หมี่ลวดลาวเวียงจัน ไหมมัดหมี่วัฒนธรรมสองฝั่งโขง


สรุปเกี่ยวกับหมี่ลวด1

กลุ่มที่มีรูปแบบเป็นหมี่ลวด

           หมี่ลวด ในหมายถึงของลาวเวียงจันคือ รูปแบบการทอผ้าด้วยเทคนิคมัดหมี่ต่อเนื่องกันไปจนหมดผืนโดยไม่มีการตาขั้นเหมือนกับหมี่ขั้น เทคนิคการมัดหมี่ของหมี่ลวดมีจำนวนลำหมี่มากกว่าหมี่ขั้นช่างทอชาวลาวเรียกหมี่ลวดสำหรับเทคนิคการมัดหมี่เท่านั้นทั้งไหมและฝ้าย  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 18pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 18pt" class="MsoNormal">ส่วนชื่อเรียกอีกอย่างสำหรับหมี่ลวดคือหมี่ล่วง เป็นการเรียกชื่อผ้าลวดอีกกลุ่ม เพื่อให้แตกต่างกันในกลุ่มหมี่ลวด   หมี่ล่วงจะเป็นการทอหมี่ลวดแต่เพิ่มตาขั้นลงไปขั้นหมี่แต่ละลำเพียงหนึ่งสอดเท่านั้นเพื่อให้ลายหมี่ที่มัดในแต่ละลำสวยงามและชัดเจนมากขึ้น โดยตาสอดนั้นไม่ได้ไปทำลายหรือเด่นจนทำให้ลวดลายหมี่ลวดดูด้อยลงไปและไม่ทำให้ลวดลายหมี่ลวดแยกกันในผืนผ้า </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 18pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 18pt" class="MsoNormal">จากการศึกษาผ้าตัวอย่างของผู้วิจัยและนักวิจัยลาวพบลวดลายมัดหมี่ต่าง ๆ ดังนี้</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">กลุ่มลายนาก ลายนากในหมี่ลวดของชาวเวียงจัน เช่นเดียวกับหมี่ขั้นคือมีการลดรูปนากลงปรากฏเป็นเพียงนากขอ ส่วนหนึ่งเนื่องจากเทคนิคการมัดหมี่และขั้นรูปลวดลายมีความยุ่งยากในการสร้างลวดลายและกำหนดสีจึงทำให้ลวดลายนาก ลดรูปลง เช่น หมี่ลวงลายเอื้อหัวนาก หมี่ล่วงลายโคมหัวนาก </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal" align="center"> </p>

คำสำคัญ (Tags): #นาก
หมายเลขบันทึก: 55156เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2006 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท