ผู้สูงอายุ กับ "นันทนาการ"


วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับคำว่า นันทนาการ หรือ กิจกรรมนันทนาการ และบทบาทหน้าที่ของ

“นักกิจกรรมบำบัด” อย่างฉันในผู้สูงอายุกันนะค่ะ

 

นันทนาการ หมายถึง กิจกรรมที่เราเลือกทำ ด้วยความสมัครใจ ในเวลาว่างและมีความสุขใจในการทำกิจกรรม

 

 

มีลักษณะ ดังนี้

-      มีลักษณะเป็นกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย

-      มีความสุขความพอใจที่จะทำ และไม่เกิดความตึงเครียด

-      กิจกรรมที่ทำนั้นไม่ได้มุ่งเน้นเพื่อหารายได้

-      เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าต่อผู้ประกอบกิจกรรม

 

ประเภทของกิจกรรมนันทนาการ

ก็มีด้วยกันหลายประเภท  เช่น

การฝีมือ,เกมส์,กีฬา Outdoor Indoor,ความบันเทิงดนตรีหรือร้องเพลงการปลูกต้นไม้,การเลี้ยงสัตว์,การถ่ายรูป,เต้นรำ และ การฉลองในโอกาสพิเศษต่าง ๆการจัดเลี้ยงปีใหม่ งานเลี้ยงวันเกิด

 

สิ่งที่เราควรนึงถึงในการเลือกกิจกรรมนันทนาการ

-      ควรเหมาะกับวัยของผู้ทำกิจกรรม

-      สุขภาพ

-      ความถนัดหรือความชอบของตนเอง

-      ลักษณะงานประจำวัน เราควรเลือกที่สอดคล้องกัน

-      ฐานะทางเศรษฐกิจ

 

 

 

           ยกตัวอย่างเช่น ในผู้สูงอายุ มักมีข้อจำกัดในด้านร่างกาย อาจมีอาการปวดตามข้อ เหนื่อยง่าย ไม่มีเรี่ยวแรงหรืออาจมีโรคประจำตัวอื่นๆ

               จึงควรเลือกกิจกรรมที่ออกแรงไม่มากนัก โดยบทบาทของ “นักกิจกรรมบำบัด” จะมีส่วนเข้าไปประเมินทักษะความสามารถและความสนใจ การเลือกสิ่งที่ตนเองชอบหรือถนัดจะช่วยให้เกิดความรู้สึกเพลิดเพลินในการทำ กิจกรรมนั้น,ออกแบบและฝึกทักษะการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต และ ออกแบบและประดิษฐ์อุปกรณ์เสริม

 

    

 

 

                ตัวอย่างนันทนาการที่ฉันเห็นได้ในทุกๆวันก็คือ ปู่และย่า ของฉันเองค่ะ ท่านทั้ง2เป็นคนรักสัตว์ ที่บ้านฉันเลี้ยงแมวค่ะ ปู่และย่าของฉันจะเป็นคนให้อาหารเดิมทีชามอาหารจะถูกวางไว้ที่พื้นและจะต้องคอยเทอาหารแมวออกจากถุงทุกวัน ทำให้ปู่ต้องคอยก้มอยู่ทุกครั้งบางครั้งก้มนานๆเขาก็จะบ่นว่าเมื่อยและก็เวียนหัว “ฉันจึงคิดหาวิธีให้อาหารใหม่โดยการเอาชามอาหารมาวางไว้บนโต๊ะซึ่งเป็นโต๊ะที่สูงประมาณระดับเอวและหากล่องพลาสติกใส่อาหารแมวรวมทั้งช้อนเอาไว้ตัก” เพื่อจะได้สะดวกขึ้นและไม่เป็นอันตราย

             ส่วนเวลาว่างอย่างเช่นช่วงดูทีวี ปู่และย่าของฉันก็จะนั่งเล่นกับแมวไปด้วย ทำให้จิตใจของท่านได้ผ่อนคลายสงบและเพลิดเพลินไปในตัว

 

หมายเลขบันทึก: 554018เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2013 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2013 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นการปรับกิจกรรมให้เข้ากับผู้สูงอายุที่ทำได้ไม่ยากเลยเนอะ

เรียนแล้วนำไปใช้จริง เยี่ยมไปเลยค่ะ

ในกรุงเทพฯ...หากกิจกรรม(นันทนาการ)ของผู้สูงอายุ มีอยู่ทั่วๆไป นอกเหนือจากชมรมตามโรงพยาบาล สวนสาธารณะ และตามหมู่บ้าน ห้างสรรพสินค้าต่างๆ ก็น่าจะจัดให้มีกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุได้ เช่น มีร้านนั่งอ่านหนังสือ ร้านฟังเพลงร้องเพลง ร้านอินเตอร์เน็ต และร้านอาหารสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุ รวมทั้งเพิ่งปริมาณรถเข็นในการบริการผู้สูงอายุให้เพียงพอ อาจมีอาสาสมัครค่อยบริการเข็นรถให้ด้วยก็ยิ่งดีนะคะ...

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ ดีดี นะค่ะ ^^

ขอบคุณ ค๊าาาาา อาจารย์ แยม =)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท