Blog series 1 ป้องกันความเครียดหลังภาวะกระดูกหัก


ป้องกันความเครียดหลังภาวะกระดูกหัก

ผู้รับบริการท่านหนึ่งได้รับการรักษาทางการแพทย์ และเข้ามารับการฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัด โดยได้รับอุบัติเหตุจากการล้ม มือซ้ายยันพื้น ส่งผลทำให้ไม่สามารถกำมือ กระดกข้อมือ และงอข้อมือได้สุดช่วง หลังจากเหตุการณ์นั้นทำให้เขาไม่สามารถกลับไปทำงานได้เหมือนเดิม และเกิดความเครียดตามมา เนื่องจากขาดรายได้ใช้จ่ายในครอบครัว คำถามที่เกิดขึ้นคือ เราจะช่วยเหลือเขาอย่างไร

เริ่มต้น มาทำความรู้จักกับโรคและอาการกันเถอะ

Colles fractures คือการหักของกระดูกบริเวณแขน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Fracture of distal radius โดยประเภทของการหักของกระดูก สามารถแบ่งได้เป็น Open, Close และ Compound       โดยรูปแบบการหักเป็น 2 ประเภทคือ transverse และ oblique (Dandy and Edwards, 1998) โดยบทบาทของกิจกรรมบำบัดในการฟื้นฟู ได้แก่

    • การเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อ (Improve range of motion)
    • การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและข้อต่อ (Improve strength)
    • การเพิ่มความทนทานของการทำงานในกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง (Improve endurance(Susan Driessens และคณะ, 2010)

 

จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทำให้ผู้รับบริการเกิดการบาดเจ็บที่เรียกว่า Colles fracture หรือ Fracture distal end of radius หมายถึงการได้รับการบาดเจ็บ มีภาวะกระดูกหัก บริเวณแขน หรือข้อมือ โดยมีลักษณะของการแตกหักแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลซึ่งสามารถตรวจพบการผิดรูปของกระดูกได้จากภาพรังสี ลักษณะอาการคือ มีอาการปวด บวมในบริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บ 

 

 

Blog series 2 เมื่อกระดูกหัก เกิดความเครียดได้อย่างไร

Blog series 3 ภาวะความเครียดหลังกระดูกหัก กิจกรรมบำบัดช่วยได้อย่างไร

 

หมายเลขบันทึก: 548896เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2013 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2013 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท