โรฮิงญาในพม่า บทแปลจาก THE POLITICS OF ISLAMIC IDENTITY IN SOUTHEAST ASIA / SYED SERAJUL ISLAM


ประวัติความเป็นมาของชาวโรฮิงญา

โรฮิงญาในพม่า

เหมือนขวัญ เรณุมาศ

 

ต้นตอของความขัดแย้ง

 

ชาวมุสลิมในพม่าอยู่รวมกันในอรากันซึ่งเป็นพรมแดนที่มีด้านตะวันตกเฉียงเหนืออยู่ติดกับรัฐมุสลิมเพื่อนบ้านอย่างบังคลาเทศอรากันเคยแยกตัวเป็นอาณาจักรอิสระ  จนกระทั่งปี1784พ่อค้าชาวอาหรับติดต่อกับชาวอรากันมาและได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแพร่ในอรากันในปี788โดยประมาณตลอดช่วงเวลาดังกล่าวอาณาจักรอรากันถูกปกครองโดยราชวงศ์จันทราพ่อค้าชาวอาหรับดำเนินกิจกรรมในการเผยแพร่ศาสนาอิสลามควบคู่กับการการค้าขายของพวกเขาอย่างต่อเนื่องกระบวนการดังกล่าวจึงทำให้ประชาชนจำนวนมากในอรากันเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามด้วยความสมัครใจชาวอาหรับในยุคเริ่มต้นหลายๆคนแต่งงานกับหญิงชาวบ้านและตั้งรกรากอยู่ในประเทศพม่าการเปลี่ยนแปลงการสมรสข้ามสัญชาติและการอพยพย้ายถิ่นฐานเหล่านี้คือสาเหตุที่ทำให้จำนวนประชากรชาวมุสลิมเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อมาชาวมุสลิมเหล่านี้ก็ถูกรู้จักกันในนามว่า“โรฮิงญา”

              อรากันเป็นอาณาจักรอิสลามที่เคยปกครองตนเองมานานกว่าสามศตวรรษ จนกระทั่งในช่วงกลางของศตวรรษที่ 10 พระเจ้าโบดอ พระยาแห่งกรุงอังวะของพม่าก็วางแผนบุกโจมตีอรากัน และเข้าครอบครองอรากันได้ในปี 1784 การเข้ามาครอบครองอรากันของพม่านับเป็นจุบจบอิสระภาพของชาวอรากัน อย่างไรก็ตาม ต่อมาในปี 1824 บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษก็ได้เข้ายึดครองพม่าให้เป็นอณานิคมของอังกฤษ ประเทศพม่าทั้งหมดจึงต้องเข้าสู่ระบบการบริหารจัดการเช่นเดียวกับที่อินเดีย ไม่เว้นแม้แต่ในดินแดนของอรากัน ซึ่งระหว่างที่พม่าตกอยู่ภายใต้อณานิคมของอังกฤษนั้น เป็นจังหวะเดียวกับที่ผลิตผลจำพวกข้าวในพม่ากำลังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก อังกฤาจึงได้นำเอาระบบเชติยาร์ (ระบบกู้ยืมเงิน) จากอินเดียมาใช้ในพม่า การกู้ยืมเงินของชาวนาพม่า นอกจากจะทำให้พวกเขาเป็นหนี้สินแล้ว ยังทำให้พวกเขาสูญเสียพื้นที่ทำกินอีกเป็นจำนวนมาก ในช่วงทศวรรษที่1930ความไม่พอใจที่ชาวพม่ามีต่อระบบเชติยาร์ก็ถูกเปลี่ยนกลายเป็นเหตุจลาจลระหว่างสัญชาติระหว่างชาวมุสลิมในประเทศที่สืบเชื้อสายมาจากชาวอินเดียและชาวพม่าจนทำให้สมาชิกหลายร้อยคนของทั้งสองฝ่ายถูกฆ่าตายในเหตุดังกล่าวและต่อมาในปี 1938 ความขัดแย้งระหว่างสัญชาติก็เปลี่ยนกลายเป็นความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างชาวพุทธพม่า กับชาวมุสลิมในประเทศอินเดีย ดังจะสังเกตุได้จากการรายงานสถานการณ์ในปี 1942 ว่าชาวโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของอรากันถูกจู่โจมโดยคู่อริชาวพุทธจนทำให้ชาวโรฮิงญาเหล่านี้ต้องหนีขึ้นไปทางตอนเหนือของอรากันและตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชาวอรากันก็ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือเขตเหนือซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของชาวโรฮิงญามุสลิมและเขตใต้ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของระขึนที่นับถือศาสนาพุทธ    ต่อมาเมื่ออังกฤษมอบเอกราชให้กับพม่าพม่าก็เริ่มการแข็งข้อกับกลุ่มย่อยหลายๆกลุ่มด้วยเหตุที่กลุ่มชาวพม่าเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดจึงได้รับสิทธิให้ขึ้นปกครองประเทศแต่กลุ่มย่อยทางชนชาติที่เหลือ เช่น  กลุ่มไทยใหญ่กะเหรี่ยงคะฉิ่น  และอรากันก็หลาดกลัวพม่าจึงเรียกร้องให้พรรคชาตินิยมของประเทศจัดตั้งสันนิบาตเสรีภาพประชาชนขึ้นเพื่อต่อต้านระบบฟาสซิสต์ขึ้นและเพื่อให้ได้คำรับรองว่าแต่ละเขตจะได้รับการปกครองที่เป็นอิสระจากพม่าผู้นำพรรคชาตินิยมนำโดยนายพลอองซานจึงทำข้อตกลงร่วมกันกับกลุ่มชนชาติที่เหลือให้คำสัญญาว่าทุกรัฐจะได้รับการปกครองเป็นอิสระ  แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมิหนำซ้ำพม่ายังได้ประกาศให้เกิดรัฐใหม่ที่มีชื่อว่าพม่าเพื่อใช้เป็นศูนย์รวมแห่งการปกครองเพียงแห่งเดียว  และหลังจากปี1958นายกรัฐมนตรีอูนุได้ประกาศให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติซึ่งประกาศดังกล่าวกลับยิ่งทำให้ชาวมุสลิมในเขตอรากันยิ่งต้องการแยกตัวเป็นเอกราชจากพม่า

การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง

               เมื่อรัฐบาลพม่าประกาศให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักประจำชาติรัฐบาลของพม่าก็วางมาตรฐานเพื่อปลดข้าราชการระดับผู้ใหญ่ที่นับถือศาสนาอิสลามออกจากตำแหน่งเพื่อนำข้าราชการที่นับถือศาสนาพุทธเข้าไปปฏิบัติหน้าที่แทนความพยายามทั้งหมดเหล่านี้แสดงให้เห็นความตั้งใจของรัฐบาลพม่าที่จะย้ายถิ่นฐานชาวพุทธของพม่ากลับไปสู่ดินแดนของอรากันเพื่อลดจำนวนชาวมุสลิมให้น้อยลงซึ่งภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวนี้เองส่งผลให้นายจาฟาร์คามัล  เริ่มรวบรวมผู้คนแล้วเรียกตัวเองกว่ากลุ่มมูจาฮิดอย่างไรก็ตามกลุ่มมูจาฮิดไม่สามารถต่อต้านกองกำลังทหารของพม่าได้เพราะนายจาฟาร์ถูกลอบสังหารและต่อมาในปี1962รัฐบาลพลเรือนของพม่าถูกโค่นอำนาจและกองกำลังทหารก็ขึ้นมาปกครองประเทศแทนโดยกองกำลังทหารก็มีการประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญล้มระบบรัฐสภาและสั่งห้ามกิจกรรมการเคลื่อนไหวขององค์กรทุกประเภท  ในขณะที่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองประกาศข้อจำกัดไม่ให้ชาวโรฮิงญาย้ายถิ่นฐานไปที่อื่นได้ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับการถูกจองจำความโหดเหี้ยมของการปกครองภายใต้ระบอบทหารค่อยๆทวีความรุนแรงมากขึ้นจนกลุ่มโรฮิงญาโดยเฉพาะกลุ่มบัณฑิตที่เพิ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแอบลักลอบจัดตั้งองค์กรต่อต้านที่มีชื่อว่ากองกำลังอิสระโรฮิงญา(Rohingya Independence Front หรือ RIF)ที่มีเป้าหมายในการประกาศเอกราชให้กับอรากันแต่กลุ่มRIF ยังไม่สามารถเคลื่อนไหวอะไรได้มากนักเพราะอยู่ภายใต้การควบคุมที่แน่นหนาของรัฐบาลทหารกองทัพทหารของพม่าใช้อำนาจกดขี่ชาวโรฮิงญาอย่างรุนแรง    และความเคลื่อนไหวต่อมานายพลเนวินก็ได้ประกาศให้มีการจู่โจมกองกำลังปลดปล่อยโรฮิงญาครั้งใหญ่ภายใต้รหัส “การจู่โจมคิงดราก้อน” รัฐบาลทหารทำการควบคุมการเคลื่อนไหวของชาวบ้านด้วยการออกคำสั่งทำลายหมู่บ้านขนาดเล็กเพื่อย้ายประชากรมาอาศัยอยู่รวมกันในหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่รายล้อมไปด้วยรั้วสูงและมีทางเข้าออกเพียงประตูเดียว  และในช่วงปลายปี1975กลุ่มทหารผ่านศึกหัวรุนแรงของกองกาลังอิสระโรฮิงญาและบัณฑิตที่เพิ่งจบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยรวมตัวกันก่อตั้งแนวร่วมรักชาติโรฮิงญา(Rohinya Patriotic Front หรือ RPF) ขึ้นแต่เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความแข็งแกร่งของแผนปฏิบัติการคิงดราก้อนกลุ่มกองโจรดังกล่าวก็ถูกกวาดล้างอย่างรวดเร็วชายหญิงชาวโรฮิงญาหลายร้อยคนถูกจับตัวไปขังในคุกหลายๆคนถูกทรมานและฆ่าตายหญิงชาวโรฮิงญาจำนวนมากถูกข่มขืนอย่างเปิดเผยในแคมป์กักกัน  ชาวมุสลิมจำนวนเกือบ200,000 คนต่างพากันหวาดผวากับความโหดเหี้ยมของปฏิบัติการและความไม่แน่นอนที่มีต่อชีวิตและทรัพย์สินจนกระทั่งพวกเขาตัดสินใจหนีข้ามพรมแดนไปยังบังคลาเทศในปี1978สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติเริ่มให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มชาวโรฮิงญารัฐบาลบังคลาเทศติดต่อขอเจรจาต่อรองกับรัฐบาลพม่าเพื่อส่งตัวผู้ลี้ภัยกลับสู่ประเทศท้ายที่สุดเมื่อต้องเผชิญกับแรงกดดันอันท่วมท้นของนานาประเทศรัฐบาลพม่าก็ตอบตกลงรับตัวชาวโรฮิงญากลับเข้าประเทศอีกครั้ง

ผลการวิเคราะห์       การต่อสู้ยาวนานครึ่งศตวรรษของชาวโรฮิงญาในพม่าเพื่อให้ได้สิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมายกลับกลายเป็นผลทำให้พวกเขาต้องจากบ้านเกิดเมืองนอน,สูญสิ้นความเป็นพลเมืองและกลายเป็นคนไร้ประเทศปัจจัยใดเป็นสาเหตุของความล้มเหลวของชาวโรฮิงญา?จากทฤษฎีของ Huntington จะทำให้สามารถตรวจสอบเรื่องนี้ได้โดยการดูที่บรรยากาศทางการเมืองของพม่า, ความเข้มแข็งขององค์กรและการระดมการสนับสนุนทางการเมืองทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ

บรรยากาศทางการเมือง

เนื่องจากระบอบการปกครองในพม่าเป็นระบอบกดขี่บังคับรัฐบาลพม่าจึงได้มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะทำลายล้างชาวโรฮิงญาในช่วงเวลาหลายปีมานี้กลุ่มBurma Territorial Forces (BTT) ซึ่งมีประชากรถึง90% นับถือศาสนาพุทธได้ตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ในอรากันเพื่อที่จะควบคุมชาวโรฮิงญารัฐบาลระบอบประชาธิปไตยได้ประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติและลดจำนวนชาวมุสลิมและภายหลังทหารได้ยึดอำนาจรัฐบาลนายพลเนวินได้วางแผนล้มล้างชาวโรฮิงญาซึ่งมีแผนการดังนี้ระยะแรกพม่ารวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางและนำเอาระบอบสังคมนิยมมาใช้ระยะที่2ได้มีความพยายามให้แผนระยะยาวในเรื่องการทำให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักประจำชาติเกิดขึ้นในช่วงระยะที่ 3 ในปี 1978 รัฐบาลได้ใช้แผน“การจู่โจมคิงดาก้อน” เพื่อผลักดันให้ชาวโรฮิงญาหลบหนีเข้าประเทศบังคลาเทศระยะที่4รัฐบาลได้ออกกฎหมายพลเมืองฉบับใหม่ซึ่งทำให้ชาวโรฮิงญาถูกปฏิเสธในการได้สัญชาติและถูกขึ้นทะเบียนเป็นชาวต่างชาติระยะสุดท้ายในปี1990เมื่อประชาชนประท้วงรัฐบาลทหารครั้งใหญ่นั้นรัฐบาลได้หันเหความสนใจของมวลชนไปยังเรื่องเกี่ยวกับชุมชนซึ่งนำไปสู่การอพยพของผู้ลี้ภัยไปยังบังคลาเทศในปี 1992 ชาวโรฮิงญานับพันคนถูกกักขังในคุกและนับร้อยคนถูกฆ่าตายส่วนผู้หญิงเป็นจำนวนมากถูกข่มขืนกระทำชำเราการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จึงเป็นสาเหตุให้ชาวโรฮิงญาหลบหนีออกจากแผ่นดินเกิดไปประเทศเพื่อนบ้านอย่างบังคลาเทศชาวโรฮิงญาจำนวนมากที่เคยมีที่ดินก็ถูกรัฐบาลทหารยึดเอาไปปล่อยให้พวกเขาหมดหนทางทำมาหากิน

ความเข้มแข็งขององค์กร

                การเคลื่อนไหวที่ประสบผลสำเร็จจำเป็นต้องอาศัยองค์กรที่แข็งแรง มั่นคง เป็นอันหนึ่งอันเดียว แต่สำหรับองค์กรของชาวโรฮิงญาที่ได้ก่อตั้งขึ้นมาหลายแห่งนั้น กลับกลายเป็นองค์กรที่ยังอ่อนแออยู่มาก เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรแกนนำในการประกาศอิสรภาพของประเทศอื่นๆ  นับตั้งแต่ปี 1947 ชาวโรฮิงญาทำการก่อตั้งองค์กรขึ้นหลายแห่งเพื่อต่อสู้กับสิ่งที่พวกเขาต้องการ ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน ได้แก่ องค์กรแนวร่วมรักชาติโรฮิงญา องค์กรปลดปล่อยชาวมุสลิม กองกำลังอิสระโรฮิงญา และองค์กรเอกภาพโรฮิงญา แต่องค์กรทั้งหมดเหล่านี้เป็นเพียงองค์กรที่อ่อนแอ องค์กรแรกที่อยู่ภายใต้แกนนำของนายจาฟาร์ คามัล มีอายุอยู่ได้เพียงไม่นานเมื่อผู้นำถูกลอบสังหาร ก็ไม่มีผู้สานต่อเจตนารมณ์ขององค์กรจนทำให้มันพังทลายลงภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว

                ในปี 1960  กลุ่มองค์กรอิสระโรฮิงญา ได้ถือกำเนิดขึ้น สมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความรู้ แต่ไม่ค่อยมีผลงานในการเคลื่อนไหว ในเวลาต่อมาจึงถูกถอนรากถอนต้นไป และต่อมาในช่วงกลางทศวรรษที่ 17  กลุ่มแนวร่วมรักชาติโรฮิงชาติ ก็ได้ถือกำเนิกขึ้นและถือว่าเป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็งที่สุกของชาวโรฮิงญาในอดีต เพราะสามารถจัดตั้งกองโจรที่มีการเคลื่อนไหวได้มากถึงสอง สามร้อยกลุ่ม และในเวลาต่อมาองค์กรดังกล่วก็ได้ผนวกรวมกำลังกับองค์กรอิสภาพโรฮิงญา โดยมีเป้าหมายเพื่อการสนับสนุนจัดตั้งรัฐอิสลามในอรากัน แต่อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง องค์กรแนวร่วมรักชาติโรฮิงญาเองก็ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวอะไนที่ดูจริงจังมากนัก มีเพียงแค่ส่งจดหมายสองสามฉบับไปสู่อง๕กรนานาชาติเท่านั้น

                     การระดมการสนับสนุน  ชาวโรฮิงญา ขาดองค์กรที่แข็งแกร่งมาตั้งแต่แรก ทำให้พวกเขาไม่ได้รับการสนับสนุนจากมวลชลไปด้วย แม้แต่ในระดับภูมิภาค ชาวโรฮิงญาก็ยังไม่สามารถเรียกความสนใจจากกลุ่มประเทศอาเซียนได้  ทั้งๆที่ ในความเป็นจริงอาเซียนจะเป็นองค์กรที่ดีในการเข้าไปตรวจสอบรัฐบาลพม่า เนื่องจากในช่วงเวลานี้พม่าเองก็กำลังมองหาลู่ทางในการเข้าหาสู่อาเซียน และนอกจากนั้นชาวโรฮิงญาก็ล้มเหลวในการดึงดูดความสนใจจากกลุ่มประเทศ OIC แม้แต่ประเทศมุสลิมเพื่อนบ้านใกล้เคียงอย่างบังคลาเทศก็ไม่มีความเข้มแข็งพอที่จะเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนชาวโรฮิงญาได้ ประเทศอิสลามอื่นๆ ก็เช่นกัน ไม่มีทีท่าว่าจะเข้ามาสนับสนุนช่วยเหลือชาวโรฮิงญา และที่สำคัญ กลุ่มที่มีพลังอำนาจอย่าง US สหรัฐอเมริกา และ UN สหประชาชาติก็ดูมีความกังวลกับเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษย์ชนในประเทศพม่า แต่ทั้งสอง US และ UN ก็ไม่ได้แสดงความช่วยเหลือแก่ชาวโรฮิงญา ฉะนั้นปัญาหาทั้งหมดกลับกลายเป็นว่าชาวโรฮิงญาจะต้องช่วยเหลือและพึ่งพาตนเอง

             

 

 

           

 

หมายเลขบันทึก: 553311เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013 01:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013 03:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

...เป็นปัญหาที่หนักมากนะคะ...ถามว่าหากประเทศใด?มีมนุษยธรรม...จะสามารถช่วยเหลือรับชาวโรฮิงญาเข้ามาอยู่ในประเทศได้หรือเปล่า?...ทั้งUS และ UN จึงไม่สามารถบีบบังคับประเทศต่างๆที่ชาวชาวโรฮิงญาลี้ภัยโดยผิดกฏหมาย เข้าไว้ในประเทศได้...เป็นปัญหาที่นับวันจะลุกลามใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆนะคะ...

จริงๆ ถ้ามองโดยภาพรวม ในระดับประเทศ แต่ละประเทศก็มีขอบจำกัดในการให้ความช่วยเหลืออ่าครับ เพราะอาจต้องคำนึงถึงข้อตกลง กฏหมายต่างๆ ระหว่างประเทศที่ควรต้องปฏิบัติตาม ในความรู้สึกของคนทั่วไปจึงรู้สึกรำคาญนิดๆ ว่าเหตุใดประเทศเรา ประเทศนั้น หรือประเทศนู้นจึงไม่สามารถช่วยเหลือชาวโรฮิงญาได้ แต่ถ้าเรามองให้เล็กลงมา จะพบว่า เมื่อชาวโรฮิงญาอพยพไปในพื้นที่ใด คนในพื้นที่จำนวนหนึ่งก็มีที่รู้สึกเมตตาและเข้าช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ เช่น ที่อยู่อาศัย และอาหาร หรือรับไว้เป็นแรงงานผิดกฏหมาย??? ซึ่งในระดับนี้เองก็อาจจะกล่าวได้ว่า ความเคารพในความเป็นมนุษย์ หรือการมีมนุษยธรรมยังคงมีอยู่บ้างในสังคม แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น น่าจะมีการให้ความช่วยเหลือชาวโรฮิงญาในทางที่ถูกต้อง และไม่ก่อให้เกิดความบาดหมาง ความรุนแรง เช่น ในฐานะสมาชิกอาเซียนด้วยกัน สมาชิกประเทศอื่นๆ ทั้งหมดควรร่วมกันหาทางแก้ไข เสนอแนะทางออก หรือกดดันพม่าให้เลิกละเมิดสิทธิมนุษชยชาวโรฮิงญา จะเป็นการดีมากๆ (ปล. ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนนะครับ ไม่รู้ว่าจะถูกต้อง ตรงใจหรือป่าว และไม่ได้มีความเป็นวิชาการแต่อย่างใด แค่อยากเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนกันนะครับ และขอบคุณมากครับที่แวะมาแสดงความคิดเห็น) 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท