เข้าใจแล้ว เรื่อง KM


เมื่อวานนี้ อ่านมากรู้มาก เข้าไปอ่านบันทึกในอดีตตั้งแต่เดือนมีนาคม 2549 ของบุคคลที่ครูอ้อยนิยมชมชอบ ทำให้เข้าใจ KM ได้ดี และจะนำไปใช้ในการจัดการความรู้ในองค์กรย่อยๆที่รับผิดชอบอยู่

เมื่อวานนี้ วันที่ 18 ตุลาคม 2549 ได้เข้าไปอ่านบันทึกเรื่องการจัดการ KM ซึ่งได้บันทึกไว้ตั้งแต่ เดือนมีนาคม 2549 ครูอ้อยยังไม่เข้ามาใน Gotoknow นี้เลย 

โชคดีนะที่ได้อ่าน  อ่านแล้วก้เข้าใจดีขึ้น  แต่จะให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ต้องได้ลงมือปฏิบัติก่อน  ถึงจะรู้ว่ามีแนวโน้มว่าจะสำเร็จหรือไม่

ก่อนที่จะจัดการนั้น  ครูอ้อยสำรวจสภาพปัญหาที่มีอยู่ในองค์กรย่อยๆที่รับผิดชอบแล้ว  พบว่า

ประชากรที่อยู่ในองค์กรนั้นมีจำนวนคนน้อยนิด  และแต่ละคนยังไม่เข้าใจเรื่อง KM  ซึ่งมีความต้องการทำงานใรส่วนที่ได้รับคำสั่งเท่านั้น

ขอเกริ่นนำว่า KM ที่องค์กรใหญ่ในโรงเรียนมี 2 ส่วน คือหน่วยโรงเรียน  และหน่วยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ครูอ้อยปฎิบัติหน้าที่ 2 อย่างคือ  คุณอำนวยในหน่วยโรงเรียนและคุณเอื้อในหน่วยกลุ่มสาระฯ

ไม่ได้หนักใจว่าจะปฏิบัติอย่างไรในการจัดการความรู้  แต่ไม่ค่อยจะพอใจที่เราวนเวียนกันอยู่  เสียเวลา  ไม่คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป

อืมมม...พอมาอ่านบันทึกของคุณประพนธ์  และคุณMitochondria แล้ว  ทำให้เห็นเส้นทาง  และแนวความคิด  ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติได้อย่างชัดเจน

เช่น 

เรื่อง KM ที่ทำให้ป่วนปั่นในองค์กร  หัวปลา  ตัวปลา  หางปลา
เวลาพูดคำว่า KM หลายคนมักจะมองไปที่ "กระบวนการ" การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นหลัก   ซึ่งใน "Model ปลาทู"  ก็คือส่วนที่เป็น "ตัวปลา" หรือ Knowledge Sharing นั่นเอง ถึงส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ค่อนข้างสำคัญ  แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นการทำ KM ที่สมบูรณ์   ทั้งนี้เพราะยังขาดส่วนของ "หัวปลา"  ยังขาด Knowledge Vision ที่สัมพันธ์และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร  หากไม่มี "หัวปลา"  กระบวนการที่เป็น "ตัวปลา"  ก็อาจจะ "ไร้ค่า" ในสายตาเชิงการบริหารองค์กร
 
            ในขณะเดียวกัน KM ในบางหน่วยงาน ก็ยังเน้นกันแต่ที่การสร้าง Knowledge Center หรือศูนย์กลาง (ระบบ) สำหรับจัดเก็บความรู้แต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งก็ตรงกับส่วน "หางปลา" หรือ Knowledge Asset นั่นเอง.... จะเห็นได้ว่าการมีเพียง "ตัวปลา" หรือ "หางปลา"  นั้น  ถึงบางท่านจะพูดว่าได้ทำ KM แล้ว  แต่ก็เป็น KM แค่บางส่วนเสี้ยว ....หาใช่ KM ที่สมบูรณ์  และมีพลังไม่ !!
 
ป้าย(คำหลัก): uncategorized
สร้าง: อ. 21 มี.ค. 2549 @ 06:54   แก้ไข: อ. 21 มี.ค. 2549 @ 06:54

ครูอ้อยอยากจะบอกว่า........อย่างนี้เลยค่ะ  ปัญหาที่องค์กรเผชิญอยู่..

จากนั้นครูอ้อยอ่านต่อ......ก็พบว่า
mitochondria เมื่อ อ. 21 มี.ค. 2549 @ 07:50 (16886)
ในส่วนของหัวปลา ผมว่าเป็นเรื่องที่น่าจะยากที่สุดครับ เพราะเป็นเรื่องของการกำหนดทิศทาง ของการจัดการความรู้ สำหรับตัวปลา หรือกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ และหางปลา หรือการจัดเก็บความรู้เป็นเรื่องที่มองเห็นเป็นรูปธรรม หากสามารถหาโต้โผในการรวบรวมสมัครพรรคพวกให้เข้ามาร่วมอุดมการณ์แล้ว ผมมองว่าตัวปลาหรือหางปลาเป็นเรื่องไม่ยากนัก เพราะมองเห็นเป็นรูปธรรม และผู้เกี่ยวข้องสามารถสนุกกับเรื่องที่ทำอยู่ ในขณะที่หัวปลา เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะไม่ใช่เพียงแค่มี slogan สวยหรูเหมือนดังหลายหน่วยงานจัดให้มีการสัมนาเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์แล้วเขียนมันไว้ติดข้างฝาเอาไว้ท่องเล่น ส่วนการทำงานจริงก็ยังเหมือนเดิม ผู้บริหารประเภท เห็นชอบมอบรอง หรือเห็นด้วย ผุ้ช่วยทำ สิ่งที่ทำได้ก็คือเอาหัวปลามาครอบ แต่ปลาตัวนี้ตายเสียแล้ว ถึงอย่างไรก็ยังดีกว่าไม่มีอะไร อย่างน้อยก็ยังมีตัวมีหางเอาไว้กินได้ อย่ารอให้มีหัวเลยครับ หน่วยงานไหนพร้อมตรงไหนก็ทำกันไปก่อน เมื่อได้เริ่มทำแล้ว ก็จะพอมองเห็นทางต่อไปเองว่าจะเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาตรงไหน รอเวลาฟ้าใหม่ เมื่อผู้บริหารเห็นความสำคัญแล้วเข้ามากำหนดทิศทางเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร เมื่อนั้นเราก็จะมีหัวปลา และชีวิตของปลา ที่จะโลดเล่นไปมาในกระแสน้ำอย่างมีชีวิตชีวา

 ถูกใจ...มากมาก

ยังมีอีกนะคะ  แต่วันนี้ขอรายงานเพียงเท่านี้

สิริพร กุ่ยกระโทก รายงาน....

 

คำสำคัญ (Tags): #knowledge#management#school#siriporn
หมายเลขบันทึก: 55087เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2006 07:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ได้อ่านเรื่องของครูอ้อยแล้ว ก็ทำให้เข้าใจ                 คำว่า  KM   มากขึ้น  อีกนิด  ขอบคุณนะคะที่ขยันนำความรู้มาแบ่งปันกัน

 

สวัสดีค่ะ  ครูพนารัตน์

ไปเที่ยวปิดภาคเรียนสนุกใหมคะ  อิอิ 

ขณะนี้ยิ่งเข้าใจ M มากขึ้น

หนูอยากจะถามครูอ้อยนะคะว่า เราจะทำอย่างไรให้เราสามารถนำความรู้ที่เรามีอยู่ (tacit knowledge) ถ่ายทอดออกมาเป็นถ้อยคำที่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นสนใจ และเข้าใจได้

ตรงนี้ยากมากสำหรับหนู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท