ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

การเขียนบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่


            เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556ผมได้มีโอกาสได้ไปนั่งเรียนรู้ เคียงข้างกับ อาจารย์ดร.สุมาลี เงยวิจิตร เรื่อง “การเขียนบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่” (Area Based Development Research Journal - ABC)ของ สกว. ณ อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับอาจารย์กรรณิการ์ หุตแพทย์ และอาจารย์สยัมวรา เชื้อทิม จากกองบรรณาธิการของวารสาร และเพื่อนร่วมเรียนรู้ในห้องเดียวกันอีกกว่า 30 คน ต้องขอขอบคุณอาจารย์ทั้งสองท่านเป็นอย่างสูง ที่ได้ให้โอกาสกับพวกเราชาว ม.อุบลฯ ซึ่งอาจารย์พยายามที่จะกระตุ้นให้อาจารย์และนักวิจัย ในมหาวิทยาลัยได้ทำวิจัยและสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น อันจะเกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม ให้เกิดความผาสุกต่อไป นอกจากนั้นยังเป็นการพัฒนาด้านวิชาการของนักวิจัยอีกด้วย

 

          จากข้อแนะนำที่อาจารย์ได้กรุณาให้แนวทางการเขียน เพื่อที่จะนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารครั้งนี้ ผู้เขียนจะต้องเตรียมต้นฉบับจากเงื่อนไข 9 ข้อ ดังนี้

1. คุณค่างานวิจัย ทีม บก.จะต้องพิจารณาจากความทันสมัย ว่าเป็นเรื่องใหม่หรือไม่ หรือเป็น   ความรู้ใหม่/นวัตกรรมหรือไม่ มีความสัมพันธ์กับนโยบายระดับประเทศ หรือสร้างทางเลือกให้แก่สังคมหรือไม่ นอกจากนั้นยังพิจารณาจากการใช้ประโยชน์ในพื้นที่/ ขยายผลและเกิด   ผลกระทบต่อกลุ่มเป้าหมาย/ สังคมหรือไม่

  2.  ชื่อเรื่อง ต้องตรงประเด็น สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง

  3.  บทคัดย่อ ต้องมีความจูงใจ มีจุดประสงค์ชัดเจน มีแบบแผนการดำเนินงานวิจัยที่ถูกต้อง  มีผลวิจัยที่ครบทุกประเด็น นอกจากนั้นต้องมีข้อเสนอแนะด้วย

  1. บทนำ ต้องกล่าวถึงความสำคัญของปัญหาหรือปัญหาของการวิจัยที่ชัดเจน กะทัดรัด มี  ทฤษฎีและงานวิจัยที่อ้างอิง มีวัตถุประสงค์ สมมุติฐาน(ถ้ามี) และต้องบอกประโยชน์ที่จะได้จากการวิจัย
  2. วิธีการวิจัย ต้องอธิบายขั้นตอนการวิจัย วิธีการ การเลือกตัวอย่าง วิธีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และต้องบอกด้วยว่าใช้สถิติอะไร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย หรือสูตรหรือสมการ
  3. ผลการวิจัย ต้องเขียนผลเชิงประจักษ์ให้เห็นผลชัดเจน อาจจะนำเสนอในรูปแบบของ  ตาราง และอาจมีภาพประกอบด้วย แต่อย่าลืมว่าผลการวิจัยก็คือผล ไม่ใช่เขียนอภิปรายหรือเอาเนื้อหาอื่นมาปนด้วย

 

           7.  การอภิปรายผล ต้องอภิปรายให้ชัดเจนว่าเป็นอย่างไร โดยมีข้อเสนอแนะที่เกิดจากผลการวิจัยทั้งด้านการพัฒนา หรือด้านการวิจัยซึ่งอาจจะเป็นคำถามใหม่เพื่อที่จะนำไปต่อยอดต่อไปในอนาคต

          8. เอกสารอ้างอิง ต้องมีความทันสมัย เพื่อเป็นการยืนยันข้อมูลของเราไม่ให้ล้าสมัย ดังนั้นควรที่จะศึกษาให้มาก และไม่ควรเป็นงานที่เก่าเกินไปมาอ้างอิง เป็นงานที่มีคุณภาพ/ ความน่าเชื่อถือ และมีปริมาณที่นำมาอ้างอิงมากพอ

          9.  การเขียนบทความวิจัย ในการเขียนควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เขียนให้ถูกหลักไวยากรณ์ ดังนั้นผู้เขียนจะต้องมีศิลปะการเขียนในการเขียนควบคู่ไปด้วย

          นี่คือเงื่อนไข 9 ประการ ที่ผู้จะส่งผลงานวิจัยไปตีพิมพ์เผยแพร่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ เพื่อจะได้ไม่ผิดหวังในการตีพิมพ์ ซึ่งผมเองก็จะได้พยายามเรียนรู้และฝึกการเขียนเพื่อในวันข้างหน้าจะได้มีโอกาสได้รับการตีพิมพ์กับคนอื่นเขาบ้าง

        ท้ายที่สุดนี้ขอเป็นกำลังใจให้กับเพื่อนๆ นักวิจัยที่กำลังสร้างสรรค์ผลงานที่ดีมีคุณภาพสู่สาธารณะ ให้ได้รับการตีพิมพ์ผลงานวิจัยโดยเร็ว

หมายเลขบันทึก: 555118เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2013 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2013 13:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สงสัย ต้อง วิจัยพื้นที่ ประเทศสยาม ทำไม การศึกษา ตกต่ำ เป็นเพราะ นโยบาย หรือ อะไรครับ

วิจัยเชิงพื้นที่หน้ากระดาษเพื่อชิงพื้นที่ หรือเปล่าครับ

กราบขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงครับ ที่เข้ามาทักทายดั่งสายฟ้าแลป อาจารย์สบายดีนะครับ

ผมว่า...ที่การศึกษาตกต่ำในยุคนี้ ผมคงไม่กล้าที่จะฟันธงแน่ชัดนะครับว่าเป็นเพราะสาเหตุใดแน่ แต่ในเบื้องต้นผมคิดว่าส่วนหนึ่งน่าจะอยู่ที่ตัวบุคคล เนื่องจากคนไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตนเอง คนไม่ยอมลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงสังคม คนไม่สนใจผู้อื่น คนไม่อยากวุ่นวายกับคนอื่น และคนไม่สนใจ...ฯลฯ แต่..ผมคิดว่ากระบวนการวิจัยท้องถิ่นหรือพื้นที่นี่หละครับจะเป็นตัวกระตุ้นให้คนเกิดการเรียนรู้ และลุกขึ้นมาจัดการกับการศึกษาของบ้านเราให้ดีขึ้นครับ

ด้วยความเคารพ

อุทัย

ขอบคุณคุณพี่อาจารย์ Ple

สบายดีนะครับ อยู่ กทม. หวังว่าคงไม่วุ่นวายเหมือนในข่าวนะครับ

เรียนคุณ ณัฐนพ

การวิจัยเชิงพื้นที่ ผมคิดว่าคงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนเกิดความตระหนักรู้ แต่ในด้านการชิงพื้นที่ก็คงมี และเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงนั่นแหละครับ เนื่องจากมีพื้นที่จำกัด แต่คนอยากได้พื้นที่เดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามผมคิดว่ายังมีพื้นที่อีกหลายๆ แห่งที่เหมาะกับเรา และเต็มใจที่จะให้เราไปอยู่ในพื้นที่นั้นครับ เพียงแต่ต้องใช้ความพยายามในการหาครับ

ขอบคุณครับ

อยากเห็นเนื้องานวิจัยเพื่อชุมชน...มีรากฐานของการสร้างความมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญด้วย เพื่อนำสู่การขับเคลื่อนที่มีประสิทธิผลค่ะ

ขอบคุณมากครับ

ตอนนี้ทีมงานกำลังขับเคลื่อนในเรื่องของการจัดการความรู้น้ำท่วมซ้ำซากอยู่ครับ จะได้นำมาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท