ภาษาถิ่นสตูล


ภาษาถิ่นสตูล ที่นี่บ้านฉันจังหวัดสตูล นะคะ มีลักษณะที่โดดเด่นอย่างหนึ่งตรงที่ชาวไทยมุสลิมส่วนใหญ่นิยมใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันนะคะ ถึงแม้ว่าบ้านของเราจะอยู่ติดกับชายแดน แต่เราก็รักในการใช้ภาษาไทยนะคะที่เป็นภาษาถิ่นของตัวเอง เราเรียกว่าภาษาถิ่นสตูลนะคะ เป็นการผสมภาษามาลายูเอาไว้นะคะ หรือเป็นการนำภาษามาลายูมาใช้นั้นเอง เป็นการยืมคำมาใช้นะคะ

วันนี้ขอนำเสนอภาษาพาเพลินกับคำที่ใช้เรียกเครือญาติที่มีลำดับชั้นสูงกว่าตน นะคะ

ป๊ะ ย๊ะ อายะ หมายถึง พ่อ

ม๊ะ           หมายถึง แม่ 

บัง อาบัง    หมายถึง พี่ชาย

ก๊ะ จ๊ะ       หมายถึง  พี่สาว

โต๊ะ         หมายถึง  ย่า ยาย

หวัน โต๊ะหวัน โต๊ะบัน หมายถึง ปู่

แนะ         หมายถึง ทวด

หวา หลง  หมายถึง ลูกคนที่ 1 ของ ปู่ - ย่า

งะ          หมายถึง ลูกคนที่ 2 ของ ปู่ - ย่า

หลัง       หมายถึง ลูกคนที่ 3 ของ ปู่ - ย่า

หยัง       หมายถึง ลูกคนที่ 4 ของ ปู่ - ย่า

ตำ        หมายถึง ลูกคนที่ 5 ของ ปู่ - ย่า

นะ        หมายถึง ลูกคนที่ 6 ของ ปู่ - ย่า

จิ        หมายถึง ลูกคนที่ 7 ของ ปู่ - ย่า

ดา       หมายถึง ลูกคนที่ 8 ของ ปู่ - ย่า

เต๊ะ      หมายถึง ลูกคนที่ 9 ของ ปู่ - ย่า

ฉู จู สู  หมายถึง ลูกคนสุดท้องของ ปู่ - ย่า

ส่วนเครือญาติที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าตน เช่น น้อง ลูก หลาน เหลน นะคะ

คำผสมมาลายูกับไทย เช่น

โต๊ะตา หมายถึง พ่อตา

โต๊ะยาย  หมายถึง แม่ยาย

โต๊ะชาย  หมายถึง ปู่

คำที่เรียกคนที่มีความสัมพันกัน เช่น

รากัน หมายถึง เพื่อนเกลอ

ตุหนัง หมายถึง คู่หมั้น

บิสัน  หมายถึงญาติโดยการสมรส

บิรัย  หมายถึง คู่เขย นะคะ

ภาษาพาเพลินท้องถิ่นวันนี้ขอนำเสนอเพียงแค่นี้ก่อนนะคะ โปรดติดตามตอนต่อไปเพราะสตูลยังมีชาวเลอาศัยอยู่ด้วยนะคะ จึงมีภาษาชาวเลด้วยนะคะ ลองๆๆศึกษาดูก็สนุกดีนะคะ

มณีเทวา

 

 

หมายเลขบันทึก: 551578เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2013 20:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ตุลาคม 2013 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท