สาระที่2 รูปแบบของหลักสูตร


หลักสูตร (curriculum) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า "currere" ซึ่งหมายถึงช่องทางสำหรับวิ่ง (a racingchariot, from which is derived a racetrack, or a course to be run) ซึ่งนำมาใช้กับความหมายในทางการศึกษาก็หมายถึง แนวทางสำหรับการเรียนรู้ (a course of study) ที่เป็นดังนี้เพราะการเรียนที่ประสบความสำเร็จจะต้องดำเนินไปตามแนวทางและลำดับขั้นตอน อันเหมาะสมที่ได้กำหนดไว้ มิเช่นนั้นแล้วก็จะออกนอกลู่นอกทางไม่ถึงจุดมุ่งหมายตามที่คาดหวังหรือถึงจุดมุ่งหมายแต่ก็อาจจะเสียเวลามากได้มีผู้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้อย่างหลากหลายแตกต่างกันไป บางความหมาย ก็มีขอบเขตกว้าง บางความหมายก็มีขอบเขตแคบ มีทั้งความหมายที่เป็นรูปธรรมและความหมายที่เป็นนามธรรม ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากมุมมองและประสบการณ์ของแต่ละคนที่มีต่อหลักสูตรนั่นเอง ดังความหมายของหลักสูตรที่มีผู้กล่าวไว้ เช่น

หลักสูตรคือ สิ่งที่สอนในโรงเรียน

หลักสูตรคือ ชุดของวิชา

หลักสูตรคือ เนื้อหา

หลักสูตรคือ โปรแกรมการเรียน

หลักสูตรคือ ชุดของสื่อการเรียนรู้

หลักสูตรคือ ลำดับของกระบวนวิชา

หลักสูตรคือ ชุดของจุดประสงค์ที่นำไปปฏิบัติ

หลักสูตรคือ กระบวนวิชาที่เรียน

หลักสูตรคือ ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในโรงเรียน รวมทั้งกิจกรรมพิเศษ การแนะแนว และความ

สัมพันธ์ระหว่างบุคคลหลักสูตรคือ สิ่งที่ใช้สอนทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนเป็นผู้จัด

หลักสูตรคือ ทุกสิ่งที่กำหนดขึ้นโดยบุคลากรในโรงเรียน

หลักสูตรคือ ประสบการณ์ของผู้เรียนแต่ละคนอันเป็นผลมาจากการเล่าเรียน

ในโรงเรียน

นอกจากความหมายของหลักสูตรดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีนักการศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้อีกมากมาย ดังนี้

กู๊ด(Good) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ในพจนานุกรมทางการศึกษา (dictionary of education) ว่า หลักสูตรคือ กลุ่มรายวิชาที่จัดไว้อย่างมีระบบ หรือลำดับวิชาที่บังคับสำหับการจบการศึกษา หรือเพื่อรับประกาศนียบัตรในสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น หลักสูตรสังคมศึกษา หลักสูตรพลศึกษา

ทาบา (Taba) กล่าวว่า หลักสูตรคือ แผนการเรียนที่ประกอบด้วยจุดประสงค์และ จุดมุ่งหมายเฉพาะการเลือกและการจัดเนื้อหา วิธีการเรียนการสอนและการประเมินผล

โบแชมพ์ (Beauchamp) ให้ความหมายว่า หลักสูตรคือ แผนที่เขียนไว้อย่างชัดเจนเพื่อบอกขอบเขตและการจัดโปรแกรมการศึกษาในโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย

1. ข้อความที่กล่าวถึงแนวทางในการวางแผนการเรียนการสอน

2. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร

3. เนื้อหาสาระที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย

4. ระบบแนวทางการประเมินคุณค่าของหลักสูตร (หลักสูตรคืออะไร, 2547)

เซเลอร์และอเลคซานเดอร์ (Saler Alexander) ได้กล่าวถึงความหมายของหลักสูตรว่า เป็นแผนสำหรับจัดโอกาสการเรียนรู้ให้แก่บุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อบรรลุเป้าหมายหรือจุดหมายที่วางไว้โดยมีโรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบ

สุมน อมรวิวัฒน์ กล่าวว่า หลักสูตรคือ แนวกำหนดประสบการณ์ทั้งมวลที่มุ่งหมายให้ นักเรียนได้รับการศึกษาทั้งในแง่วิจารณ์และพัฒนาทุกด้านครอบคลุมถึงการกำหนด กิจกรรมการเรียนการสอน และวิธีฝึกอบรมเด็กในชั้นเรียน หลักสูตรมีฐานะเป็นมาตรฐานและเป็นพื้นฐานอย่างหนึ่งในการจัดประสบการณ์ให้แก่นักเรียน ครูจึงสามารถเติมเสริมแต่งให้เหมาะสมกับสภาพของผู้เรียนและท้องถิ่นได้

เอกวิทย์ ณ ถลาง ให้ความหมายของหลักสูตรว่า หลักสูตร หมายถึง มวลประสบการณ์ทั้งหมดที่จัดให้กับเด็กได้เรียนเนื้อหาวิชา ทัศนคติ แบบพฤติกรรม กิจวัตร สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ฯลฯ เมื่อประมวลกันเข้าแล้วก็จะเป็นประสบการณ์ที่ข้าไปในการรับรู้ของเด็กภิญโญ สาธร ให้ความหมายว่า หลักสูตร หมายถึง โครงการศึกษาที่กำหนดให้ นักเรียนเรียนรู้และพัฒนาตนเองตามแผนการศึกษา

กมล สุดประเสริฐ กล่าวว่า หลักสูตร มิได้หมายความแต่เพียงหนังสือหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการเท่านั้นแต่ยังมีความหมายถึงกิจกรรมและประสบการณ์ทั้งหลายที่จัดให้กับเด็ก จึงรวมถึงการสอนของครูต่อนักเรียนด้วย

วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์ กล่าวว่า หลักสูตร หมายถึง โครงการที่ประมวลความรู้และประสบการณ์ และถ้ากล่าวถึงในแง่เอกสารจะใช้คำว่า หนังสือหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร

กรมวิชาการ ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ว่า คือข้อกำหนดว่าด้วยจุดหมาย แนวทาง วิธีการ และเนื้อหาสาระในการวัดผลการเรียนการสอนในโรงเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ เจตคติและพฤติกรรมตามที่กำหนดในจุดมุ่งหมายของการศึกษา

จากความหมายของหลักสูตรตามทัศนะของนักการศึกษาได้ให้ไว้ดังตัวอย่างที่กล่าวมา สามารถ

สรุป

แนวความคิดที่เกี่ยวกับความหมายของหลักสูตรจากลักษณะที่เป็นรูปธรรมที่สุดสู่ ลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ดังนี้

1. หลักสูตรในฐานะที่เป็นเอกสารหลักสูตร

2. หลักสูตรในฐานะที่เป็นรายวิชาและเนื้อหาวิชา

3. หลักสูตรในฐานะที่เป็นแผนสำหรับจัดโอกาสการเรียนรู้หรือประสบการณ์การเรียนรู้ที่คาดหวังให้แก่ผู้เรียน

4. หลักสูตรในฐานะที่เป็นกิจกรรมการเรียนรู้

5. หลักสูตรในฐานะที่เป็นจุดหมายปลายทางการเรียนรู้

6. หลักสูตรในฐานะที่เป็นมวลประสบการณ์

คำสำคัญ (Tags): #รูปแบบหลักสูตร
หมายเลขบันทึก: 549880เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2013 23:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2013 23:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท