เวลาไหน____เหมาะกับการดื่มชา กาแฟมากที่สุด


.

ภาพที่ 1: แสดงระดับฮอร์โมนคอร์ทิซอว (cortisol) = ฮอร์โมนสเตอรอยด์ที่ตอบสนองต่อความเครียด

.

ฮอร์โมนนี้มีระดับสูงสุดประมาณ​ 8.00-9.00 นาฬิกา, ต่ำสุดประมาณเที่ยงคืน

ช่วงที่ระดับฮอร์โมนสูง, คนเรามีแนวโน้มจะตื่นตัว กระฉับกระเฉง (ช่วงเช้า)

.

.

ภาพที่ 2: ระดับฮอร์โมนคอร์ทิซอว (cortisol) = ฮอร์โมนสเตอรอยด์ที่ตอบสนองต่อความเครียด

.

ดร.จอฮ์น ทาเฟว อธิบายว่า ฮอร์โมนนี้มีระดับสูงสุดประมาณ​ 8.00-9.00 น. 

และจะเพิ่มหลังกินอาหาร โดยเฉพาะมื้อหลัก (เช้า-เที่ยง-เย็น) จะสูงกว่ามื้อรอง (อาหารว่างสาย-บ่าย)

.

หลักการกินอาหารเพื่อสุขภาพ คือ หนักมื้อเช้า รองลงไปเป็นมื้อเย็น มื้อเที่ยงตามลำดับ

การกินอาหารให้ตรงเวลาในช่วงกลางวัน (เช่น อาหารว่างมื้อสาย-บ่าย ฯลฯ) จะทำให้ระดับฮอร์โมนฝ่าย "กระตุ้น" นี้ไม่ต่ำลงไปมาก ทำให้ความรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อย ล้า ง่วงซึม ลดลง

.

ช่วงกลางคืน ไม่ควรกินอาหารมื้อใหญ่ เพราะจะทำให้ระดับฮอร์โมนฝ่าย "กระตุ้น" สูงขึ้น

ทำให้ตื่นตัว หลับยาก นอนไม่หลับ หรือหลับๆ ตื่นๆ

.

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า คนเรามีนาฬิกาชีวิต หรือนาฬิกาชีววิทยาที่ทำงานตามเวลากลางวัน-กลางคืน, ตื่น-หลับ

การใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับจังหวะของนาฬิกาชีวิต มักจะดีกับสุขภาพ

.

อ.สตีเฟน มิลเลอร์ นักศึกษาปริญญาเอกในสหรัฐฯ ทำการศึกษาใหม่พบว่า เวลาที่เหมาะกับการดื่มกาแฟ-ชา หรืออาหาร-เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น โกโก้ ชอคโกแล็ต ฯลฯ ไม่น่าจะเป็นเวลาเช้ามากๆ เช่น หลังตื่นนอนใหม่ๆ ฯลฯ

กลไกที่เป็นไปได้ คือ ระดับฮอร์โมนสเตอรอยด์ หรือคอร์ทิซอว (cortisol) ที่ตอบสนองต่อความเครียด มีผลต่อระดับความตื่นตัว (alertness) ของคนเรา  

.

ฮอร์โมนนี้มักจะมีระดับสูงสุดในตอนเช้า = 8.00-9.00 นาฬิกา 

ระดับฮอร์โมนคอร์ทิซอว (cortisol) ที่สูงทำให้คนเราตื่นตัว กระฉับกระเฉงมากกว่าระดับฮอร์โมนที่ต่ำ

.

หลักการหนึ่งของการใช้ยาที่ดี คือ ใช้เฉพาะที่จำเป็น

การใช้ยาหรือสารกระตุ้นมากเกินจำเป็น เพิ่มเสี่ยงการดื้อยา หรือทำให้สารกระตุ้นทำงานได้น้อยลง = ไม่ค่อยได้ผลดี

.

ทางเลือกที่น่าจะดี คือ กินกาเฟอีนเข้าไปในช่วงที่ระดับคอร์ทิซอวลดต่ำลง 

ช่วงดังกล่าว คือ 9.30-11.30 นาฬิกา

.

ตรงนั้น...​ จะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนคอร์ทิซอวลดต่ำลง

คนเราเริ่มอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หรือกระฉับกระเฉงน้อยลง

ฮอร์โมนฝ่าย "กระตุ้น" หรือคอร์ทิซอว มักจะสูงเป็นช่วงๆ ตรงกับมื้ออาหารหลัก (เช้า - เที่ยง - เย็น)

คือ 8.00-9.00, 12.00-13.00, 5.30-6.30 นาฬิกา

.

ถ้ากินอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนหลังมื้ออาหารหลักไปหน่อย 

น่าจะช่วยลดความรู้สึกง่วงเหงา หาวนอน อ่อนเพลีย หรือเหนื่อยล้าได้ดี

.

ทีนี้ถ้าต้องการให้กระฉับกระเฉงแต่เช้า

ให้ออกไปรับแสงแดดอ่อนกลางแจ้ง ตอนเช้า-เย็น จะช่วยให้นาฬิกาชีวิตทำงานได้ดีขึ้น

.

ถ้ารู้สึกอ่อนเพลียตอนกลางวัน

ให้อยู่ในร่ม และมองไปทางท้องฟ้ากว้างๆ สักครู่ จะกระตุ้นความรู้สึกตื่นตัวได้เช่นกัน

.

ข้อควรระวังของเครื่องดื่ม-อาหารที่มีกาเฟอีน เช่น เครื่องดื่มกระตุ้นกำลัง ฯลฯ คือ

  • คนที่หลับยาก ควรหลีกเลี่ยงกาเฟอีนหลังเที่ยงวัน และควรใช้ขนาดต่ำลง
  • กาเฟอีน อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของคนที่เป็นเบาหวาน (บางคน) สูงขึ้นได้
  • กาเฟอีน อาจทำให้คนที่ตกใจง่าย ใจสั่นง่าย เครียดง่าย มีอาการแย่ลง
  • คนที่มีหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ โดยเฉพาะคนสูงอายุ ควรหลีกเลี่ยงกาเฟอีน

.

อันตรายแบบสุดๆ ที่แฝงเร้นมากับกาเฟอีนได้แก่

(1). กาแฟเย็น ชาเย็น ไมโลเย็น โอวัลตินเย็นแบบชงขาย > ใส่น้ำตาล 6-12 ช้อนชา

มากพอที่จะเพิ่มเสี่ยงไขมันเกาะตับ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อ้วนลงพุง เบาหวาน ความดันเลือดสูงได้ในระยะยาว

(2). ครีมเทียม > มีไขมันทรานส์ 0.1-0.7 กรัม

ไขมันทรานส์ เพิ่มโคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL), ลดโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL), มีอันตรายประมาณ 10 เท่าของไขมันอิ่มตัวในขนาดเท่าๆ กัน

.

การชงกาแฟเอง (เพื่อลดน้ำตาล), ใช้น้ำตาลเทียม หรือน้ำตาลผสมน้ำตาลเทียมอย่างละ 1/2 เช่น ไลท์ ชูการ์​ ฯลฯ, ใช้นมไร้ไขมัน นมไขมันต่ำ หรือนมถั่วเหลือง (ชนิดผสมงาดำมักจะมีกลิ่นถั่วน้อยลงมาก) น่าจะปลอดภัยกว่ากาแฟซื้อมากมาย

ถึงตรงนี้...​ ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.                                          
                                              
                                                                                      

Thank The Executive Living > http://www.theaustralian.com.au/executive-living/food-drink/wake-up-and-postpone-the-coffee/story-e6frg8jo-1226754794179

Thank Pubmedhttp://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9777576 

Thank BusinessInsiderhttp://www.businessinsider.com/5-foods-that-will-change-when-trans-fats-are-banned-2013-11

หมายเลขบันทึก: 553236เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2013 13:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2013 13:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท