บทสาขาที่ 1.2 เรื่อง เปรียบเทียบประเภทแบบเพลง Compare music


ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับมนุษย์ จิตดนตรีปรัชญาสังคม

   ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับมนุษย์

 Music Humanism Relation (MHR)    

เรื่อง 1.2

เปรียบเทียบประเภทแบบเพลง

Compare music

 

ดนตรีที่ได้อาศัยแฝงติดมากับมนุษย์ ได้เดินทางสืบทอดมาด้วยกันเป็นเวลายาวนานแล้ว จากนี้ยังต้องเดินทางร่วมกันไป กับชนมวลรุ่นใหม่ ตามทัศนคติญาญของมนุษย์กำหนด และส่วนแนวเพลงที่เกี่ยวข้องร่วมขบวนมากับมนุษย์นั้น วิจักษ์ศิลปดนตรีกล่าวไว้ว่า ดนตรีได้สร้างเพลงให้ไว้หลายแนว  โดยหลักการแล้วเป็นได้ 3 ประเภทหลักคือ

 

ตารางเปรียบเทียบประเภทแบบเพลง

 

1

2

3

1. ประเภทอนุรักษ์

1.1 ประยุกต์อนุรักษ์

1.2 พัฒนาอนุรักษ์

2. ประเภทประยุกต์

2.1  ประยุกต์สัมพันธ์

2.2 ประยุกต์สัมพันธ์พัฒนา

3. ประเภทดนตรีแนวใหม่

3.1 ประยุกต์แนวดนตรีใหม่

3.2  ดนตรีพัฒนาแนวใหม่

 

 

1. ประเภทดนตรีเพลงแนวอนุรักษ์

กระบวนดนตรีแนวอนุรักษ์นิยม Music Humanism รู้วัดได้ด้วยมาตรวัฒนธรรมทางดนตรี Classic Culture Music กำหนดสาเหตุด้วยการรู้ที่มาของดนตรีเพลงแนวอนุรักษ์ ว่าเริ่มต้นจากที่ใด Event way song ตอบได้เพียงว่ามาจากบทเพลงปฏิภาค คำว่า ปฏิ เป็นส่วนคำกริยา หมายวิธี ที่ทำให้เกิดกระบวนการ เช่น ปฏิสังขร ปฏิบัติธรรมภาวนา ทำกับข้าว เล่นดนตรีร้องเพลง ส่วน ภาค เป็นคำนาม เช่นเฉพาะเขตภาคต่างๆในประเทศไทย พื้นภูมิเฉพาะประเทศไทย ผืนดินเฉพาะเขตตำบล อำเภอ ที่เป็นเช่นนี้เพราะวัฒนธรรมจัดเขตให้ไว้ โดยหลักการมี 3 องค์ประกอบด้วย คำร้อง ทำนองและจังหวะ ดังเพลงกล่อมลูกตามภาคต่างๆ มีเพลงพิธีกรรมนำประกอบวัฒนธรรมการดำรงค์ชีวิต เช่นเพลงปอบผีฟ้า ยายกับตา เต้นกำรำเคียว เพลงเรือ เพลงฉ่อย เพลงสร้อย สังขารา แอ่วเตล้าซอ ฯ ล ฯ รวทั้งเพลงไทยเดิมประเภณีเดิมตามภาค ได้จัดไว้เป็นหมวดเพลงอนุรักษ์รวม ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์

 

1.1              ประเภทประยุกต์อนุรักษ์ 

นำเพลงแนวสำเนียงจีน มอญ แขก เขมร จีน และบางวรรคตอนของต้นแบบสำเนียงเพลงต่างๆ มาปรับแต่งเป็นเพลงไทยเดิม แล้วตั้งชื่อให้เกียร์ตสำเนียงที่นำมาใช้นำหน้าชื่อเพลงเช่น มอญฟักแฟง แขกต่อยหม้อ เขมรพวง ฝรั่งรำเท้า จีนต้องเชียง ส่วนเพลงสำเนียงไทยเดิมให้ชื่อเป็นไทยเช่น แสนคำนึง โหมโรงจอมสุรางค์ออกสะบัดสะบิ้ง โหมโรงมหาฤกษ์บางรายออกเพลงขยะแขยง โหมโรงครอบจักวาลออกม้าย่อง โหมโรงกระแตออกไต่ไม้ และโหมโรงไอยเรศ เล่นด้วยเครื่องดนตรีไทย เป็นต้น

 

  1.2 ประเภทพัฒนาอนุรักษ์

นำเพลงแนวสำเนียงจีน ฝรั่ง มอญ แขก เขมร และเพลงไทยเดิม บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีไทยผสมเครื่องดนตรีต่างประเทศ โดยให้เกียรตเป็นผู้ขึ้นนำเพลง เช่นขิม Piano Violin Acordian Guitar

 

2. . ประเภทประยุกต์อนุรักษ์        

  ผลงานดนตรีแนวแบบสังคีตประยุกต์ในปี พ. ศ. 2495 ประเภทเพลงใช้ทำนองเพลงไทยเดิมใส่เนื้อเต็ม บางเพลงแต่งใหม่ทั้งหมด เป็นผลงานที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มนักเพลงรวมไปถึงนักค้าเพลง ห้างเอกชนนำออกสู่ประชาชนด้านธุระกิจการค้า โดยคุณครูสมาน กานจนผลิน ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปการแสดงฝ่ายสากล พ. ศ . 2531 ผู้เป็นเจ้าของชื่อ เครื่องมือที่ถนัดคือ ระนาดเอก กับ Trumpet เพลงแรกออกสู่ประชาชนชื่อเพลง วิหกเหิรลม ชุดนี้ประยุกต์ขึ้น 10 เพลงเช่น      วิหกเหิรลม จำพราก อิเหนารำพึง นกเขาคู่รัก สัญญารัก ง้อรัก กลิ่นไม้แซมผม โดยวางแนวดนตรีระบบ Contemporary ใช้วงดนตรีไทยผสมกับวง Big Band คือวงหัสดนตรี บรรเลงสลับวรรคท่อนกัน เช่นถ้าในท่อนเพลงใดกำหนดให้วงดนตรีไทยบรรเลง ต้องมีหน้าทับประกอบเพลง และถ้าในท่อนเพลงใดกำหนดให้วงดนตรีสากลบรรเลง ต้องมีจังหวะประกอบเพลงเช่นกัน

 

2.1              ประยุกต์สัมพันธ์หรือสังคีตสัมพันธ์

 พ. ศ. 2495 กรมโฆษณาการได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมประชาสัมพันธ์ พลโท มล. ขาบ กุญชร อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้จัดตั้งวงดนตรีแนวผสมขึ้น โดยใช้วงดนตรีมโหรีกับวงหัสดนตรี Big Band ผสมแล้วตั้งชื่อว่า วงดนตรีสังคีตสัมพันธ์ ประเภทเพลงใช้ทำนองเพลงไทยเดิมใส่เนื้อเต็ม เรียบเรียงเสียงประสาน Arrange sound ไว้กับเครื่องดนตรีสากลและใช้เครื่องประกอบจังหวะดนตรีสากลสนับสนุนุน ส่วนเครื่องมโหรีไทยทำหน้าที่ลำลองทำนอง Casual air ใช้หน้าทับหนุนรับประกอบบางครั้งผสมกันไป ขับเพลงด้วยนักร้องชาย หญิง ร้องเดี่ยว ร้องหมู่ ร้องคู่ และด้วยการปรับเสียงเครื่องดนตรีไทยให้เข้ากับเสียงเครื่องดนตรีสากลด้ววิธีเลื่อนเสียงขึ้น 1 เสียง

 

2.2 ประยุกต์สัมพันธ์พัฒนาหรือสังคีตสัมพันธ์พัฒนา

พ. ศ. 2540 เริ่มเกิดการพัฒนาเพลงใหม่ขึ้นด้วยการแต่งเพลงใหม่ และใช้แนวแบบทำนองเพลงไทยเดิมบ้างใช้นักร้องรุ่นใหม่นักดนตรีรุ่นใหม่เข้าประจำการมีเจ้าหน้าที่คอยฝึกฝน โดยมีครูพร พิรุณเป็นผู้แต่งเพลงและเพลงได้ออกมาเป็นรูปลักษณะประเพณี การปรองดองสมานฉันท์ชนในชาติ แต่เพลงเก่ายังนำมาร่วมใช้ตลอด สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ Style และเสียงไม่เหมือนเดิมเพราะ พ.ศ. 2554 นี้ได้หมดอายุราชการไปหลายท่าน

            

พัฒนาแนวเพลงดนตรี ได้เริ่มมาจากการให้เวลา และเวลา จะชี้บอกถึงระดับคุณภาพต่อเนื่องหรือระบบก้าวกระโดดได้จากวงการสังคมพติกรรมบันทิง โดยมี ผู้ประกอบการประเภทดนตรีพัฒนาสร้างทัศนคติแนวนี้แล้วปฏิบัติเกิดผลขึ้น ดนตรี ได้ติดตามวงการบันเทิงนี้มาตลอด จากคุณประโยชน์ดนตรีได้นำใช้นั้น คือสัญลักษณ์ของประเทศที่เจริญแล้ว และดนตรีเองมิได้นิ่งนอนใจยังคงใฝ่รู้ด้วยวิธีกระบวนตน ผลสำเร็จได้ตามกาลเวลาจากการค้นหานวตกรรมเสียงแปลกใหม่ ก่อแนวเสียงเพลงกระบวนสับสน Confusion Sound เพื่อการพัฒนา Progressive Style ก้าวหน้าสู่ความเจริญต่อไป

 

3. ประเภทดนตรีแนวใหม่

วงดนตรีแนวใหม่ยอดนิยมซึ่งได้รับค่านิยมจากเพลงวัยรุ่นตะวันตก ไทยใช้ชื่อว่าวงสตริง String Band หรือเรียกชื่อวงดนตรี Shadow (คณะวงดนตรีของอังกฤษ) หมายถึงวงดนตรีสากลใช้เครื่องสายไฟฟ้าโดยมี กีต้าร์โชโล่วไฟฟ้า Lead guitar กีตาร์คอร์ดไฟฟ้า Chord guitar กีต้าร์เบสไฟฟ้า Bass guitar และกลอง Drums เข้ามาในปี พ.ศ. 2503 ใช้ภาษาอังกฤษ อเมริกันล้วนหลากหลายวง เรียกโดยรวมว่าวงซิ้กตี้ ค.ศ. 1960 แต่ในอเมริกาเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1840 หรือ พ.ศ. 2383 ส่วนใหญ่เกิดจากกลุ่มเด็กหนุ่มผิวดำ

 

  3.1 ประยุกต์แนวดนตรีใหม่        

เมื่อเริ่มมีการแต่งคำร้องเข้าประกอบแนวเพลงวงสตริง และนำเพลงไทยแนวต่างๆเข้าผสมเพื่อให้เข้ากับความเป็นไทยสากล เกิดความมหัศจรรย์ว่าวงสตริงสามารถเล่นเพลงไทยได้ จำต้องมีคีย์บอร์ดออร์แกนไฟฟ้า Electric Organ ไว้เพื่อขึ้นเพลงไทยสากลให้กับผู้ขับร้อง และวง The cat นำวงโดยแจ๋วแหวว และ Anny ส่งผลงานให้กับบริษัท Columbia ส่งจำหน่ายบางจุดทั่วโลก

 

 

  3.2  ดนตรีพัฒนาแนวใหม่

 

เกิดจากการพัฒนา ศึกษา ค้นคว้า และประสบการณ์ทดลองใหม่ จากนักศึกษาศิลปินดนตรีหลายสาขาและก่อเป็นวงขึ้น โดยใช้ต่างละความถนัดที่สุดของสมาชิกในวงแต่ละคน นำมาวิเคราะห์ร่วมว่ามีเอกสภาพไปในสายดนตรีแนวใหม่ทางใด หรือหาสมาชิกศิลปินถนัดร่วมแนว ให้เกิดความเข้มIntensive มีเอกสภาพไปในสายดนตรีกลุ่มสัมฤทธ์ หรือมีเอกสภาพไปในสายดนตรีประยุกต์สัมพันธ์เช่น วงกอใผ่ เข้มไปในทางพัฒนาเพลงไทยเดิมให้ไทยทันสมัย วงไหมไทย เข้มไปในทางพัฒนาเพลงไทยเดิมให้ไทยทัน Classic สมัย และวงดนตรี Infinity Band เข้มไปในทางพัฒนาเพลงไทยเดิมให้ทันสมัยโดยปรับประยุกต์แนวทำนองเพลงไทยเดิม และเพลงแต่งใหม่ เข้าสู่พัฒนาสากล Progressive all that Jazz.   

หมายเลขบันทึก: 550996เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2013 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2014 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท