ครูวาส
นางสาว ภัทรนันท์ เพิ่มพูล ครูวาส เพิ่มพูล

นวัตกรรมการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ของโรงเรียนบ้านเขานางสางหัว


 

การนำเสนอ  “นวัตกรรมการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและทักษะในศตวรรษที่  ๒๑”

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

สาเหตุ ความจำเป็น ปัญหาหรือความต้องการแนวคิด  หลักการสำคัญในการออกแบบ 

          ประชาคมอาเซียนกับนวัตกรรมเหตุใดจึงมีบทความเรื่องประชาคมอาเซียนกับนวัตกรรม ประชาคมอาเซียนหรือ ASEAN Community เกี่ยวโยงกับนวัตกรรมหรือที่ศัพท์ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Innovation” อย่างไร   หลายท่านคงทราบแล้วว่า ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศสมาชิกอาเซียนที่กำลังเตรียมความพร้อมในทุกด้านและในทุกระดับเพื่อก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ประชาคม อาเซียนประกอบด้วย ประชาคมการเมืองและความมั่นคง (ASEAN Political and Economic Community : APSC)  ประชาคมเศรษฐกิจ (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) โดยทั้งสามประชาคมต้องมีความก้าวหน้า และดำเนินควบคู่กันไป และสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียนที่สมบูรณ์ เปรียบเสมือนเก้าอี้สามขาจะขาดซึ่งขาใดขาหนึ่งไปไม่ได้   โดยที่อาเซียนมีเป้าหมายของการเป็น  ประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (people-oriented community) ประชาชนจึงเป็นหัวใจสำคัญของอาเซียน I Innovation จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับทั้งสามเสา  นวัตกรรมเป็นภูมิปัญญาทางความคิด  เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและความน่าสนใจ ให้กับตนเอง  สินค้า ผลิตภัณฑ์ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง  10  ประเทศ รวมถึงระหว่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ซึ่งปัจจุบันมีถึง ๑๐ ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย และรัสเซีย  (อาเซียนยังมีปากีสถาน เป็นประเทศคู่เจรจาเฉพาะด้าน หรือ ที่เรียกว่า sectoral dialogue partner อีกด้วย) นวัตกรรมสามารถเกิดขึ้นได้โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญ คือ การศึกษา การวิจัยและการพัฒนา ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องมีนโยบายให้การสนับสนุนทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และงบประมาณ เพื่อให้เกิดทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน  ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถเผชิญกับสิ่งใหม่ ๆ ทั้งในระดับภูมิภาคระดับประเทศ และในเวทีระหว่างประเทศได้ในขณะเดียวกัน  ประเทศไทยก็จำเป็นต้องแสวงหาแนวทางความร่วมมือด้านการศึกษา การวิจัยและการพัฒนาดังกล่าวข้างต้นกับประเทศและหุ้นส่วน ภายนอกด้วย

 

ความสำคัญของการมีนวัตกรรมการบริหารจัดการโรงเรียนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้  การศึกษา แหล่งประวัติศาสตร์ชุมชน  และการเข้าค่ายปฐมวัย   ค่ายลูกเสือ-เนตรนารี   ค่ายทักษะชีวิตสู่ประชาคมอาเซียน    และ ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑  ภายใต้การบริหารจัดการโรงเรียนด้วยยุทธศาสตร์  SKN  MODEL

 

ซึ่งโรงเรียนบ้านเขานางสางหัวต้องการให้ผู้เรียนรู้ทั้งบุคคลทั่วไป  และจากหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ภายในโรงเรียนและผู้มาศึกษาดูงานในด้านการเกษตรอินทรีย์ชีวภาพบ่อยๆ มีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เช่น ประเทศพม่า  และโรงเรียนยังเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ 2 ยุค คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และยุคประวัติศาสตร์  จึงเห็นว่าสมควรที่จะจัดการบริหารโรงเรียนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยนำหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน  และนำเสนอความรู้การกิจกรรมในโรงเรียนเพื่อให้รองรับกลุ่มประชาคมอาเซียนมา  2 ปีแล้ว     นวัตกรรมที่เป็นจุดแข็งที่ควรได้รับการส่งเสริมหรือสนับสนุน  อาทิ การที่ โรงเรียนบ้านเขานางสางหัวมีองค์กรต่างๆ และเครือข่ายมาร่วมพัฒนาโรงเรียน คณะครู นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมาประชุม อมรม  และศึกษาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน  เป็นต้น               

 

               การบริหารจัดการดังกล่าว จะทำการศึกษา และทำการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ต้องทำอย่างจริงจัง ให้เกิด ประโยชน์และสามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้หรืออ้างอิงได้จริง เพื่อให้การดำเนินงานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศไทยที่จะเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนได้สมบูรณ์อย่างแท้จริง   โดยบริหารจัดการโรงเรียนภายใต้ยุทธศาสตร์   SKN  MODEL

 

S   คือ น้อมนำตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบริหารจัดการโรงเรียน  (Sufficiency   Economy: S)   ภายใต้  ๓ ห่วง ๒ เงือนไข    ๓ ห่วงคือ  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ       ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ      การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล  ๒ เงื่อนไข มีความรู้คู่คุณธรรม  นำไปสู่  สังคม  เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม   ซึ่งสอดคล้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  โดยมีการบริหารแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน มีการประกันคุณภาพผู้เรียน โรงเรียน  และ ผู้บริหารและครูเป็นครูมืออาชีพ 

 

K  คือ กระบวนการจัดการความรู้(Knowledge  management)  การจัดการเรียนรู้  แบบแก้ปัญหา

 

และทักษะผู้เรียนสู่ในศตวรรษที่ 21     (PBL & Century Skills)   ภายใต้บริบทความต้องการของชุมชน   การจัดการเรียนรู้  โดย  Project –based learning  (PBL) และประสานและศึกษาเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน
          N  คือ  เครือข่าย
 (Network)     ขยายภาคีเครือข่าย ต่าง ๆ มามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียน ได้แก่ เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก   เครือข่ายผู้ปกครอง    เครือข่ายครูสอนดี  เครือข่ายอื่นๆ

 

๒.     จุดประสงค์และเป้าหมายของนวัตกรรม

 

๒.๑  จุดประสงค์ของนวัตกรรม

 

          - เพื่อให้การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับโรงเรียน  ทั้งผู้เรียนรู้  และผู้มาศึกษาดูงาน

 

          -  เพื่อการเผยแพร่ผลงานการบริหารสถานศึกษาพอเพียง  อีกทั้งกิจกรรมของโรงเรียน และแหล่งประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้เป็นสากลมากขึ้น

 

                     -  เพื่อให้ผู้เรียนรู้ทั้งในท้องถิ่น และองค์กรหน่วยงานต่างๆ ได้ศึกษาเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น

 

 

 

๒.๓  เป้าหมายของนวัตกรรม

 

          -  โรงเรียนบ้านเขานางสางหัวเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ด้านการเกษตรอินทรีย์  ทักษะชีวิตสู่ศตวรรษที่ ๒๑ และแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น   ผู้เรียนรู้ในชุมชน และในสังคมมากขึ้นอย่างน้อยร้อยละ  ๘๐

 

          -   นักเรียน ผู้เรียนรู้ในชุมชน และในสังคมได้ศึกษาและเข้าใจการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและ

 

ทักษะในศตวรรษที่  ๒๑   มากขึ้นอย่างน้อยร้อยละ  ๘๐

 

       ๓.  กระบวนการพัฒนานวัตกรรม

 

          วิธีการในการพัฒนาโดยมีขั้นตอนต่อเนื่องสัมพันธ์กัน สอดคล้องกับจุดประสงค์และเป้าหมาย การ   นำไปใช้และการรายงาน

 

          ๓.๑  มีการวางแผนการพัฒนา โดยเสนอโครงการในแผนปฏิบัติงานของโรงเรียน

 

          ๓.๒ ประชุมวางแผนโครงการร่วมกับองค์กรต่างๆ  ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากายจนบุรีเขต ๔   มูลนิธิเด็ก  เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก  ชุมชนบ้านเขานางสางหัว  ให้การสนับสนุนโครงการ

 

          ๓.๓  ประสานงานกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานการเกษตรอำเภอเลาขวัญ  สำนักงานการเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี  กรมศิลปากร  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

 

          ๓.๔  ดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ตามกำหนดการ  ได้แก่

 

         ๓.๔.๑  การจัดค่ายปฐมวัย ค่ายลูกเสือ- เนตรนารี     ค่ายทักษะชีวิตสู่ประชาคมอาเซียน      และ ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑

 

          ขั้นตอนการดำเนินการ

 

๑.                           การวางแผนการดำเนินการกับเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก เครือข่ายกลุ่มโรงเรียน

 

เลาขวัญ เครือข่ายผู้ปกครอง เครือข่ายชุมชน และมูลนิธิเด็ก

 

๒.                  กำหนดการจัดกิจกรรมร่วมกัน  จัดกิจกรรมเป็นฐานการเรียนรู้ระดับปฐมวัยเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะนักเรียนปฐมวัย  สู่ศตวรรษที่   ๒๑   ซึ่งเน้นทักษะชีวิต ความรู้สู่ประชาคมอาเซียน  การทำงานร่วมกัน   การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในกลุ่มเลาขวัญ  โรงเรียนขนาดเล็ก โดยคุณครูรวบรวมความคิดร่วมออกแบบกิจกรรมระหว่างโรงเรียนต่าง ๆ   เป็น  ๑๐   ฐานเรียนรู้    โดยจัดกิจกรรมภายใน ๑ วัน     ส่วนกิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือเนตรนารี เป็นการจัดฐานเรียนรู้วิชาลูกเสือ- เนตรนารี  โดยมีนักเรียนระดับชั้น ป.๔-ป.๖        เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน  ๓๐๐  คน       กิจกรรมในฐานเรียนรู้เป็นทักษะวิชาการลูกเสือ- เนตรนารี ทักษะชีวิตสู่ศตวรรษที่  ๒๑     และฐานเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน   ทำให้นักเรียนได้ทำงานร่วมกัน  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้ครูระหว่างโรงเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้และกิจกรรมต่างๆ สู่ประชาคมอาเซียน   หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (Association  of South East  Asian  Nation  :ASEAN)  มากขึ้น  ทำให้นักเรียนเข้าใจและมีความรู้มากขึ้นถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม ของแต่ละประเทศมากขึ้น สร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง  และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม  และการค้าระหว่างประเทศ

 

๓.                           มีการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมตามตัวชีวัดเกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนใน

 

โครงการของโรงเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต ซึ่งการประเมินอยู่ในระดับดีมากคิดเป็นร้อยละ  ๘๐   ของการดำเนินกิจกรรม

 

๔.                             สรุปผลการดำเนินการในการจัดกิจกรรมให้ต้นสังกัดคือ สำนักงานเขตพื้นที่

 

การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๔ และเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก เครือข่ายกลุ่มโรงเรียนเลาขวัญ เครือข่ายผู้ปกครอง  มูลนิธิเด็กผู้สนับสนุนโรงเรียน 

 

๕.                   เผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่าย  Sochail  Network  ทางเว็บไซท์โรงเรียนบ้านเขานางสางหัว  (www.khaonang.com )   ทาง Facebook  เครือข่ายพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ภาคกลาง  และ Phattaranan  Phurmpool    และสถานีโทรทัศน์    ASTV   ,  TPBS   และCCTV     และเวทีปฏิรูปการเรียนรู้ สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล

 

                   ๓.๔.๒   การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน โดยความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษาให้เด็กและสมาชิกชุมชน   ผ่านหลักสูตรท้องถิ่น  “เลาขวัญสวรรค์บ้านไพร หัวใจพอเพียง”   หรือหลักสูตรชุมชน   ได้แก่  วิชาปลูกพืชไร้สารพิษ   วิชาการผลิตแก๊สชีวภาพ  วิชาการผลิตปุ๋ยอินทรีย์  วิชาการผลิตน้ำส้มควันไม้จากเตาเผาถ่าน   วิชาการเลี้ยงสัตว์แบบอินทรีย์  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีองค์กรต่างๆ  ทั้งภาครัฐเอกชน  ได้แก่    เครือข่ายพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก โครงการแต้มขันปันน้องปีที่ ๑๑  ของ หนังสือพิมพ์ไทยโพสท์  ช่วยจัดระบบน้ำประปา ในการบริโภค และอุปโภค ในการพัฒนาฐานเรียนรู้ด้านการเกษตรพอเพียงของโรงเรียน  และมูลนิธิเด็กร่วมประชุมวางแผนพัฒนาแหล่งเรียนรู้ร่วมกับชุมชนบ้านเขานางสางหัว และร่วมบริจาคงประมานสร้างฐานเรียนรู้จัดฝึกอบรม สัมมนา ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อนำความรู้มาพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน   โดยได้จัดฐานเรียนรู้ให้รองรับเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีการจัดสวนด้วยภาษาอาเซียน  มีภาษาไทย  อังกฤษ และภาษาต่างๆ  บอกชื่อต้นไม้ ดอกไม้ พืชผักสวนครัว  โดยมีนักเรียน และชุมชน มีส่วนร่วมดำเนินการ   และจัดเป็นแหล่งฝึกฝนทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของเด็กและชุมชน    และออกเผยแพร่สู่สาธารณะชน ตามสื่อต่าง ๆ  และเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษา  เป็นต้น

 

                    ๓.๔.๓  การพัฒนาและสืบสานประวัติศาสตร์ ชุมชนบ้านเขานางสางหัว และอำเภอเลาขวัญ  โดยความร่วมมือ ระหว่างโรงเรียนบ้านเขานางสางหัว  ผู้นำและสมาชิกชุมชน  ร่วมกับนักวิชาการและนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร   จังหวัดกรุงเทพมหานคร    มาร่วมสืบค้นร่องรอยประวัติศาสตร์ชุมชน การดำเนินชีวิตในอดีตจนถึงปัจจุบัน    เนื่องจากแหล่งประวัติศาสตร์ในชุมชนบ้านเขานางสางหัว เป็นแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญ  คือ

 

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หรือ ยุคหิน  

 

 ทั้งนี้เพราะพบร่องรอยชุมชนเขานางฯ เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์อายุมากกว่า   2500  ปี มีหลักฐานสำคัญคือ  พบเครื่องมือขวานหิน และเครื่องมือหินกะเทาะ กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ชุมชนบ้านเขานางสางหัว     และชุมชนเขานางสางหัว  ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าโบราณเชื่อมชายฝั่งทะเลจีนใต้ไปออกมหาสมุทรอินเดีย  ทิศเหนือเป็นที่ตั้งของบ้านโป่งคอม บ้านพุน้ำร้อน อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ส่วนทิศใต้เป็นที่ตั้งของบ้านดอนตาเพชร จ.กาญจนบุรี ซึ่งทั้งสองแห่งได้พบหลักฐานที่ทำให้ระบุได้ว่าเป็นเส้นทางการค้าโบราณดังกล่าว

 

ในยุคนี้ผู้คนในชุมชนจะนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติเพราะพุทธศาสนายังไม่เข้ามาถึงดินแดนแถบนี้ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ผู้หญิงจะมีบทบาทเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณเห็นได้จากการตั้งชื่อลำน้ำขึ้นต้นว่า “แม่&r

 

หมายเลขบันทึก: 549008เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2013 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2013 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

รูปการจัดกิจกรรมต่างๆ

เผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่าย Sochail Networkทางเว็บไซท์โรงเรียนบ้านเขานางสางหัว(www.khaonang.com )ทาง Facebookเครือข่ายพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ภาคกลางและ PhattarananPhurmpoolและสถานีโทรทัศน์ASTV,TPBSและCCTV   และเวทีปฏิรูปการเรียนรู้ สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล

สวนเกษตรพอเพียงแหล่งเรียนรู้สู่อาเซียน

 

เรียนรู้ด้วยการปฎิบัติ  เห็นผลงานชัดจากทำจริง

ผอ ครับ โคงการนี้ทำกับโครงการครูเพื่อศิษย์ หรือเป็น โครงการใหม่ครับ

มาชื่นชมการทำงาน

เรียน อ.ขจิต ทีเคารพ

เป็นโครงการที่โรงเรียนบริหารจัดการ ด้วย SKN MODEL  และดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เข้าสู่ประชาคมอาเซียน  แล้วสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 4 คัดเลือกส่งเป็นตัวแทน เขต  โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมเข้าค่ายปฐมวัย และค่ายลูกเสือทำมา 2 ปีแล้วค่ะ มีกลุ่มโรงเรียนเลาขวัญ เข้าร่วมกิจกรรม  มูลนิธิเด็กช่วยสนับสนุนค่ะ         เข้ารับประเมิน ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ จอมเทียน พัทยา  ของ สพฐ. 

ได้รับรางวัลเหรียญทอง    ของภาคตะวันออก และตะวันตก ค่ะ

 

ค่ายลูกเสือ และค่ายกิจกรรมปฐมวัย

 

 

การนำเสนอ“นวัตกรรมการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและทักษะในศตวรรษที่๒๑”

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

 

 

 

ชอบทั้งค่ายลูกเสือและปฐมวัย

มีโอกาสจะไปช่วยครับ

ตอนทำลูกเสือโลกครับ

สุดยอดลุกเสือโลก

อ.ขจิต

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท