ครูวาส
นางสาว ภัทรนันท์ เพิ่มพูล ครูวาส เพิ่มพูล

มูลนิธิเด็ก และโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก กาญจนบุรี ให้ความอนุเคราะห์ มาบริจาคสิ่งของให้โรงเรียนบ้านเขานางสางหัว และโรงเรียนในเครือข่ายอำเภอเลาขวัญ


มูลนิธิเด็กสนับสนุนโรงเรียน

ขอขอบคุณ ผู้ใหญ่ใจดีที่ให้ความอนุเคราะห์กับ โรงเรียนต่างๆ  12 โรงเรียน  บริจาค

อาหารแห้ง  นม และเสื้อผ้ามือสองให้โรงเรียนต่างๆ  กราบขอบพระคุณอย่างสูง

ณ โรงเรียนบ้านเขานางสางหัว ในวันที่ 20  กันยายน  2556

คุณสุพจน์ ชูนวล  ตัวแทนมูลนิธิเด็กกล่าวพิธีมอบของให้โรงเรียนต่างๆ ในอำเภอเลาขวัญ

 

 

ผู้อำนวยการโรงเรียนเลาขวัญราษฎร์บำรุง กล่าวขอบคณมูลนิธิเด็ก

 

หมายเลขบันทึก: 548912เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2013 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2013 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียนคุณครูวาส สนใจชื่อโรงเรียนนี้มาก ครูช่วยเล่าประวัติศาสตร์ชุมชนให้ฟัง จะขอบคุณมาก

ขอบคุณผอ.มากครับที่แจ้งให้ทราบ

ชอบสถานที่โรงเรียนมากๆๆ

ฝากดูแลนักเรียนเป็นเหาด้วยครับ

คงต้องให้บ้านและโรงเรียนช่วยกัน

 

ขอบคุณ อ.ขจิตอย่างสูงที่เป็นห่วงนักเรียนที่เป็นเหา  ต้องรีบจัดการเลยค่ะพรุ่งนี้  เพราะก็เป็นปัญหาอยู่ค่ะ  เรารณรงค์ป้องกันกันอยู่แต่คงต้องทำกิจกรรมกำจัดเหาให้บ่อยและประสานงานกับผู้ปกครองให้เร็วขึ้นมากขึ้นค่ะ

 

เรื่องเล่าประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านเขานางสางหัว

     มีประวัติดังเดิมนั้นได้มีเรื่องเล่าขานว่าได้ยินเสียงคนร้องให้ และนั่งหวีผม (สางผม) ที่เขาลูกนี้ บ่อยๆ   จึงเรียก เขานางสางหัว

แต่เมื่อวันที่  23 มิถุนายน  2556  มีพืธีบวงสรวงสร้างพระนางสางหัว หรือ พระนางกาญจนารี  เพราะมีการสืบสานค้นพบประวัติศาสตร์ โดยมีหลักฐานอ้างอิงหลายอย่าง ว่าเป็นแหล่งประวัติศาสตร์  ดังรายละเอียดที่แนบท้ายข้อมูลต่อไปนี้

 

ประวัติชุมชนเขานางสางหัว

      ชุมชนเขานางสางหัว อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี ตั้งอยู่เชิงเขานางสางหัว ริมลำห้วยอันเป็นลำน้ำสาขาของคลองหมื่นเทพสันนิษฐานว่า มีผู้คนอยู่อาศัยในชุมชน 2 ยุคสมัยคือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และยุคประวัติศาสตร์

 

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

 

ชุมชนเขานางฯ เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์อายุมากกว่า2500 ปี มีหลักฐานสำคัญคือพบเครื่องมือขวานหิน และเครื่องมือหินกะเทาะ กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่

 

ชุมชนเขานางฯ ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าโบราณเชื่อมฝั่งทะเลจีนใต้ไปออกมหาสมุทรอินเดีย ทิศเหนือเป็นที่ตั้งของบ้านโป่งคอม บ้านพุน้ำร้อน อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ส่วนทิศใต้เป็นที่ตั้งของบ้านดอนตาเพชร จ.กาญจนบุรี ซึ่งทั้งสองแห่งได้พบหลักฐานที่ทำให้ระบุได้ว่าเป็นเส้นทางการค้าโบราณดังกล่าว

 

ในยุคนี้ผู้คนในชุมชนจะนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติเพราะพุทธศาสนายังไม่เข้ามาถึงดินแดนแถบนี้ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ผู้หญิงจะมีบทบาทเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณเห็นได้จากการตั้งชื่อลำน้ำขึ้นต้นว่า “แม่” (แม่น้ำ) ตั้งชื่อภูเขาขึ้นต้นว่า “นาง” เช่น เขานางบวช เขานมนาง เขานางสางหัว ฯลฯ

 

ยุคประวัติศาสตร์

 

            ในสมัยทวารวดี (หลัง พ.ศ.1000) เส้นทางการค้าทางทะเลจีน-อินเดียได้เปลี่ยนแปลงไปทำให้ผู้คนเคลื่อนย้ายไปตั้งถิ่นฐานใกล้ลำน้ำท่าจีน-จระเข้สามพันมากขึ้น ชุมชนเขานางฯ คงร้างไปในช่วงเวลานี้

 

            ในสมัยลพบุรีตอนปลาย(หลัง พ.ศ.1700 – 1800) มีผู้คนมาตั้งหลักแหล่งอีกครั้ง เพื่อฟื้นฟูเส้นทางทรัพยากรแร่ธาตุและของป่าที่มีอยู่สำหรับใช้ส่งออกไปยังหัวเมืองต่างๆด้วยพบหลักฐานว่ามีชุมทางการค้าใหญ่เกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงคือบ้านหนองเรือ ที่ขุดพบพระนาคปรกสำริด พระพุทธรูปปางประทานอภัยสำริด พระอุมาสำริด ฯลฯ

 

ในสมัยอยุธยา (หลัง พ.ศ. 1900 - 2300) ชุมชนมีความเจริญ มีผู้คนมาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ด้วยพบเศษภาชนะดินเผากระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่นอกจากนี้ ยังมีศาสนสถานสำคัญในบริเวณใกล้เคียงกันคือ วัดโบสถ์เก่าจิกด่านซึ่งเป็นวัดในสมัยอยุธยาตอนต้น

 

ชุมชนเขานางฯ น่าจะร้างไปในช่วงสงครามเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2

ชุมชนเขานางฯ ยังมีตำนานกล่าวถึงนางผู้หนึ่ง ต่อมาเรียกว่า พระนางกาญจนารี(พระนางสางหัว)เล่าว่า พระนางฯ เป็นลูกหลานพญาลิไทยในราชวงศ์พระร่วง ได้สมรสกับแม่ทัพนายกองในราชวงศ์สุวรรณภูมิ พระนางฯ มาประทับอยู่ที่เขานางสางหัวและนั่งแต่งตัวหวีผม (สางหัว) เพื่อรอคอยคนรักและสิ้นพระชนม์ ณ เขาลูกนี้

 

 ผู้รวบรวมข้อมูล ดร.ฉันทัส เพียรธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

โรงเรียนบ้านเขานางสางหัวและชุมชนบ้านเขานางสางหัว

 

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท