"พี่หนาน"
นาย พรพจน์ พี่หนาน เรียงประพัฒน์

น้ำลอกเสน่ห์เมืองเหนือ(ตอนล่าง)


แนะนำหมู่บ้านน้ำลอก พร้อมชมความงามด้านวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ที่ยังคงร่วมกันปฏิบัติและรักษาไว้

๑๔/๑๑/๒๕๕๖

********

น้ำลอกเสน่ห์เมืองเหนือ(ตอนล่าง) 

 

            บ้านน้ำลอก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ และหมู่ที่ ๑๓ ตำบลบ่อทอง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ มีประวัติความเป็นมาจากการเล่าขานว่า ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๐๐ ชนกลุ่มหนึ่งที่มีภูมิลำเนาแถบบ้านหนองอ่าง หนองแส เชียงแสน เมืองเชียงราย จำนวน ๑๒ หลังคาเรือนเรือน พากันอพยพหนีภัยสงครามฮ่อลงมาทางใต้ เมื่อมาถึงแถบบ้านหลวงป่ายาง ตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์(ปัจจุบัน) พบทำเลมีที่ดินอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำไหลผ่านและมีกลุ่มต้นยางขนาดใหญ่ต้นสูงขึ้นอย่างหนาแน่น จึงตัดสินใจตั้งรกรากที่นี้ และตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่นี้ว่า “บ้านหลวงป่ายาง” ต่อมาจึงชักชวนกันสร้างวัดขึ้นครั้งแรกคือ "วัดหลวงป่ายาง" ชุมชนกลุ่มนี้ยังรักษาจารีต ประเพณี วัฒนธรรมทางเหนืออย่างเหนียวแน่นไม่เสื่อมคลาย แม้ว่าจะย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในหลายพื้นที่ก็ตาม รวมทั้งประเพณีการเทศน์มหาชาติ(เดือนยี่)ของกลุ่มหนุ่มสาว พ่อบ้าน แม่บ้าน ด้วย                                                                                                         

            จนถึง พ.ศ. ๒๔๔๒  ชุมชนขยายตัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ประจวบกับสมัยนั้นเกิดโรคระบาดชาวบ้านเรียกกันว่า “โรคห่า” หลวงพ่อสุรินทร์ ฐิตวโร (สกุลเดิม กันภัย) ซึ่งเป็นพระภิกษุอุปสมบทอยู่ที่วัดหลวงป่ายาง ตำบลน้ำอ่าง ได้ชักชวนชาวบ้านจำนวน ๒๔ หลังคาเรือน ย้ายถิ่นฐานเพื่อหนีโรคระบาดและไปสร้างหมู่บ้าน พร้อมกับจับจองที่ดินทำกินแห่งใหม่ และเรียกหมู่บ้านแห่งใหม่นี้ว่า “บ้านไร่นอก” หรือ “บ้านป่านอก” กาลต่อมา เนื่องจากที่พักและที่ทำกินอยู่ใกล้กับคลองน้ำลอก จึงเพี้ยนเสียงเรียกขานกันใหม่เป็น “บ้านน้ำลอก” และมีการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น มีการกั้นฝายหลวง(ร่วมกับบ้านแพะ) กั้นคลองน้ำลอกและทำคลองน้ำสายเล็กๆ ไปสู่พื้นที่ทำนาหรือเพื่อใช้ในการเกษตร

             เมื่อหมู่บ้านน้ำลอกขยายใหญ่มากขึ้น จึงได้มีการแยกหมู่บ้านจากเดิม หมู่ ๔ แยกเป็นหมู่ที่ ๑๓ อีกหนึ่งหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบันของหมู่ ๔ คือ นายยอด จันทร์หอม ส่วนผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๑๓ คือ นายปรีชา  วงศ์คำเจริญ  ทั้งสองหมู่บ้านก็ยังคงร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาหมู่บ้านให้เกิดความเจริญ รวมทั้งยังช่วยกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของหมู่บ้านเอาไว้เป็นอย่างดี ดูภาพตัวอย่างดังต่อไปนี้  

ขบวนฟ้อนรำต้อนรับผู้ใหญ่ของสาธารณสุขที่มาตรวจเยี่ยมวัดและหมู่บ้านช่วงกลางพรรษาปี ๕๖

 

ประเพณีการบวชพระสามัคคีจัดขึ้นที่วัดดอนมูล(น้ำลอก) ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน

 

ขบวนแห่กัณฑ์เทศน์ของกลุ่มแม่บ้าน พ่อบ้าน และกลุ่มหนุ่มสาว ในปีนี้(๒๕๕๖)

นางรำรุ่นเยาว์ของบ้านน้ำลอก รำในงานกัณฑ์ธรรมประจำปีของหมู่บ้าน(ปี๕๖)

 

ขบวนแห่กัณฑ์ธรรมของชาวบ้านสาวรำวงรำบนเวทีบนรถไทแลนด์(แฟ้มภาพ)ปีนี้ไม่ได้จัดรำวง 

 

 ครูใหญ่โรงเรียนบ้านน้าลอก(รัฐราษฎร์รังสรรค์)มอบรางวัลให้กับนักเรียนนางรำ(ปี๕๕)

 

การถวายกัณฑ์ธรรมของกลุ่มหนุ่มสาวและกลุ่มพ่อบ้านแม่บ้านของน้ำลอก(ปี๕๖)

 

การถ่ายภาพเป็นที่ระลึกหลังจากถวายกัณฑ์ธรรมเสร็จแล้ว(ปี๕๖)

         

               บ้านน้ำลอกเป็นตัวอย่างของหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จในหลายๆ ด้านตามที่ผมได้สัมผัสมา ไม่ได้เข้าข้างว่าเป็นหมู่บ้านของภรรยา แต่เป็นหมู่บ้านที่ผู้คนมีความรัก ความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สังเกตจากการทำงาน การพัฒนา การก่อสร้าง การจัดงาน และการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี ยังคงมีความงดงาม โดยการนำของท่านพระครูนิวิฐธรรมวิมล เจ้าคณะตำบลบ่อทอง เจ้าอาวาสวัดดอนมูล(น้ำลอก) มาจนถึงปัจจุบัน 

              หากท่านใดสงสัยหรืออยากมาเที่ยวก็ขอเชิญมาสัมผัสกับเสน่ห์แห่งวัฒนธรรมคนเมืองเหนือ(ตอนล่าง)ได้ด้วยตนเองช่วงที่มีงานเทศกาลหรืองานบุญต่าง ๆ ตามที่อยู่เบื้องต้นตามความสะดวกครับ (อยู่ห่างจากบ้านแพะประมาณ ๑ กิโลเมตร)

 

ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ

ขอบคุณโกทูโนว์

 

 

หมายเลขบันทึก: 553615เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2013 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2013 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

-สวัสดีครับพี่หนาน..

-ตวยมาแอ่วบ้านน้ำลอกครับ..

-ชุมชนเปิ้นเข้มแข็งดีนะครับ..

-หากมีโอกาสจะไปแอ่วบ้่านน้ำลอกครับ.

-ขอบคุณครับ

สวัสดีหลังเทศกาลลอยกระทงครับคุณเพชร ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชม ช่วงนี้..แคร์กับงานบุญ "ยี่เป็ง" (กัณฑ์เทศน์) มากมายเลยไม่ค่อยได้เข้ามาเขียนบันทึกหรืออนุทินเลย...

แคสีแดงไม่เคยได้เห็นสักครั้งเลยสวยงามดีนะครับ...ว่าแต่กินได้เหมือนสีขาวหรือเปล่า?...ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับพี่่หนาน..

-ตามมาบอกว่า"แคแดง"กินได้เหมือน"แคขาว"ครับ...

-อร่อยเหมือนกันครับ..

-ขอบคุณครับ


ขอเก็บไว้เป็นข้อมูลจ้าหนานเอิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท