สถานภาพนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา


Report-2
คลิ๊กที่นี่เพื่อโหลดหนังสือฉบับเต็ม
รายงานการสืบค้นข้อมูลหัวข้อ “สถานภาพนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา” เขียนโดย ธนพล วิศิษฐ์กิจการ สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงวอชิงตัน รายงานดังกล่าวเป็นข้อมูลสนับสนุนการกำหนดนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศไทย ดังเช่น สหรัฐฯเน้นการขยายงานวิจัยเพื่อนำไปสู่เชิงพาณิชย์มากขึ้น การพัมนาระบบการศึกษาแบบ STEM การพัฒนาพลังงานและสิ่งแวดล้อม  หรือประเทศแคนาดา  เน้นการลงทุนการวิจัยโดยอาศัยมาตรการการส่งเสริมผู้ประกอบการให้สร้างนวัตกรรม  การเพิ่มปริมาณผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การดึงดูกบุคลากรจากต่างประเทศ ฯลฯ
Dr.-Duangjai
คลิ๊กที่นี่เพื่อโหลดหนังสือฉบับเต็ม
“U.S. Alternative Energy R&D: Lessons for Thailand” โดย ดร. ดวงใจ บลอยด์ (Duangjai I Bloyd, Ph.D.) นักวิชาชีพไทยในสหรัฐฯดร. ดวงใจ บลอยด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานในสหรัฐฯ ศึกษานโยบายด้านการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานทดแทนของรัฐบาลประธานาธิบดีโอบามา และสรุปเป็นรายงานดังกล่าว จัดพิมพ์เมื่อเดือนกันยายน 2556ประเทศสหรัฐฯ เป็นผู้นำด้านการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรมด้านพลังงานทดแทน โดยมีมาตราการสนับสนุนและเงินสนับสนุนการทำวิจัย การบังคับใช้กฏหมาย ผู้เขียนได้นำเสนอนโยบายและกระบวนการและขั้นตอนการส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนของรัฐบาลประธานาธิบดีโอบามา  นโยบายและแผนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนโครงการวิจัยและพัฒนาที่สำคัญ จากโปรแกรมของ Office of Energy Efficiency and Renewable Energy และให้ข้อเสนอแนะโครงการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานทดแทนที่เหมาะสมกับประเทศไทย เช่น โครงการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการด้านพลังงานชีวมวล โครงการด้านพลังงานลม และยังนำเสนอกลยุทธ์ในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เช่น การส่งเสริมการเป็นพันธมิตรระหว่างรัฐกับเอกชน  การสร้างห้องปฏิบัติการที่เรียกว่า User Facilities รวมถึงข้อเสนอนโยบายสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

http://ostc.thaiembdc.org/13th/?page_id=366

หมายเลขบันทึก: 552331เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2013 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2013 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ อยากทราบแนวคิด _อยากทราบ STEM movement ค่ะ ถ้ามีโอกาสเขียนเรื่องนี้บ้างนะคะ

ได้ครับ แต่จริง ๆ หน่วยงานที่ทำเรื่องนี้ในไทย คือ สวทน. http://www.sti.or.th ครับ ซึ่งคงจะทำร่วมกับทาง ก.ศึกษาฯ ในการจัดทำหลักสูตรและแนวทางในการดำเนินงาน แต่ผมจะไปหารายละเอียดมาเล่าให้ฟังครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท