เทคนิคและวิทยาการจัดการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้


การส่งเสริมบรรยากาศที่ดีสำหรับการเรียนรู้

1) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ และเด็กกับเด็ก และการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
2) พัฒนาความมั่นใจและความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนรู้ของเด็กด้วยการจัดกิจกรรมที่มีความหมายต่อเด็ก ให้เด็กทำงานที่สามารถประสบความสำเร็จ และเพิ่มความท้าทายในความสามารถและพัฒนาการขั้นถัดไป

การส่งเสริมกลุ่มและการตอบสนองความต้องการรายบุคคล
1) ให้ความสำคัญต่อการรู้จักเด็กเป็นรายบุคคลและคิดกิจกรรมจากพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเด็กเป็นรายบุคคลที่แตกต่างกันด้วยความสามารถและความสนใจ
2) สร้างความรู้สึกของการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มและการมีส่วนร่วมกับประสบการณ์ที่มีความหมายต่อเด็กเป็นรายบุคคล
3) นำวัฒนธรรมและภาษาที่บ้านของเด็กแต่ละคนเข้าไปสู่วัฒนธรรมที่ร่วมกันของโรงเรียน
4) จัดโอกาสในการทำงานและเล่นร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่จัดโดยครูหรือเด็กสร้างเอง และใช้เวลาของกิจกรรมกลุ่มใหญ่ในการสร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
5) เด็กพิเศษมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทางสังคมและทางสติปัญญาในชั้นเรียน พร้อมกับการอำนวยความสะดวกทางกายภาพที่เหมาะสม และมีการสร้างความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มและการได้รับการยอมรับ

สิ่งแวดล้อมและตารางเวลา
1) วางแผนการจัดประสบการณ์ และจัดสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการริเริ่มในการเรียนรู้และสำรวจสิ่งต่างๆ ด้วยความสะดวกและเหมาะสมทั้งต่อเด็กและต่อผู้ใหญ่ในการทำกิจกรรมต่างๆ และเหมาะกับบริบททางสังคมวัฒนธรรม และสถานการณ์
2) ดูแลความปลอดภัยของเด็ก และแนะนำเด็กในการทำสิ่งต่างๆ โดยการให้เด็กรับประสบการณ์ที่มีความเสี่ยงเหมาะสมภายขอบเขตที่เด็กสามารถทำได้
3) จัดตารางประจำวันให้มีช่วงเวลาของการทำกิจกรรมและช่วงเวลาของการพักผ่อนที่สมดุล โดยมีความต่อเนื่องของช่วงเวลาต่างๆ ในการเปลี่ยนกิจกรรมที่เป็นไปอย่างราบรื่นและมีการยืดหยุ่นเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ

หลักการออกแบบกระบวนการและสื่อการเรียนรู้แบบ Brain-Based Learning

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2549) ได้เสนอแนะหลักการออกแบบกระบวนการและสื่อการเรียนรู้แบบ Brain-Based Learning เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติไว้ ดังนี้

1. สิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นความสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้สี รูปทรง สถาปัตยกรรม สิ่งที่ผู้เรียนออกแบบกันเอง (ไม่ใช่ครูออกแบบให้) เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกมีส่วนร่วมและมีความเป็นเจ้าของ
2. สถานที่สำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มร่วมกัน ที่ว่างๆ สำหรับรวมกลุ่มเล็ก ซุ้มไม้ โต๊ะที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เป็นกลุ่ม หรือปรับที่ว่างสำหรับกลุ่มให้เป็นห้องนั่งเล่นที่กระตุ้นการมีปฏิสัมพันธ์
3. เชื่อมโยงสถานที่เรียนในห้องกับนอกห้อง บริเวณภายในห้อง-การเคลื่อนไหว กระตุ้นให้สมองส่วนควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อกับสมองส่วนหน้า ให้สมองได้รับอากาศบริสุทธิ์
4. บริเวณเฉลียงทางเชื่อมระหว่างตึกและสถานที่สาธารณะ ทำให้การเรียนรู้ไม่จำกัดอยู่เฉพาะในขอบเขตของห้องเรียน โรงเรียน ทำให้เปิดสมองและการเรียนรู้ให้กว้างขวางเรียนที่ไหนก็ได้
5. ความปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะในชุมชนเมือง
6. จัดหาสถานที่หลากหลายที่มีรูปทรง สี แสง ร่อง รู ซอก
7. เปลี่ยนแปลงการจัดแสดงบ่อยๆ เพื่อให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ซึ่งการมีปฏิสัมพันธ์
กับสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายเปลี่ยนแปลงจะกระตุ้นการทำงานของสมองโดยจัดให้มีสถานที่ที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นเวที ที่จัดนิทรรศการ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบต่างๆ ได้ง่าย
8. จัดให้มีวัสดุต่างๆ ที่กระตุ้นการเรียนรู้ พัฒนาการต่างๆของร่างกายมากมายหลากหลาย พร้อมสำหรับนำมาจัดทำสื่อประกอบการเรียนรู้เมื่อเกิดมีความคิดใหม่ๆ โดยให้มีลักษณะบูรณาการ
ไม่แยกส่วนจุดมุ่งหมายหลักคือให้เป็นแหล่งที่ทำหน้าที่หลากหลาย ระดมความคิดสร้างสรรค์ กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ซึ่งกันและกันอย่างอุดม
9. ยืดหยุ่น ยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและกระตุ้นการเรียนรู้ เพื่อให้เหมาะสมกับสมองที่แตกต่างกันของแต่ละคน และภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป
10. สถานที่สงบและสถานที่สำหรับทำกิจกรรม ทุกคนต้องการสถานที่สำหรับสงบ อยู่กับตนเอง เพื่อพัฒนาจิตของตนเอง ขณะเดียวกันก็ต้องการสถานที่ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นซึ่งจะกระตุ้นพัฒนาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
11. สถานที่ส่วนตัว อยู่บนฐานของแนวคิดที่ว่า สมองแต่ละคนมีความต้องการเฉพาะจึงต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของตน จัดสถานที่ส่วนตัวของตน และสามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ของตนได้อย่างอิสระ
12. ชุมชน คือ สถานที่สำหรับเรียนรู้ ต้องหาวิธีที่จะใช้ชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ให้มากที่สุด ทำให้โรงเรียนเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่รุ่มรวยสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช้เทคโนโลยีการเรียนทางไกล ชุมชน ภาคธุรกิจ บ้าน ต้องนำเข้ามามีส่วนและเป็นทางเลือกในการเรียนรู้

การที่สมองมีความสามารถเรียนรู้อย่างไม่สิ้นสุดนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาที่เข้าใจการทำงานของสมองจะสามารถกำหนดวิสัยทัศน์ในการบริหาร จัดให้ครูที่มีความรู้ ความเข้าใจพัฒนาการเด็ก เป็นผู้จัดการเรียนรู้ให้แก่เด็ก และสนับสนุนให้มีการจัดหลักสูตรที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาสมอง ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ให้เด็กได้เรียนแบบองค์รวมในขณะเดียวกันก็ได้เรียนส่วนย่อยไปด้วย จัดโอกาสให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นผู้คน สัตว์ หรือสิ่งของเพื่อให้สมองได้รับข้อมูลใหม่ๆ และเกิดการเชื่อมต่อเส้นประสาทในสมอง ทั้งนี้การเรียนรู้จะต้องมีความท้าทาย มีรูปแบบที่หลากหลายเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการตามธรรมชาติของเด็กโดยที่ประสบการณ์ต่างๆที่จัดให้กับเด็กนั้นจะต้องมีความหมายต่อเด็กเป็นรายบุคคล ที่สำคัญ คือ ต้องคำนึงถึง Windows of Opportunity เพื่อให้สามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอย่างเต็มตามศักยภาพ

ครูที่เข้าใจการทำงานของสมองจะสามารถช่วยให้เด็กพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ ทั้งในด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ จัดกิจกรรมที่มีความหลากหลายทั้งในด้านของสื่อ กิจกรรม ความยากง่าย ฯลฯ เพื่อท้าทายให้เด็กเกิดความสนใจที่จะทดลอง ให้เด็กได้เลือก ได้ลองผิดลองถูก และอยู่ในบรรยากาศที่อบอุ่น ปลอดภัย ไม่สร้างบรรยากาศที่เครียด และทำให้เด็กกลัวเพราะจะไปบั่นทอนศักยภาพการทำงานของสมองของเด็ก

ห้องเรียนครูแมว.(2556).เข้าถึงได้จาก :

http://www.nareumon.com/index.php?option=com_contenttask=viewid=24Itemid=46limit=1limitstart=3

คำสำคัญ (Tags): #เทคนิค
หมายเลขบันทึก: 549879เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2013 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2013 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท