บทสาขาที่ 2 เรื่องที่ 2.3 รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณา (2)


บุคคลสำคัญในการสร้างค่านิยมแนวเพลงไทยสากลสังคีตสัมพันธ์  สำหรับการศึกษาเรื่องการผสมวงดนตรีไทยสังคีตสัมพันธ์ ( สังคีตสัมพันธ์)   ของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์  นั้น ผู้วิจัยได้รวบรวมวิจัยที่เกี่ยวข้องไว้ได้ดังนี้

 

 อภิญญา  ตันศิริ  (2537) สารนิพนธ์เรื่อง  อิทธิพลเพลงไทยในผลงานเพลงของครูเอื้อ สุนทรสนาน  ได้ศึกษาเกี่ยวกับเพลงสังคีตสัมพันธ์  จำนวน  8 เพลง  พบว่า ความหมายของเนื้อเพลงเน้นในเรื่องความรัก  ความสมหวัง  และความไม่สมหวัง    การประพันธ์เพลงไม่เน้นการสัมผัสตามฉันทะลักษณ์ (ในกรณีนี้ผู้ดำเนินการถือว่าเป็นส่วนน้อย) รูปแบบการแต่งเนื้อร้องเพลงสังคีตสัมพันธ์  จะคำนึงถึงทำนองมากว่าที่จะเจาะจงว่าเป็นกลอนอะไรและ มักใช้ความเหมาะสมด้านทำนองและ เนื้อร้องเป็นหลัก  มีการนำทำนองมาจากเพลงไทยทั้งหมด หรือนำมาเพียงบางส่วน

 

 มัลลิกา  คณานุรักษ์  (2529) วิทยานิพนธ์เรื่อง  “การวิเคราะห์ชีวิตและผลงานเพลงอมตะของแก้ว  อัจฉริยะกุล”  เป็นนักประพันธ์เนื้อร้องที่มีความสามารถของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์  ท่านได้แต่งเนื้อร้องไว้มากมายรวมทั้งเพลงผสม  “สังคีตสัมพันธ์”   กรมประชาสัมพันธ์ด้วย โดยจำแนกเนื้อเพลงจากบทเพลง  วิเคราะห์การใช้ภาษา ทัศนะและ  คุณค่าของเพลง  เพลงที่เด่นและ  เป็นอมตะนั้นเป็นผลงานที่แต่งร่วมกับครูเอื้อ  สุนทรสนาน

 

 จารุพิมพ์  นภายน  (2540) วิทยานิพนธ์   เรื่องเพลงสังคีตสัมพันธ์:การวิเคราะห์เพลงไทยสากลที่นำดนตรีไทยมาประยุกต์  โดยวงดนตรีสุนทราภรณ์  ในปีพ.ศ.2497 ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการประพันธ์หรือดัดแปลงเพลงและการปรับวงดนตรีที่ใช้ในเพลงสังคีตสัมพันธ์ของวงดนตรีสุทรภรณ์ ในปีพ.ศ.2497 จำนวน  20 เพลง  พบว่าคำร้องของเพลงสังคีตสัมพันธ์สามารถแบ่งออกได้เป็น  2 ประเภท  คือ  คำร้องของเพลงสังคีตสัมพันธ์ที่มีลักษณะเป็นเพลงขับร้องคู่  เป็นการตัดพ้อต่อว่า  การพลอดรำพัน  และ เพลงที่มีลักษณะเป็นเพลงขับร้องเดี่ยว  เป็นการนำวิถีของคนมาบรรยายเป็นเนื้อเพลง  มีการให้ข้อคิดและแฝงคุณธรรมอันเป็นประโยชน์ต่อผู้ฟังด้วย  รวมทั้งยังแบ่งคำร้องของเพลงสังคีตสัมพันธ์ออกเป็น 6 ประเภท  คือ

 

             1. การสะท้อนอารมณ์ต่างๆ ของมนุษย์

             2. การนำธรรมชาติมาเทียบเคียงกับอารมณ์ของมนุษย์

             3. การนำธรรมชาติมาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของมนุษย์

             4. การนำความเชื่อแบบไทยสัมพันธ์เข้ากับชีวิตของมนุษย์

             5. การสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในชนบท 

             6. การนำลักษณะเด่นของเพลงเดิมมาสัมพันธ์กับปรัชญาของชีวิต

 

เอื้อ  สุนทรสนาน  (หนังสือทฤษฏีและการปฏิบัติดนตรีไทย  ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ 2511:11)  กล่าวว่า  พลโท มล.ขาบ  กุญชร  ได้ครูพุ่ม มาเพื่อบูรณะกิจการเพลงไทย  จนสามารถจัดเพลงให้เข้ากับวงดนตรีสากล  เรียกว่า  การบรรเลงแบบสังคีตสัมพันธ์  โดยนำเอาดนตรีประเภทเครื่องดนตรีไทยกับเครื่องสากลมาบรรเลงพร้อมๆ กันไป   ความไพเราะจากการบรรเลงในลักษณะสังคีตสัมพันธ์  เป็นแนวใหม่อีกแนวหนึ่ง  ที่ไม่ทิ้งลีลาของเพลงสมัยนั้น  แต่นำเข้ามารวมกับเครื่องดนตรีสากล แล้วบรรเลงพร้อมกันได้

 

ในปีพ.ศ.2540 นพ.พูนพิศ  อมาตยกุล ได้กล่าวไว้ว่า เพลงผสมของกรมประชาสัมพันธ์ ได้รับความนิยมสูงสุด  เป็นเพลงขับร้องคู่โดยวินัย  จุลบุษปะ  และ  ชวลี  ช่วงวิทย์  คือเพลงกระแต   บันทึกเสียงกับห้าง กมล สุโกศล   ประมาณปี พ.ศ.2498   เป็นแผ่นเสียงตราสุนัขหน้าสีแดง  ขายดีที่สุดจนต้องพิมพ์แผ่นเพิ่มขึ้นอีก  มีงานผลิตเพลงเพิ่มขึ้น  เวลาผ่านไปก็มีเพลงเกิดขึ้นใหม่อีกหลายเพลง     ความสำคัญคือนายจำนง รังสิกุล  ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหมได้สนับสนุนให้นำมาบรรเลงออกทางโทรทัศน์อย่างสม่ำเสมอ  ปัญหาการต่อต้านก็ลดน้อยลงไปเป็นลำดับ  และกลับเป็นที่นิยมและยอมรับกันทั่วไป เพราะ เป็นเพลงที่น่าฟัง  จังหวะไม่ช้าเกินไป  เนื้อร้องเข้าใจง่าย  ทำให้สามารถเข้าถึงผู้ฟังได้ง่ายขึ้นด้วย ที่สำคัญที่สุดก็คือ นายเอื้อ  สุนทรสนาน  ได้ปรับเพลงให้มีการแยกเสียงประสานเป็นอย่างดีเยี่ยม   เห็นได้ชัดว่าการบรรเลงเพลงผสมประสบความสำเร็จสูงสุดก็คือ  การบรรเลงเพลงเส่เหลเมา แนวเพลงรำวง ซึ่งขับร้องโดย นางศรีสุดา   รัชตะวรรณ

 

หัวหน้าครูเอื้อสุนทรสนานกล่าวว่า  เพลงไทยมีทำนองและสำเนียงเพราะอยู่แล้ว เลยได้มอบให้ทำนองเพลงไทยเป็นแกนนำ และให้ดนตรีสากลส่งเสริม สนับสนุนด้วยการเรียบเรียงเสียงประสาน มี IntroductionBand SoloIntro root เป็นเอกลักษณ์ของเพลงไทยในแนวสังคีตสัมพันธ์ ไม่ใช่แนวดนตรีสังคีตประยุกต์ ตั้งชื่อโดยสุวัฒน์ วรดิลก เป็นผู้ตั้งชื่อให้ เพราะสังคีตประยุกต์เป็นแนวคิดของ ครูสมาน           กาญจนะผลิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ. 2531 ซึ่งไม่ใช่แนวสังคีตสัมพันธ์ ของกรมประชาสัมพันธ์ ส่วนแนวสังคีตประยุกต์ ใช้ดำเนินทำนอง สลับทำนอง ด้วยดนตรีไทยกับดนตรีสากลเป็นแกนนำ นอกนั้นคล้ายกันกับสังคีตสัมพันธ์ทั้งหมด

 

จากนั้นต่อมาก็นำทำนองเพลงไทยต่างๆ มาใส่เนื้อ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล เป็นคนใส่เนื้อ ทำไปประมาณ 5 เพลง อาจารย์มนตรี ตราโมท บรมครูเพลงไทยแห่งกรมศิลปากร เดิมชื่อบุญธรรม ได้แต่งเพลงประกวดชื่อ เพลง 24 มิถุนา ซึ่งเป็นเพลงชาติของคนไทยสมัยนั้น วันชาติของคนไทย คือวันที่ 24 มิถุนา คนที่ได้รางวัลที่ 2 คือ ครูสกล วิจารนนท์ รับราชการอยู่ที่โรงงานยาสูบ ที่แต่งเพลงก๋วยเตี๋ยวบะหมี่ โดยเอาทำนองของเพลงอาหนู 2ชั้น มาเข้าร่วม ครูท่านนี้ เป็นหัวหน้าวงดนตรีสากลของทหารเรือคนแรก เพลงจึงได้เจริญขึ้น เมื่ออาจารย์มนตรี ตราโมทประท้วงว่า  เป็นการทำลายเพลงไทย กล่าวหาว่า เพลงไทยของเราดีอยู่แล้ว เอามาทำอย่างนี้มันเสียหาย แต่อาจารย์มนตรี ตราโมท ก็เป็นเพื่อนกับ หัวหน้าเอื้อ สุนทรสนาน รุ่นเดียวกัน เรียนโรงเรียนพรานหลวงด้วยกัน โดยครูเอื้อ สุนทรสนาน แจ้งว่า ที่ทำอย่างนี้ ต้องการให้คนสมัยใหม่ ร้องง่าย เล่นง่าย เข้าใจง่าย และสำหรับคนที่ไม่ได้เป็นอย่างพวกเรา เพราะไม่ได้ตัดทอน ทำลาย เพียงเพื่อเปลี่ยนให้กระชับเข้าด้วยจังหวะสากล กระชับขึ้น เร้าใจขึ้น เพลงไทยนั้น คำร้องจะมีเอื้อนประกอบ เป็นการยากลำบากในการร้องเอื้อนตามผู้ที่ได้ร่ำเรียนมาถูกวิธีก็จะเอื้อนได้ดีไพเราะน่าฟัง แต่ผู้ที่เพียงเข้าสัมผัสจะยากลำบากในการร้องคำเอื้อนเป็นแนวทำนองเพลง สำหรับเพื่อประชาชนอาจารย์มนตรี ตราโมทเข้าใจ  ทำนองเพลงแนวสังคีตสัมพันธ์ ของกรมประชาสัมพันธ์นี้ ถือเป็นการพัฒนา เพื่อเข้าสู่ค่านิยมสมัยใหม่ในสมัยนั้นเรียกว่าทำนองเพลง วงดนตรีสังคีตสัมพันธ์

 

บุคคลสำคัญในการพัฒนาและผู้ร่วมวงดนตรีไทยสังคีตสัมพันธ์

พลโท ม.ล.ขาบ กุญชร เป็นบุตรของเจ้าพระยาเทเวศร์วงษ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) มารดาชื่อ จัน เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2448 ได้รับการศึกษาในโรงเรียนทหารตั้งแต่เด็ก และต่อมาก็ได้ไปเรียนวิชาทหารที่โรงเรียนทหารปืนใหญ่ (โรงเรียนวูลริช) ปัจจุบันคือโรงเรียนนายร้อยแซนเฮิร์ท ประเทศอังกฤษ หลังจากจบการศึกษาก็มารับราชการที่กองพันทหารปืนใหญ่ ต่อมาก็ได้เป็นทูตทหารที่ประเทศสหรัฐอเมริกาสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งเกิดสงคราม ท่านซึ่งพำนักอยู่ในอเมริกาก็ได้เข้าร่วมกับขบวนการเสรีไทยซึ่งก่อตั้งขึ้น และได้ถูกส่งมาประจำการเป็นผู้บัญชาการหน่วยเสรีไทยที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน โดยได้ร่วมประสานงานกับกองทัพจียคณะชาติ (ก๊กมินตั๋ง) และหน่วยโอเอสเอส ของสหรัฐ ซึ่งเป็นรากฐานของหน่วย ซี.ไอ.เอ ในปัจจุบัน ท่านได้มีบทบาทเป็นอย่างมากในการประสานงานกับหน่วยเสรีไทยที่ได้กลับเข้ามาปฏิบัติการในประเทศไทย

 

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านก็ได้กลับเข้ามารับราชการในกระทรวงกลาโหม ต่อมา จอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ได้แต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการ นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นข้าราชการการเมือง และในขณะเดียวกันก็ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และเป็นรองเสนาธิการกลาโหม ท่านได้ลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ.2502 เมื่ออายุได้ 54 ปี หลังจากนั้นท่านได้ตั้งคณะละครขึ้นชื่อ คณะพลายมงคล ออกแสดงทางโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม สมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ท่านก็ได้แต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมิใช่น้อย

 

ม.ล.ขาบ กุญชร เป็นศิลปินนักแสดงโดยแท้ นับแต่วัยหนุ่ม ระหว่างรับราชการอยู่ที่กองพันทหารปืนใหญ่ ท่านก็เคยได้แสดงเป็นพระเอกภาพยนตร์เสียงศรีกรุง เมื่อปี 2477 ในภาพยนตร์เรื่อง เลือดทหารไทย และในภาพยนตร์เรื่องนี้ท่านได้ดีดเปียโน ขับร้องเพลง "กุหลาบในมือเธอ" บทประพันธ์โดย เรือโทมานิต เสนะวีณิน ร.น. และขุนวิจิตรมาตราซึ่งบทเพลงนี้ยังเป็นที่นิยมขับร้องกันทั่วไปในปัจจุบันในด้าน การแต่งเพลงไทยสากลนั้น ท่านเคยมีผลงานทำนองให้กับวงสุนทราภรณ์ไว้หลายเพลง การแต่งทำนองของท่านมีความบันดาลใจด้วยอารมณ์ศิลปินที่แปลกกว่าของผู้อื่น ซึ่ง ชอุ่ม ปัญจพรรค์ ได้เขียนไว้ในบทความในหนังสือ เบื้องหลังเพลงดัง จัดพิมพ์โดยสมาคมแต่งเพลงว่า "ศิลปินนี่เป็นบุคคลพิเศษนะคะ ท่านพลโท ม.ล.ขาบ กุญชร ท่านเป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ตอนนั้นค่ะ โมโหหัวใจหน่อยเดียว กลับมาดีดเปียโนได้ตั้ง 4 เพลง แน่ะ มี ข้องจิต, คิดไม่ถึง, คะนึงฝัน และพรั่นรัก" เพลงข้องจิตนี้เป็นเพลงที่ดังมากที่สุดเพลงหนึ่งในยุคนั้น แต่น้อยคนจะทราบว่าเป็นผลงานของท่าน เพราะท่านใช้นามแฝงการประพันธ์เพลงว่า อ.ป.ส.ซึ่งย่อมาจาก อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ พลโท ม.ล.ขาบ ได้เขียนเล่าไว้ในหนังสือที่ระลึก 20 ปี ของวงดนตรีสุนทราภรณ์ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านการดนตรีกับวงสุนทราภรณ์ไว้ดังนี้ "ข้าพเจ้าเข้ามารับตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เมื่อเดือนตุลาคม 2495 ขณะนั้นวงดนตรีสุนทราภรณ์ "ดัง" แล้วเป็น "เด่น" เสียด้วย เพลงของคุณเอื้อ สุนทรสนาน ก็มีเพลงไทยสากลเป็นพื้น ต่อเมื่อข้าพเจ้าเข้ารับตำแหน่งแล้ว จึงได้จดจำพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ในรัชกาลที่ 7 ฝังใจอยู่เสมอว่า ดนตรีไทยกับดนตรีสากลควรจะเล่นรวมกันได้ โดยมีการดัดแปลงเสียงของดนตรีไทยเสียบ้างให้เข้ากับบันไดเสียงของดนตรีสากลบางบันได คิดได้เช่นนั้นแล้ว ข้าพเจ้ากับคุณเอื้อ สุนทรสนาน กับคุณคงศักดิ์ คำศิริ ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกดนตรีไทยในขณะนั้น จึงได้มาปรึกษากันและเทียบเสียงของระนาดและฆ้องให้เข้ากับระดับเสียงของเปียโน ในระดับบีเมเจอร์ แปลงเล็กน้อย และได้เริ่มทำเพลงแรกด้วยเพลง ลาวกระแต แล้วต่อมาก้ได้ทำกันอีกหลายต่อหลายเพลง ใช่แต่เท่านั้น เรายังได้คิดประดิษฐ์อังกะลุงสากลขึ้นเป็นวงแรกในประเทศไทยด้วย แล้วต่อมาภายหลังเราจึงได้ดัดแปลงเอาทำนองของเพลงไทยแท้ๆ มาเป็นเพลงไทยสากล โดยเอาทำนองเพลงมาทำเสียงประสานเข้า แล้วใส่เนื้อเดิมเป็นเพลงไทยสากล ก็ยิ่งเป็นเรื่อง "ดัง" ของวงสุนทราภรณ์ยิ่งขึ้นไปอีก"

 

เพลงในแนวผสม ระหว่างดนตรีไทยสากลและไทยเดิมเช่นนี้ เรียกกันต่อมาว่า สังคีตประยุกต์ วงอังกะลุงที่ท่านคิดให้นำมาร่วมบรรเลงกับวงสากล ตัวอย่างเพลง คือ สนต้องลม ผู้ที่ให้ความร่วมมือจัดทำกันอย่างใกล้ชิดในครั้งนั้น มีครูเอื้อ สุนทรสนาน, ครูเวส สุนทรจามร, คงศักดิ์ คำศิริ และครูพุ่ม บาปุยะวาทย์ บรมครูเพลงไทย ผู้สร้างสรรค์ความเจริญให้แก่วงดนตรีไทย งานบันเทิงกรมประชาสัมพันธ์ไว้เป็นจำนวนมาก

รายการเพลงผสมนี้ได้รับทั้งการติชมเป็นอย่างมาก ในจำนวนที่ติ ก็หาว่านำเพลงไทยเดิมของเก่ามาทำลายเสียคุณค่าทางวัฒนธรรมประจำชาติหมด ในจำนวนพวกที่ชอบบอกว่าดี ทำให้เข้าใจเพลงไทยเดิมของเรามาก สามารถร้องทำนองเปล่าๆ ได้อย่างคล่องปากโดยที่ไม่เคยหัดร้องเพลงไทยเดิมมาเลย ครั้นเวลาผ่านไป เพลงผสมเหล่านั้นก็ได้พิสูจน์ตัวเองว่า มิได้เป็นการทำลายศิลปวัฒนธรรม แต่กลายเป็นการสนับสนุนศิลปเพลงไทยอย่างมากมาย และได้มีนักประพันธ์ผู้อื่นได้นำแนวทางสังคีตประยุกต์ไปใช้ และนำทำนองเพลงไทยเดิมออกมาเผยแพร่ในรูปเพลงไทยสากล ตามมาอีกจำนวนมาก ครอบครัวของท่านเป็นครอบครัวศิลปินโดยแท้ ท่านให้กำเนิดทายาทหลายคนที่มีชื่อเสียง บ้างทางด้านการขับร้อง และบ้างก็ทางด้านนาฏศิลป์ 

อ้างอิง จาก http://websuntaraporn.com/suntaraporn/artist/karb.htm

 

หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์

หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ ชื่อเดิมว่า นายประดิษฐ์ สุขุม เกิดวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2447       ณ จังหวัดสงขลา   เป็นบุตรมหาอำมาตย์เจ้าพระยายมราช (ปั้น   สุขุม)      และท่านผู้หญิงตลับ ซึ่งเกิดในตระกูล  ณ  ป้อมเพชร

 

หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์  เริ่มเข้าศึกษาในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  และศึกษาจนถึงชั้นมัธยมปีที่ 4  จึงได้ไปศึกษาต่อ  ณ สหรัฐเมริกา  เมื่ออายุ  14 ปี เรียนสำเร็จกลับมาเมืองไทย เมื่อ พ.ศ.2468 อายุได้ 21 ปี    ตำแหน่ง เลขาธิการคนแรก ของ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) อดีตอธิบดีกรมโฆษณาการ เป็นผู้ก่อตั้ง การกีฬาแห่งประเทศไทย และการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ซึ่งปัจจุบันคือ กีฬาซีเกมส์ นอกจากนี้เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง วงดนตรีสุนทราภร

 

หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ สำเร็จการศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ จาก มหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศ สหรัฐอเมริกา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 ขณะอายุได้ 23 ปี ในการทำงานราชการ หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ เป็นผู้วางรากฐาน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) โดยดำรงตำแหน่งเป็น เลขาธิการ ก.พ. คนแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 และได้ดำรงตำแหน่งนี้อย่างยาวนาน จนกระทั่งเกษียณอายุราชการเมื่อปี พ.ศ. 2507 รวมเป็นระยะเวลาถึงกว่า 35 ปี

 

หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ เป็นหนึ่งในผู้ปฏิบัติงานเสรีไทย อยู่ในสหรัฐอเมริกา ระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยดูแลเกี่ยวกับด้านการโฆษณา และการกระจายเสียงทางวิทยุ และต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น อธิบดีกรมโฆษณาการ เมื่อปี พ.ศ. 2488

 

เมื่อท่านมาเป็นผู้ดูแลในตำแหน่งอธิบดี อยู่พักหนึ่ง  ถึงแม้จะไม่นานนัก  ท่านก็เริมจับงานดนตรีอย่างจริงจัง  เพื่อให้เป็นวงดนตรีสากลใช้สำหรบลีลาศที่สมบูรณ์แบบ ลงทุนสั่งเพลงชุดลีลาศมาจากต่างประเทศมาศึกษาเพื่อนำมาให้วงดนตรีลีลาศของกรมโฆษณาการใช้บรรเลงในช่วงนี้ท่านเริ่มจะมีผลงานการแต่งเพลง  เช่น เพลงสิ้นรักสิ้นสุข  รักไม่ลืม  คะนึงครวญ  ไม่ยอยาจากเธอ เกาะสวาท  เมื่อไรจะได้พบ และชายไร้เชิง  เป็นต้น  ถึงแม้จะมีน้อยเพียงเคียงแค่ 7-8 เพลง แต่ทุกเพลงเป็นอมตะที่ครองความไพเราะมาจนถึงทุกวันนี้

 

คุณหลวงสุขุม  นัยประดิษฐ์  มีสิ่งสันทัดอยู่ 4   ประการ คือ

  1. ระเบียบข้าราชการพลเรือน  (เป็นเลขาธิการ  ก.พ. นานที่สุดตั้งแต่ พ.ศ.2477  จนกระทั่งครบเกษียณอายุเมื่อวันที่  1 ตุลาคม  พ.ศ.2507

2. การคัดสรรบุคคลากรการดนตรี  (ท่านเป็นผู้นำนักดนตรีฝีมีดี ๆ   ระดับประเทศมารวมกลุ่มกัน เป็นผู้หนึ่งที่จัดตั้งสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย

  1. ดนตรี (มีอัจฉริยะในการเป็นนักดนตรี  มีความสามารถในทางสร้างสรรค์ บริหารพัฒนาการดนตรี  มีความสามารถในการแต่งเพลง  จนครองความเป็นอมตะอยู่จนถึงปัจจุบัน)
  2. กีฬา   (ท่านเป็นนักกีฬา  ดังไปทั่วสหรัฐอเมริกา  เมื่อกลับมาถึงประเทศไทยหลายสมาคม ให้เป็นประธานโอลิมปิคแห่งประเทศไทย  ท่านก็ทำงานให้กับสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยด้วย ที่กล่าวมาทั้ง 4 ข้อนี้ต้องรู้ สำหรับผู้ที่จะสอบเข้ารับราชการทุกแผนกทุกหน้าที่เป็นข้าราชการ     ในกรมประชาสัมพันธ์

 

ถึงแม้ว่าท่านจะเกษียณอายุราชการไปแล้วก็ตาม  ชีวิตในช่วงหลังท่านก็หาได้พักผ่อนไม่  ท่านยังคงวุ่นอยู่กับการกีฬาของชาติ  และเป็นตัวตั้งตัวตีในการจัดตั้งชมรมดนตรีแห่งประเทศไทย  จนกระทั่งชมรมได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นสมาคมได้แล้วท่านก็ได้เป็นนายกสมาคมดนตรีแห่ประเทศไทย  ได้ชื่นชมกับผลงานชิ้นสุดท้ายที่ท่านปลุกปั้นจนสำเร็จเพียง 13 วันเท่านั้น

 

หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ ท่านเริ่มป่วยหนักด้วยโรคเบาหวาน  ตั้งแต่ปีพ.ศ.2509    จนถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 สิริอายุได้ 63 ปี    (หนังสือพิธีไหว้ครูดนตรี วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์, 2534)

 

ครูพุ่ม   บาปุยะวาทย์

ครูพุ่ม  บาปุยะวาทย์  เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2433 เป็นบุตรนายปุย  กับนางบุญหรือ บุญมา       ชาวกรุงเทพฯ     บิดาเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงและเจ้าของวงปี่พาทย์  ภรรยาชื่อ ชื้น (สกุลเดิม สุตันตานันท์)  มีบุตรธิดา  7 คน  มีพี่ชายชื่อ  นายเพิ่ม  บาปุยะวาทย์ ครูพุ่ม   บาปุยะวาทย์     อยู่ในตระกูล นักดนตรีมีฝีมือ

 

ครูพุ่ม บาปุยะวาทย์  เริ่มเรียนดนตรีกับบิดา  ต่อมเป็นศิษย์หลวงกัลยาณมิตตาวาส (ทับ พาทยโกศล) รับราชการที่กระทรวงนครบาล  ต่อมาได้ลาออกจากราชการ  ท่านเป็นผู้วางรากฐานก่อตั้งวงดนตรีไทยกรมประชาสัมพันธ์  และถ่ายทอดความรู้แก่นักดนตรีในวง  ศิษย์ที่มีชื่อเสียง  เช่นครูบุญยงค์  เกตุคง ศิลปินแห่งชาติ ครูบูญยัง ศิลปินแห่งชาติ เกตุคง  ครูสมภพ  ขำประเสริฐ  ครูจำเนียร  ศรีไทยพันธุ์ ยัง ศิลปินแห่งชาติ  ครูสมาน  ทองสุขโชติ  ครูระตรี  วิเศษสุรการ   ครูสุดจิตต์  ดุริยะประณีตยัง ศิลปินแห่งชาติ  ครูพุ่ม  บาปุยะวาทย์    รับหน้าที่เป็นผู้ประสานงานและปรับวงดนตรีผสมไทยสากล ชื่อ วงสังคีตสัมพันธ์ ของกรมประชาสัมพันธ์

 

ครูพุ่ม  บาปุยะวาทย์  เป็นผู้มีฝีมือในการตีระนาดทุ้มได้ดีเยี่ยม  สามารถบรรเลง เพลงตระโหมโรง  ซึ่งเป็นหน้าพาทย์ที่สำคัญได้หลายองค์  และ มีความรู้ดีมากเรื่องเพลงโบราณ   ได้แต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมาก  ประเภทเพลงเถา เช่น  เพลงทยอยญวน  (เถา) เพลงวิลันดาโอด (เถา) เพลงเดี่ยวระนาดทุ้ม  เช่น  เพลงแขกมอญ  เพลงสารถี  เพลงพญาโศก  เพลงกราวใน  เพลงลาวแพน  เพลงม้าย่อง เพลงเดี่ยวระนาดเอก  เช่นเพลงลาวแพน  เพลงกราวใน  เพลงมุล่ง    นอกจากนั้นยังมีโหมโรงมโนราห์โอด  ตระโหมโรง  3 ชั้น

 

พ.ศ.2511 ครูพุ่มป่วยด้วยโรคงูสวัด แต่ได้รับการรักษาจนอาการดีขึ้น  ต่อมาครูพุ่มมีอาการแทรกซ้อนของโรคหัวใจ  จนในที่สุดครูพุ่มก็ถึงแก่กรรรมเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.2511 สิริอายุ 78 ปี

 

ครูเอื้อ สุนทรสนาน

ครูเอื้อ สุนทรสนาน เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2453  ครูเอื้อเป็นหนึ่งในศิลปินที่โด่งดังมากที่สุดในฝ่ายสากลยุคนั้น แต่ส่วนมากจะรู้จักกันในชื่อ สุนทราภร ได้แต่งเพลงร่วมกับแก้ว อัจฉริยะกุล และท่านอื่นๆ ไว้มากมายจนนับไม่ถ้วน ซึ่งคาดว่ามีมากกว่า 1,000 เพลง มีเพลงเป็นที่รู้จักกัน เช่น เพลงวันลอยกระทง เพลงวันสงกรานต์ เพลงนางฟ้าจำแลง ฟอร์เฟื่องฟ้า นอกจากนั้นยังถือได้ว่าท่านเป็นหนึ่งในที่บุกเบิกเพลงไทยสากล

 

เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2550 กระทรวงวัฒนธรรมได้เตรียมที่จะเสนอ ครูเอื้อ สุนทรสนาน ต่อองค์การยูเนสโกในวาระครบรอบ 100 ปีครูเอื้อ เพื่อให้เป็นบุคคลดีเด่นของโลก

 

ชีวิตในวัยเด็ก ครูเอื้อ เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2453 ที่ตำบลโรงหวี อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บิดาคือ นายดี สุนทรสนาน มารดาคือ นางแส สุนทรสนาน มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน

 

ครูเอื้อเริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดใหม่ราษฎร์บูรณะในจังหวัดสมุทรสงคราม เรียนได้ปีเศษพออ่านออกเขียนได้ บิดาก็พาตัวเข้ากรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2460 โดยให้อาศัยอยู่กับหมื่นไพเราะพจมาน ผู้เป็นพี่ชายซึ่งรับราชการเป็นคนพากย์โขนในกรมมหรสพ และถูกส่งเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดระฆังโฆสิตารามจนจบชั้นประโยคประถม ซึ่งเป็นระยะเวลาเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งโรงเรียนพรานหลวงขึ้นที่สวนมิสกวัน เป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสอนดนตรีทุกประเภท ครูเอื้อจึงได้ย้ายมาเรียนต่อที่โรงเรียนนี้ โดยภาคเช้าเรียนวิชาสามัญ ภาคบ่ายเรียนวิชาดนตรี ทางโรงเรียนสอนทั้งดนตรีไทยและดนตรีฝรั่ง ครูเอื้อถนัดดนตรีฝรั่ง ครูผู้ฝึกสอนคือ ครูโฉลก เนตรสุด อาจารย์ใหญ่คือ อาจารย์พระเจนดุริยางค์

 

หลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผ่านขึ้นไปมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในปี พ.ศ. 2465 พระเจนดุริยางค์เห็นว่า ครูเอื้อมีความสามารถพิเศษ นอกจากจะหัดViolin แล้ว ท่านอาจารย์ยังให้หัดเป่าTenor Sax อีกอย่างหนึ่งด้วย  และให้เปลี่ยนมาเรียนวิชาดนตรีเต็มวัน ส่วนการเรียนวิชาสามัญนั้น ให้งดเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษา   ปีที่ 2

 

ชีวิตการทำงานตลอด 2 ปี ผ่านมามา ความสามารถของครูเอื้อก็ประจักษ์ชัดแด่คณาจารย์ทั้งหลาย จึงได้ให้เข้ารับราชการประจำ กองเครื่องสายฝรั่งหลวงในกรมมหรสพ กระทรวงวัง รับพระราชทานยศเป็น "เด็กชา" เงินเดือน 5 บาท เมื่อปี พ.ศ. 2467 จนกระทั่งมีความชำนาญมากขึ้นจึงได้เลื่อนขึ้นไปเล่นวงใหญ่ในปี พ.ศ. 2469 เพิ่มเงินเดือนเป็น 20 บาท แล้ว 2 ปีต่อมาก็ได้รับพระราชทานยศ "พันเด็กชาตรี" และ "พันเด็กชาโท" ในปีถัดไป

 

ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ได้โอนไปรับราชการสังกัดกรมศิลปากร ในสังกัดกองมหรสพ และในปี พ.ศ. 2478 หลวงวิจิตรวาทการเป็นอธิบดีกรมศิลปากร ครูเอื้อซึ่งพิสูจน์ฝีมือดนตรีจนประจักษ์ชัด 2 ปีต่อมา  เงินเดือนจึงขึ้นเป็น 40 บาท และ 50 บาท

กรมโฆษณาการในปี พ.ศ. 2479 พระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ คุณพจน์ สารสิน และคุณชาญ บุนนาค ร่วมกันจัดตั้งบริษัทสร้างภาพยนตร์ไทยขึ้นชื่อว่า บริษัทไทยฟิล์ม ประเดิมภาพยนตร์เรื่องแรกคือ "ถ่านไฟเก่า" คุณเอื้อมีโอกาสเข้าบรรเลงดนตรีประกอบเพลงในภาพยนตร์เรื่องนี้และได้ร้องเพลง "ในฝัน" แทนเสียงร้องของพระเอกในเรื่อง นับเป็นเพลงแรกที่ขับร้อง และได้รับความนิยมอย่างสูง ต่อมาได้เป็นหัวหน้าวงดนตรีฟิมล์ด้วย

 

จากงานใหญ่ที่สร้างชื่อเสียง เอื้อ สุนทรสนาน จึงมีความคิดตั้งวงดนตรีขึ้นในปีถัดมา เรียกชื่อวงตามจุดกำเนิดคือ "ไทยฟิล์ม" ตามชื่อบริษัทหนัง และนี่คือการเริ่มแรกของวงดนตรีครูเอื้อ สุนทรสนาน

หลังจากตั้งวงดนตรีได้ปีเศษ กิจการ สร้างภาพยนตร์ของบริษัทไทยฟิล์มต้องเลิกกิจการไป วงดนตรีไทยฟิล์มก็พลอยสลายตัวไปด้วย

 

หลังจากนั้นอีก 1 ปี ทางราชการได้ปรับปรุงสำนักงานโฆษณาการ เชิงสะพานเสี้ยว ใกล้สนามหลวง (เดี๋ยวนี้รื้อถอนไปแล้ว) และได้ยกฐานะขึ้นเป็นกรมโฆษณาการ โดยมีนายวิลาศ โอสถานนท์ เป็นอธิบดี นายวิลาศ โอสถานนท์ได้พิจารณาเห็นว่า เมื่อมีสถานีวิทยุของรัฐบาลแล้ว ควรจะมีวงดนตรีประจำอยู่ จึงได้นำความคิดไปปรึกษาหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ ซึ่งคุณหลวงตระหนักถึงความสามารถในทางดนตรีของคุณเอื้อและคณะอยู่แล้ว จึงได้แนะนำนายวิลาศว่า ควรจะยกวงของครูเอื้อมาอยู่กรมโฆษณาการ โดยการโอนอัตรามาจากกรมศิลปากร

 

 จากวงดนตรีกรมโฆษณาการ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ มีครูเอื้อเป็นหัวหน้าวง เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร์มหาอานันทมหิดล รัชกาลที่8

 

ด้านครอบครัว ครูเอื้อ   สุนทรสนาน  พบรักกับสุภาพสตรีเจ้าของนาม อาภรณ์ กรรณสูด ธิดาพระยาสุนทรบุรี และคุณหญิงสะอิ้ง กรรณสูด เมื่อปี พ.ศ. 2480 และได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 มีธิดาเพียงคนเดียวคือ อดิพร สุนทรสนาน ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานน้ำสังข์สมรสจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับ ร.ต.อ. สันติ เสนะวงศ์

 

นอกจากนั้นแล้ว ครูเอื้อยังมีทายาทชายผู้สืบสกุลอีกหนึ่งคนซึ่งเกิดจาก<a href="http://th.wikipedia.org/wik

คำสำคัญ (Tags): #วิจัยเชิงพรรณา
หมายเลขบันทึก: 553209เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2013 07:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2014 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท