สรุปรวมแนวข้อสอบ การอบรมวิชาว่าความ ภาคทฤษฎี รุ่นที่30-40 เรื่อง กระบวนการพิจารณาในศาลแขวง


30/9. ข้อใดถือเป็นหัวใจของศาลแขวง คือ คดีอาญามีผู้พิพากษาพิจารณาและพิพากษา 1 คน ลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60, 000 บาท 

30/8.   คำร้องขอไต่สวนฉุกเฉิน ไม่อาจขอยื่นขอในศาลแขวงได้ 

31/16. คดีที่เกิดขึ้นในเขตศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง แต่โจทก์นำมายื่นฟ้องต่อศาลจังหวัด ศาลจังหวัดจะมีคำสั่งฟ้องของโจทก์ให้  โอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอำนาจ 

32/4.  คดีศาลแขวง ทนายจำเลยทำคำร้องให้ผู้พิพากษารับร้องฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ต้องทำหนังสือถึงอัยการสูงสุดให้ลงลายมือชื่อรับรองว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดวินิจฉัย 

32/20. ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดี ลงโทษจำคุกจำเลยแปดกรรม กรรมละหกเดือน รวมโทษจำคุก 48 เดือน   ได้ 

34/1. คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวง คือ ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน 

33/18. คดีแพ่งที่ฟ้องต่อศาลแขวงไม่ได้ คดีขับไล่ คดีที่ฟ้องได้ คือ คดีละเมิด คดีผิดสัญญาจ้างทำของ คดีผิดสัญญาเช่าซื้อ 

35/5 การกำหนดวันนัดของศาลแขวงในคดีแพ่ง ไม่มีวันนัดชี้สองสถาน 

37/11. ข้อต่อไปนี้สามารถทำได้ในศาลแขวง คือ (ก)  การขอผลัดฟ้องผู้ต้องหาที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวไปก่อนแล้ว (ข)  ทำคำพิพากษาด้วยวาจา  แต่ไม่สามารถชี้สองสถานได้

37/19. คดีเกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอำนาจศาลแขวง แต่โจทก์นำไปยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดศาลจังหวัดจะต้องดำเนินการ คือ  สั่งให้โอนคดีไปศาลแขวงที่มีอำนาจ

38/4. ในวันนัดพิจารณาคดีแพ่งของศาลแขวงจะต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณา คือ.  (ก) การไกล่เกลี่ย  (ข) การสอบคำให้การจำเลย (ค). การสืบพยาน

 

36/7. สิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ในวันนัดพิจารณาคดีแพ่งในศาลแขวง  คือ ชี้สองสถาน

หมายเลขบันทึก: 549206เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2013 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2013 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท