เทคนิคการสร้างความคิด (Idea) ในองค์กร


 

การสร้างองค์กรนวัตกรรม  เป็นเป้าหมายของการสร้างคุณภาพขององค์กรในอนาคต  ซึ่งองค์กรต่าง ๆ ได้หันมาให้ความสนใจกันมากขึ้น  ที่สำคัญคือ ในองค์กรประกอบด้วยคน  ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในด้านความคิดโดยสิ้นเชิง  ในฐานะผู้นำองค์กรจะทำอย่างไร ที่จะส่งเสริมให้คนในองค์กรได้มีความกระตือรือร้นในการสร้างแนวคิด ใหม่ ๆ ที่สามารถปฏิบัติงาน หรือสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ให้กับองค์กร  เทคนิค 4 แบบของการสร้าง Idea อันได้แก่  การระดมสมอง , การเสนอ Idea จากทุกคนในกลุ่ม , TRIZ และ Catchball  ดังนี้

การระดมสมอง   เป็นวิธีการที่ จะดึงเอาวิธีคิดของแต่ละคนออกมา  โดยอาศัยหลักสำคัญ 5 ประการ คือ 1)  กำหนดขอบเขตของปัญหาในการระดมสมอง  2) เก็บข้อมูลวิธีคิดทั้งสองด้าน โดยไม่ตัดสินใจเลือกข้าง  3) ให้กำลังใจแก่ผู้เสนอวิธีคิด และรู้สึกปลอดภัยจากการถูกตำหนิ 4) ควบคุมการระดมสมองให้อยู่ในขอบเขตที่ต้องการ  5) สร้างวิธีคิดใหม่ ๆ จากการสังเคราะห์วิธีคิดของผู้อื่น ให้มากที่สุด ซึ่งในการระดมสมองนั้นอาจผสมผสานกับการแสดงวิสัยทัศน์ ในการแก้ปัญหาหรือเสนอทางแก้เพื่อให้การปฏิบัติงานดีขึ้น  การค่อย ๆ ปรับวิธีการทำงาน ซึ่งต้องอาศัยการสังเกตผลของงานซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีของการค่อย ๆ ปรับวิธีการทำงานและผลที่ได้รับนำมาเปรียบเทียบ  การทดลอง เพื่อให้ได้ทางเลือกของการแก้ปัญหา หรือสร้างนวัตกรรมใหม่

การเสนอวิธีคิดโดยทุกคนในกลุ่ม(Norminal  Group  Technique)  เป็นเทคนิคที่จะดูดวิธีคิดจากคนในกลุ่มทุกคนให้ได้ร่วมคิดแก้ปัญหา  หรือหาแนวทางในการพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งต่างจากเทคนิคการระดมสมอง การเสนอวิธีคิดโดยทุกคนในกลุ่มนำเสนอความคิดด้วยการพูด และเขียนใส่กระดาษโดยไม่ต้องลงชื่อ  ผู้ดำเนินการอ่านวิธีคิดของแต่ละคนให้ทุกคนได้รับทราบและร่วมกันให้คะแนน คะแนนตั้งแต่ 0-10 เพื่อทราบว่าแต่ละวิธีคิดอยู่ในระดับใด 

TRIZ  เป็นเทคนิคที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อ Genrich  Altshuller และเพื่อนร่วมงาน  ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 1940 ซึ่งเป็นวิธีแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและสร้างนวัตกรรมด้วยการระบุปัญหาและการหักล้าง ซึ่ง Altshuller เรียกว่า  การโต้แย้งทางเทคนิค  ซึ่งวิธีนี้ได้มีองค์กรต่าง ๆ นำมาพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยเฉพาะวิศวกร และนำวิธีการของ TRIZ ไปใช้ในการผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมการผลิต

Catchball เทคนิคการโยนบอล  เป็นเทคนิคการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เกิดมาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ และนำมาใช้มากในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทำให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ การเพิ่มพูนวิธีคิดได้มากขึ้นและสร้างการมีส่วนร่วม รู้สึกเป็นเจ้าของในองค์กร

ในองค์กรที่ผู้นำต้องการสร้างองค์กรนวัตกรรม ก็ต้องสร้างให้คนในองค์กรให้เกิดวิธีคิดงานหรือวิธีแก้ปัญหาใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในองค์กร เทคนิคทั้ง 4 ประการ จะสามารถช่วยให้คนในองค์กรได้ถูกกระตุ้นให้เกิดทักษะการคิด และหากได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในองค์กร ก็จะสร้างบรรยากาศขององค์กรแห่งความคิดให้เกิดขึ้น

 

 

แหล่งที่มา

 

ลุกซ์, ริชาร์ด.(2555คัมภีร์นวัตกรรม.  กรุงเทพฯ  เอ็กซเปอร์เน็ท.

หมายเลขบันทึก: 548819เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2013 20:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2013 20:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท