สรุปรวมแนวข้อสอบ การอบรมวิชาว่าความ ภาคทฤษฎี รุ่นที่30-40 ปรนัย พรบ.ทนายความและมรรยาททนายความ ชุด 2


35/1. นายอาทิตย์ ทนายความถูกคณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งห้ามทำการเป็นทนายความมีกำหนด 2 ปี นายอาทิตย์ ได้รับทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2553 และได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2553 ในระหว่างรอคำวินิจฉัยของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ นายอาทิตย์ ตกลงทำหน้าที่ทนายความให้แก่นายศุกร์ และทำคำร้องขอจัดการมรดกยื่นต่อศาลแพ่ง การกระทำของนายอาทิตย์ มีความผิดทางอาญาต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40, 000   บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 35/17 นายจันทร์เป็นทนายความจำเลยในคดีอาญา แต่เนื่องจากยังไม่ได้รับค่าจ้างว่าความ จึงมีการบอกเลิกการเป็นทนายความ และได้ทำทำคำร้องขอทอนทนายความยื่นต่อศาล ศาลมีคำสั่งว่ารอไว้สั่งวันนัด เมื่อถึงวันนัดนายจันทร์ ทนายจำเลยไม่ได้มาศาลตามนัด เพราเห็นว่าได้ขอถอนทนายต่อศาลและเข้าใจว่าศาลอนุญาตให้ถอนแล้ว ศาลได้แจ้งพฤติกรรมของนายจันทร์ทนายจำเลยว่าทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลตามนัด ทำให้ศาลต้องเลื่อนคดีออกไปและกำชับให้จำเลยแต่งตั้งทนายความใหม่เข้ามาในนัดหน้า คดีจำเลยไม่ได้รับความเสียหายใดๆ การกระทำของนายจันทร์ทนายจำเลยประพฤติผิดมารยาททนายความ   คือ  (ก). ผิดมรรยาททนายความเพราะตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำสั่งอนุญาตให้ถอนทนาย จะต้องไปศาลตามนัด  (ข)  ผิดมรรยาททนายความเพราะเป็นการจงใจทอดทิ้งคดี อันทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของลูกความ

35/18.การสอบสวนคดีมารยาททนาย คณะกรรมการสอบสวนจะต้องทำการสอบสวนให้เสร็จโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา

 35/19 การยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่สภาทนายความมีคำสั่งให้ลงโทษทนายความที่ประพฤติผิดมรรยาททนายความ ทนายความผู้ถูกกล่าวหายื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อ สภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ

35/20 ข้อที่ถูกต้องคือ กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลยไม่มาศาลอีก ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา 

 36/1. เมื่อคณะกรรมการมรรยาททนายความได้รับสำนวนคดีมรรยาททนายความจากประธานกรรมการสอบสวน ส่งสำนวนที่สอบสวนเสร็จแล้ว คณะกรรมการมรรยาททนายความจะต้องวินิจฉัยสำนวนคดีมรรยาททนายความนั้นให้เสร็จสิ้นภายในกี่วันนับแต่วันที่รับสำนวน

คำตอบ  ไม่มีกำหนดระยะเวลา

 36/2.คดีมรรยาททนายความเรื่องหนึ่ง ประธานกรรมการสอบสวนมีหนังสือแจ้งให้ผู้จัดการธนาคารให้จัดส่งสำเนาเอกสารบัญชีกระแสรายวันของทนายความผู้ถูกกล่าวหาที่มีอยู่ในธนาคารนั้นมายังประธานกรรมการสอบสวนเพื่อประกอบการพิจารณาคดีมรรยาททนายความภายในกำหนด 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือเรียกเอกสารบัญชีกระแสรายวัน ผู้จัดการธนาคารได้รบหนังสือเรียกเอกสารดังกล่าวแล้วครบกำหนดแล้วเพิกเฉย โดยปราศจากเหตุอันสมควร ผู้จัดการนั้นมีความผิดหรือไม่

คำตอบ  มีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 36/3. คดีมรรยาททนายความเรื่องหนึ่ง ศาลมีหนังสือแจ้งมายังสภาทนายความว่า ทนายความไม่ไปศาลตามวันที่นัดพิจารณาคดีของศาล โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ทำให้คู่ความได้รับความเสียหาย และทำให้คดีต้องเลื่อนไปเสมียนทนายความลงวันนัดในสมุดนัดความของทนายความผิดไป ข้อแก้ตัวของทนายความรับฟังได้หรือไม่

คำตอบ  รับฟังไม่ได้ เพราะทนายความต้องใช้ความระมัดระวังอย่างผู้มีวิชาชีพ จึงถือได้ว่าทนายความประพฤติผิดมรรยาททนายความ ฐานจงใจขาดนัด หรือทอดทิ้งคดี

 36/4. ทนายความที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสอบสวน จะต้องมีคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 คือ

คำตอบ  เป็นทนายความมาแล้วรวมกันมาไม่น้อยกว่า 10  ปี ไม่เคยถูกลงโทษประพฤติผิดตามมรรยาททนายความ หรือถูกลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ  ตามพระราชบัญญัติทนายความ ไม่เคยถูกจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนทนายความ

 37/1. การแต่งตั้งคณะกรรมการมรรยาททนายความจะสมบูรณ์เมื่อ คณะกรรมการสภาทนายความแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ

 37/2. คดีศาลขอแรงในคดีอาญา ทนายความได้รับหนังสือขอแรงจากศาล ครั้นถึงวันนัดพิจารณาไม่ได้ไปศาล ถ้าท่านเป็นคณะกรรมการสอบสวนคดีมรรยาททนายความ เห็นว่า ทนายความผู้นั้นประพฤติผิดมรรยาททนายความ คือ ผิดมรรยาทของทนายความที่ไม่รับหน้าที่เมื่อผู้พิพากษาได้ขอแรงให้เป็นทนายความแก้ต่างในคดีอาญา และ ผิดมรรยาททนายความที่จงใจขาดนัดหรือทอดทิ้งคดี

 37/3. ผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษตาม มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 อาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความภายในกำหนด 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่ง

 38/1. เมื่อสภานายกพิเศษได้รับสำนวนคดีมรรยาททนายความ ที่ทนายความอุทธรณ์คำสั่งซึ่งถูกคณะกรรมการสภาทนายความสั่งลงโทษแล้ว สภานายกพิเศษจะต้องมีคำสั่งคดีมรรยาททนายความนั้นภายใน  60 วัน

 38/2. เมื่อคณะกรรมการมรรยาททนายความได้รับสำนวนคดีมรรยาททนายความจากคณะกรรมการสอบสวนซึ่งสอบสวนเสร็จแล้ว คณะกรรมการมรรยาททนายความจะต้องมีคำสั่งคดีมรรยาททนายความนั้นภายในกำหนดกี่วันก็ได้ เพราะไม่มีกำหนดระยะเวลา

 38/3. นายอังคารทนายความ ได้ตกลงเป็นทนายความให้แก่นางพุธ เพื่อฟ้องคดีเรียกเงินจากลูกหนี้ นายอังคารได้รับเงินค่าทนายความมาแล้วบางส่วน แต่ไม่ฟ้องคดีให้ตามข้อตกลง และไม่คืนเงินที่ได้รับมาแก่นางพุธ นางพุธร้องเรียนเป็นคดีมรรยาททนายความ การกระทำของอังคารเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ เพราะถือว่าเป็นการฉ้อโกงยักยอก ตระบัดสินลูกความ หรือครอบครองหน่วงเหนี่ยวเงินหรือทรัพย์สินของลูกความที่ตนได้รับมาโดยหน้าที่ไว้นานเกินสมควรแก่เหตุ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกความและไม่มีเหตุอันควร

 39/1. คำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความเกี่ยวกับคดีมรรยาททนายความใด ที่ให้เป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติทนายความ 2528 โดยที่คู่กรณีไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อสภานายกพิเศษ

คำตอบคำสั่งที่ยืนตามคณะกรรมการมรรยาททนายความให้จำหน่ายคดี หรือคำสั่งให้ยกคำกล่าวหา

39/2.เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 นายเอกทนายความได้เปิดเผยความลับของนายโทลูกความที่ได้รู้ในหน้าที่ของทนายความ โดยไม่รับอนุญาตจากนายโทลูกความ นายโทรู้เรื่องการประพฤติผิดมรรยาททนายความ ของนายเอก เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2555 นายโทจะต้องยื่นคำกล่าวหาต่อประธานกรรมการมรรยาททนายความภายใน วันที่ 1 กรกฎาคม 2555   (6 เดือน) สิทธิการกล่าวหาทนายความจึงจะไม่สิ้นสุดลง

39/18ทนายความผู้ที่มีสิทธิตั้งนายกและกรรมการสภาทนายความ ต้องจดทะเบียนและรับใบอนุญาตก่อนการเลือกตั้งไม่น้อยกว่า สามสิบวัน

40/1.นาย ศ ทนายความถูกคณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ นาย ศ ได้รับทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2555 และได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2555 สภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความมีคำสั่งให้สอบสวนพยานเพิ่มเติม นาย ศ ยังทำหน้าที่ในศาลไม่ได้ เพราะเป็นทนายความของนาย ศ สิ้นสุดลงแล้วและไม่มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งที่ให้ลบชื่อ

40/2.คำว่า บุคคลผู้ได้รับความเสียหายในคดีมรรยาททนายความหมายความว่าไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยเท่านั้น

40/3.นายจันทร์ ทนายความ ตกลงรับจ้างนายอังคาร ฟ้องคดีเรียกร้องเงินตามเช็คจากลูกหนี้ โดยไม่มีการทำสัญญาไว้เป็นหนังสือ แต่ไม่ฟ้องคดีให้และ ไม่คืนเงินค่าทนายความแก่นายอังคาร นายจันทร์ประพฤติผิดมารยาททนายความ เพราะเป็นการจงใจทอดทิ้งคดี และครอบครองหรือหน่วงเหนี่ยวเงินของลูกความไว้โดยไม่ได้รับความยินยอมและไม่มีเหตุอันสมควร        

40/4.วัตถุประสงค์ของสภาทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 คือ

1. ส่งเสริมการศึกษาและการประกอบวิชาชีพทนายความ

2. ควบคุมมารยาททนายความ

 

3. ส่งเสริม ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชน

หมายเลขบันทึก: 549203เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2013 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2013 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท