Blog series 2 เมื่อกระดูกหัก เกิดความเครียดได้อย่างไร


เมื่อกระดูกหัก เกิดความเครียดได้อย่างไร

การเกิดความเครียดนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ตัวอย่างเช่น เด็กในวัยมัธยมปลายเกิดความเครียด เพื่อเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย หรือในวัยทำงานอาจเกิดความเครียดจากการทำงาน เป็นต้น โดยจากกรณีศึกษานี้ได้รับการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ทำให้เกิดการหักของกระดูกบริเวณแขนด้านซ้าย ส่งผลให้ไม่สามารถใช้มือในการทำงานได้ตามปกติ ซึ่งความสามารถในการกลับไปทำงานก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดได้ โดยผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับการบาดเจ็บได้แก่ ข้อนิ้วมือยึดติดจากการไม่ได้เคลื่อนไหว ข้อไหล่ติด และกระดูกผิดรูป โดยความผิดปกติดังกล่าวส่งผลให้เกิดความเครียดต่อผู้รับบริการที่ไม่สามารถกลับไปทำงานได้เหมือนเดิม ซึ่งในรายละเอียดกรณีศึกษานี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่

จากการประเมินผู้รับบริการ จากการสังเกต สัมภาษณ์ และการทดสอบ รวมถึงการพูดคุยสื่อสารกับผู้รับบริการ สามารถสรุปข้อมูลได้ดังนี้

  • Clothing care ไม่สามารถซักผ้า รีดผ้า และซ่อมแซมเสื้อผ้าได้ด้วยตนเอง
  • Cleaning ไม่สามารถทำความสะอาดบ้านได้ เช่น ถูบ้าน เป็นต้น
  • Range of motion มีการจำกัดการเคลื่อนไหวบริเวณข้อมือและมือ ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้สุดช่วง
  • Strength ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจากการวัดแรงบีบน้อยกว่าค่ามาตรฐานในคนปกติ
  • Endurance ความทนทานในการทำกิจกรรมไม้หนีบน้อยกว่าในข้างขวา และแสดงอาการล้า
  • Fine coordination ความคล่องแคล่วในการทำงานของมือน้อยกว่าค่ามาตรฐานในคนปกติ

นอกจากนี้ผู้รับบริการยังมีภาวะความเครียด ซึ่งดิฉันได้รับทราบข้อมูลจากการพูดคุยขณะทำการรักษาฟื้นฟูผู้รับบริการท่านนี้ ทำให้ทราบว่าผู้รับบริการมีความกังวลในการกลับไปประกอบอาชีพ และมีความเครียด เนื่องจากปัญหาทางด้านครอบครัว ส่งผลให้ผู้รับบริการไม่มีแรงจูงใจในการทำกิจกรรม โดยวิธีการในการจัดการความเครียดของผู้รับบริการคือ การพูดคุยกับเพื่อนบ้าน

 

เมื่อเกิดความเครียดด้วยเรื่องต่างๆแล้ว ก็จำเป็นต้องเรียนรู้การจัดการความเครียด โดยมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เนื่องด้วยปัญหาที่แตกต่างกัน และปัจจัยในหลายด้าน  เช่น ด้านวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เป็นต้น จากการศึกษาในกรณีศึกษา ทำให้ได้ทราบถึงความสำคัญในการพูดคุย และสอบถามข้อมูลของผู้รับบริการ การที่ผู้บำบัดแสดงความจริงใจ หรือความเต็มใจในการรักษานั้น จะทำให้ผู้รับบริการเกิดความเชื่อมั่น และแสดงออกถึงความต้องการ สามารถเปิดเผยข้อมูลของตนเองได้ ซึ่งเป็นผลที่ดีในการให้การรักษา เพราะไม่เพียงแค่ผู้บำบัดจะรักษาทางด้านร่างกายแล้ว ยังจำเป็นในการรักษาทางด้านจิตใจของผู้รับบริการด้วยเช่นเดียวกัน 

 

Blog series 1 ป้องกันความเครียดหลังภาวะกระดูกหัก

Blog series 3 ภาวะความเครียดหลังกระดูกหัก กิจกรรมบำบัดช่วยได้อย่างไร

หมายเลขบันทึก: 548897เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2013 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2013 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท