวัน หน้าวัวและกล้วยไม้

            การจัดโครงสร้างและองค์กร  มีการจัดโครงสร้างเพื่อเอื้ออำนวยในการปฏิบัติงาน มีการมอบหมายงานอย่างชัดเจนโดยมีใบสั่งงานเป็นรายบุคคล

            การประสานงานภายในองค์กร  มีการประสานงานภายในระหว่างกลุ่ม/ฝ่าย โดยทุกวันจันทร์มีการหารือร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีการคุยกันหน้าเสาธงทุกเช้า 8.00 น. ทุกคนมีหน้าที่ช่วยงานกันในกรณีงานเร่งด่วนหรือเป็นงานของศูนย์ฯ

            การจัดการด้านการผลิต มีการจัดทำแผนการผลิตล่วงหน้า 1 ปีและ 3 ปี รวมทั้งการประเมินผลเพื่อจัดทำแนวทางปีต่อไปและส่วนใหญ่สามารถปฎิบัติงานได้ตามแผนที่วางไว้และบางแผนบรรลุเกินเป้าหมายที่วางไว้

                            Burirum3

             รูปแบบไร่นาสวนผสมที่มีเกษตรกรยากจนเข้าอยู่ประจำ

           ความพึงพอใจของลูกค้าผู้รับบริการ

           ความพึงพอใจต่อบริการและผลิตภัณฑ์ของศูนย์  ลูกค้าส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการบริการของศูนย์ระดับมาก

           ภาพลักษณ์ขององค์กร ศูนย์ฯมีภาพลักษณ์ขององค์กรที่ดีโดยทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร และลูกค้าที่มารับบริการต่างมีความประทับใจต่อองค์กร

           กระบวนการด้านการตลาด ศูนย์ฯมีการวางแผนการผลิตโดยสำรวจความต้องการของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ โดยสำรวจความต้องการพันธุ์พืชและหลักสูตรการฝึกอบรมก่อนวางแผนการผลิต

          การจัดการลูกค้าสัมพันธ์  ได้ดำเนินการบริการลูกค้าโดยการฝึกอบรม 5,297 รายใน 11 โครงการ ผู้มาศึกษาดูงาน 21,095 รายในปี2549 ลูกค้าส่วนใหญ่มีความประทับใจ

                                Burirum1

                        เกษตรกรที่ปฎิบัติจริงพื้นที่บริเวณศูนย์ฯ

         การเงิน

        การเพิ่มรายได้  ศูนย์ฯสามารถบริหารเงินงบประมาณจากแหล่งต่าง ๆ ให้เกิดรายได้ โดยมีรายได้จากการจำหน่ายพันธุ์พืชและการให้บริการอาคารสถานที่รวมเป็นเงินประมาณ 9 แสนบาท ซึ่งสามารถนำนโยบายกรมฯไปปฏิบัติให้เกิดรูปธรรมชัดเจน

       การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ศูนย์ฯให้ความสำคัญในการลดต้นทุนการผลิตและลดการสูญเสียการผลิต โดยการ  ลดการใช้ระบบพัดลมและการระเหยน้ำในโรงเรือน โดยใช้ระบบเปิดปิดม่านและสังเกตุสภาพแวดล้อม  สามารถประหยัดไฟได้ร้อยละ 20  จัดการน้ำแบบหมุนเวียนจากระบบโรงเรือน ประยุกต์ใช้วัสดุการปลูกพืชเพื่อลดต้นทุน มีแผนการสร้างต้นแม่พันธุ์ต่าง ๆ

       การหาแหล่งงบประมาณจากที่อื่นๆ  ศูนย์ฯได้รับงบประมาณจากผู้ว่า CEO มาดำเนินการปี 2549 จำนวน 21.1 ล้านบาท

      ผลงานดีเด่น  

     มีผลงานดีเด่นหลายเรื่องเช่นการสร้างแปลงแม่พันธุ์พืช 17 แปลง 400 ไร่ มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี่การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โครงการหมู่บ้านต้นแบบแก้จนคนบุรีรัมย์  แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

     เมื่อเปรียบเทียบผลงานที่เกิดขึ้นมากมาย กับจำนวนข้าราชการมีเพียง 5 คน ลูกจ้างชั่วคราว 30 คน พื้นที่รับผิดชอบประมาณ 600 ไร่แล้ว  เห็นความพยายาม ทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเป็นประโยชน์กับเกษตรกร นับว่าเป็นความภาคภูมิใจของชาวส่งเสริมการเกษตรที่หลายท่านได้ไปดูกิจกรรมของศูนย์แล้วประทับใจมากคะ

ธุวนันท์ พานิชโยทัย

25 ต.ค.49

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 55520เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2006 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขาย ต้นไผ่หม่าจูต้นละ 150 บาทครับ
ต้นเรียกจิ้งจก ต้นละ 100 บาท
เมล็ดต้นเรียกจิ้งจก 15 เมล็ด 150 บาท
มะเดื่อฝรั่ง ต้นละ 1000 บาท
ติดต่อคุณศักดา 036-320483 หรือ 0859491714
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท