ธรรมรัต
พระมหา ธรรมรัต อริยธมฺโม ยศขุน

ใบงานเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรมของพระชรินทร์ ปภาโส


พระพุทธโฆษาจารย์เป็นปราชญ์ชั้นยอดแห่งยุค

ใบงานพระอภิธรรมปิฎก ครั้งที่ ๑.docx

ใบงานพระอภิธรรมปิฎก ครั้งที่ ๒.doc

ใบงานพระอภิธรรมปิฎก ครั้งที่ ๓.doc

ใบงานพระอภิธรรมปิฎก ครั้งที่ ๓.doc

ใบงานพระอภิธรรมปิฎก ครั้งที่ ๔.doc

หากไม่นับพระไตรปิฎก หรือ บาลี”  ซึ่งเป็นหลักฐานชั้นหนึ่งแล้ว  คัมภีร์อันดับสองที่รู้จักกันคือทั่วไปในนามอรรถกถานับว่าน่าสนใจอยู่ไม่น้อยเพราะเป็นคัมภีร์ที่อธิบายขยายความพระพุทธพจน์หรือบาลีให้เข้าใจหมายความว่า ตอนใดที่เป็นพุทธพจน์ซึ่งตรัสไว้ย่อๆ ก็จะมีคำอธิบายขยายความพุทธพจน์นั้น เพื่อให้มีเนื้อหาสมบูรณ์และเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ข้อความที่อธิบายขยายความพุทธพจน์นี้แหละท่านเรียกว่า อรรถกถา  

อาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์อรรถกถา  เรียกว่า  มีกำเนิดมาอย่างไรนั้น  ตามหลักฐานที่ปรากฏระบุว่าในราวพุทธศตวรรษที่ ๕ ในคัมภีร์มหาวงศ์และสัทธัมมสังคหะ ระบุข้อความเชิงประวัติว่า  อรรถกถาเดิมนั้นพระมหินทเถระ  ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช  ได้นำมายังศรีลังกา  แล้วแปลมาจากภาษาเดิม  (ภาษามคธหรือบาลี) สู่ภาษาสิงหฬ  เชื่อกันว่า อรรถกถาเหล่านี้เป็นผลงานจากการทำสังคายนาครั้งที่ ๓

 

ครั้นล่วงมาถึงสมัยของพระพุทธโฆสาจารย์ อรรถกถาที่มีอยู่ในประเทศอินเดียได้สูญหายไปส่วนที่เหลืออยู่ก็ไม่สมบูรณ์เมื่อเป็นเช่นนั้นพระเรวตเถระ จึงได้แนะนำให้ท่านพระพุทธโฆสาจารย์ได้เดินทางไปศรีลังกาเพื่อศึกษาอรรถกถา  และแปลกลับมาสู่ภาษาเดิม (คือมคธ) พระพุทธโฆสาจารย์จึงได้เดินทางไปศรีลังกาตามคำแนะนั้น แล้วได้ศึกษาและแปลอรรถกถาจากภาษาสิงหฬสู่ภาษามคธ (บาลี) ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ อรรถกถาที่เราได้ศึกษากันอยู่ใน

ปัจจุบันนี้  ส่วนใหญ่เป็นผลงานการแปลของท่านพระพุทธโฆสาจารย์ และพระเถระอื่นๆ   คัมภีร์อรรถกถา  จึงนับเป็นคัมภีร์สำคัญรองจากพระไตรปิฎกจะเห็นได้จากการที่คณะสงฆ์ไทย ใช้เป็นหลักสูตรของการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีตั้งแต่ชั้นประโยค ๑-๒  จนถึงประโยค ป.

ได้มอบหมายให้นักศึกษาไปค้นคว้าเกี่ยวกับคัมภีร์พระอภิธรรม และให้นำมาส่งเผยแผ่ทางอีเมล์ด้วย เพื่อเป็นการฝึกทักษะของนักศึกษาในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ เท่าที่จะทำได้

หมายเลขบันทึก: 549277เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2013 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท