(61) ถึง..ชุมชน 100 เล่มเกวียนเปลี่ยนชีวิต


เมื่อดิฉันเรียนจบสมความตั้งใจ ก็กลับมานั่งมองทรัพย์สมบัติของตนเอง มีหนังสือมากมายเหลือคณา ทำอย่างไรทรัพย์สินเหล่านี้จะเกิดประโยชน์สูงสุด? คุ้มค่ากับการสั่งสมนานหลายปี..

ดิฉันเพิ่งได้อ่านบทความ 'ประสบการณ์ครั้งแรกกับคนเผาถ่าน' ของคุณครูพีร์ พีรพัฒน์ วรวัฒน์ เชิญชวนชาว GTK และเปลี่ยนประสบการณ์การอ่านหนังสือเล่มแรก มีกฎกติกาเยอแยะมากมายก่ายกอง แม้อยากจะแลกเปลี่ยนแต่ดิฉันทำไม่ได้หรอกค่ะ เพราะจำชื่อหนังสือไม่ได้แล้ว จำได้เพียงว่าทะเลาะกับครู .. ก็แค่นั้น

ดิฉันชอบอ่านหนังสือค่ะ เหมือนได้ท่องเที่ยวในโลกจินตนาการ เราสองสามีภรรยาพาลูกสาวนั่ง-นอนบนตักแล้วอ่านหนังสือให้ฟังตั้งแต่เธอทั้งสองยังจำความไม่ได้ ผลหรือคะ output เป็นเลิศ ส่วน outcome ดีมากเห็นผลก่อน output นานหลายปี

.. เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่ง ในบรรยากาศอ่านหนังสือร่วมกันพ่อ-แม่-ลูกสาว 2 คน เรากำลังคุยกันเรื่องหนอนหนังสือ ดิฉันถามลูกสาวคนโตว่า โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร "เอินอยากเป็นหนอนค่ะ" หันมาถามลูกสาวคนเล็กบ้าง เธอตอบโดยไม่ต้องคิดว่า "อายอยากเป็นนก"มื่อถามเหตุผล เธอตอบอย่างฉะฉานว่า "เป็นนกมากินหนอนไง" ฮา.. ตอนนี้หนอนก็กำลังกินนกสมใจ เพราะพี่สาวอาสาส่งเสียน้องสาวเรียนจนกว่าจะจบ ป.โท

กลับมาเรื่องหนังสือ เมื่อดิฉันเรียนจบสมความตั้งใจ ก็กลับมานั่งมองทรัพย์สมบัติของตนเอง มีหนังสือมากมายเหลือคณา ทำอย่างไรทรัพย์สินเหล่านี้จะเกิดประโยชน์สูงสุด? คุ้มค่ากับการสั่งสมนานหลายปี

ด้วยหลักการและวัตถุประสงค์เดียวกันกับคุณครูพีร์ ดิฉันใช้พื้นฐานเรื่องสารสนเทศและฐานข้อมูลที่พอมีอยู่มาจัดระบบเอกสารส่วนตัวในรูปแบบของฐานข้อมูล link ไป link มาสนุกดี แล้ว print เป็น 'รายการ' เอกสาร (1) electronic file รายงานวิจัยมากกว่า 700 เรื่อง เป็นหนังสือมากกว่า 500 เล่ม และ (2) เอกสารแบบ paper (กระดาษ) อีก 900 กว่าเล่ม ยังไม่รวมบทความ วีดีทัศน์ แผ่นภาพที่ยังจัดไม่เสร็จ

ส่วนที่เสร็จแล้วนำไปฝากไว้ที่ห้องสมุดของโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ โดยปรึกษากับประธานกรรมการห้องสมุดว่ามีความประสงค์จะเผยแพร่ให้บุคลากรรับทราบว่ามีแหล่งงานวิชาการเพิ่มเติม เชิญมาใช้บริการได้ ท่านสนับสนุนเต็มที่ โดยกำชับว่าให้บรรณารักษ์ห้องสมุดซึ่งเป็นเลขาฯ ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ด้วย

ดิฉันนำแฟ้มเอกสาร 'รายการ' ไปฝากไว้กับบรรณารักษ์ในวันนี้แล้ว โดยวาง เงื่อนไขการใช้บริการ electronic file และเอกสารไว้ 3 ข้อ คือ 1) ขอหรือขอยืมไม่เกินครั้งละ 3 ชิ้น 2) ติดต่อใช้บริการโดยตรงทาง e-mail รวมการให้คำแนะนำเอกสาร กรณีที่ยังไม่ทราบว่าตนเองต้องการอะไรอีกด้วย 3) จะใช้บริการได้อีกเมื่อส่งสรุปต่อยอดงานที่ใช้บริการครั้งก่อนแล้ว

เหตุผลเบื้องหลัง ข้อ 1) เพื่อป้องกันการสะสมโดยไม่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ข้อ 2) เพื่อไม่เป็นการรบกวนเวลาราชการมากเกินไป ข้อ 3) ข้อนี้สำคัญ ดิฉันเลียนแบบ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ค่ะ เพื่อต่อยอดความรู้ที่มีอยู่เดิม ไม่ยากหรอกค่ะ ชวนพูดคุยเดี๋ยวก็เขียนได้เอง

กฎกติกาของดิฉันพอจะสู้ของคุณครูพีร์ได้ไหมคะ .. หวังว่าจะมีผู้สนใจใช้บริการในเร็ววันนะคะ

หมายเลขบันทึก: 554001เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2013 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2015 08:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

การใช้ ระบบ ITมาช่วยงานการสอน...ดีมากๆ นะคะ ....

ขอบคุณบันทึกดีดี นี้้ค่ะ

ขอบคุณ Dr.Ple และทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมค่ะ

ขอบคุณครับผม คุณพี่ดารนี ชัยอิทธิพร ที่เขียนถึงชุมชน 100 เล่มเกวียน..กติกามีไว้เสมือนรั้วริมทางกางกั้น..เพื่อให้รางวัล..หนอนน้อยที่พึ่งต้วมเตี้ยม..เลียบทาง..แต่สำหรับผีเสื้อรุ่นใหญ่ที่โบยบินมานานแล้ว..แค่เล่าให้ฟังก็ประทับใจแล้ว...จะป่วยกล่าวไปใยถึงกติกาใช่ไหมครับผม..ติดตาม..รอ..อ่านเรื่องเล่าของคุณพี่ด้วยความชื่นชมครับผม

ขอบคุณมากครับผม เป็นหนังสือที่มีชีวิตชีวามากครับ

ถึงคุณขจิต ฝอยทอง ดิฉันใส่คำสำคัญที่ต้องการให้แล้วนะคะ (ช้าเพราะมีปัญหา เพิ่งบันทึกการแก้ไขได้ค่ะ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท